ดูดเสมหะคุณยายที่รัก


เมื่อตี 3 ของวันนี้ คุณยายที่รักของดร.ป๊อปไอและมีเสมหะมาก คุณแม่จับคุณยายนอนตะแคงไปข้างซ้ายตามที่ผมบอก คุณยายก็ไอจนเสมหะปนน้ำสีเหลืองพุ่งออกจากท่อหายใจ (เจาะคอ) หลายครั้งจนดูคุณยายไอแบบตัวโยนและเหนื่อยมาก แต่ผมตรวจประเมินแล้วคุณยายยังคงหายใจไม่โล่ง ชีพจรเต้นเร็ว และจับตัวดูอุ่นๆ จึงแนะนำให้คุณแม่ คุณพ่อ และน้องชาย นำตัวคุณยายเข้าห้องฉุกเฉิน อีก 2 ชม.ต่อมา ทางแพทย์ได้ตรวจปอดด้วยหูฟังแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ จึงให้ออกซิเจน พ่นยาขยายหลอดลมเล็กน้อย ดูดเสมหะจนหมด ล้างกระเพาะอาหาร แล้วเปลี่ยนท่อหายใจที่คอกับสายอาหารทางจมูก (รวม 1,320 บาท) และให้พาคุณยายกลับบ้านได้พร้อมสั่งยาแก้อักเสบ เมื่อถามว่า "อาจเป็นเพราะดูดเสมหะติดต่อกันหลายครั้ง จึงทำให้ดูเหมือนมีน้ำในปอด ใช่หรือไม่" คุณหมอตอบว่า "ไม่เป็นไร ดูดเสมหะได้บ่อยครั้ง"  

ด้วยความง่วงๆ ผมตื่นขึ้นมาจึงอยากบันทึก "การดูดเสมหะที่มีประสิทธิผล" จึงขอบันทึกไว้ใน GotoKnow.Org เพื่อจะได้นำมาเตือนตัวเองและคุณพ่อคุณแม่ของผมในการดูแลคุณยายที่รัก โดยสรุปคือ:-

  1. ไม่มีกำหนดความถี่ต่อวันของการดูดเสมหะ ขึ้นอยู่กับการตรวจประเมินว่า คุณยายหายใจเสียงดังครืดคราด จับชีพจรเต้นเร็วหรือช้าเกินไป (ค่าปกติ 60-90 ครั้งต่อนาที) และหายใจเร็วหรือช้าเกินไป (ค่าปกติ 20 ครั้งต่อนาที)
  2. ควรบอกให้คุณยายพยายามไอขับเสมหะออกมาเองก่อน ถ้าทำได้ ก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง
  3. สวมใส่ถุงมือสองข้างและดูดเสมหะด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
  4. ไม่ควรหยอดน้ำเกลือก่อนการดูดเสมหะ ควรดูแลให้ความชุ่มชื่นเพียงพอ
  5. การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 10 วินาที ไม่ควรเกิน 2 ครั้งต่อ 1 รอบ แต่ละครั้งห่างกัน 30 วินาที และแต่ละรอบห่างกัน 3 นาที (ถ้ามีเสมหะค้างอยู่)
  6. ควรเปลี่ยนท่อเจาะคอเดือนละครั้ง (3-4 สัปดาห์)
  7. ขณะดูดเสมหะให้หมุนสายยางไปรอบๆ แล้วค่อยๆดึงสายขึ้นมาอย่างนุ่มนวล
  8. ให้ค่อยๆหันศีรษะไปทางซ้าย ถ้าต้องการดูดเสมหะจากทางเดินหายใจส่วนล่างข้างขวา แล้วทำกลับกันช้าๆ 
  9. การให้ออกซิเจนก่อนการดูดเสมหะทำได้ในกรณีที่จำเป็น คือ การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลง
  10. ควรจัดท่าก่อนการดูดเสมหะที่ถูกต้องดังรูปทุกครั้ง

ที่มาของภาพการจัดท่า Semi-Fowler อ้างอิงจาก Defloor T., Herremans A., Grypdonck M. et al. Herziening Belgische richtlijnen voor Decubituspreventie. Brussel: Federaal Ministerie van Sociale Zaken, Volksgezondheid en Leefmilieu, 2004.

ซึ่งผมได้เรียนรู้จากแหล่งอ้างอิงที่น่าสนใจ คือ 

หมายเลขบันทึก: 572438เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอให้คุณยายหายโดยเร็วนะจ๊ะ

-ตามมาให้กำลังใจคุณยายครับ

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง 

เป็นกำลังใจให้คุณยายและลูกหลานกตัญญูเช่นนี้ค่ะ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท