ถักหญ้า...กรอง...ไพ...หญ้าคา....


วานนี้...ได้มีโอกาสไปชมวิธีการ"กรอง,ถัก,ไพหญ้าคา" ที่บ้านของ"ป้าชลอ มีสุข"มาครับ...งานนี้ได้รับความรู้และขั้นตอนการ"กรอง,ถัก,ไพหญ้าคา"อย่างละเอียด...แถมยังได้ทราบถึงประวัติและที่มาของ"หลังคา"ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจาก"หญ้าคา"ด้วย...คุ้มค่ากับการศึกษาและเรียนรู้จริงๆ ครับ..และไม่พลาดโอกาสที่จะเก็บภาพและเรื่องราวมาฝากให้มิตรรัก G2K ได้ร่วมติดตามชมผ่านบันทึกนี้คร้าบ!!!!!...

                               -วันนี้ผมจะชวนมิตรรัก G2K ทุกท่านไปเรียนรู้วิธีการ"ถักหญ้า...กรอง...ไพ..หญ้าคา"กันครับ....หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสออกไปเยี่ยมเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพรานกระต่าย เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ผมจึงแวะไปเก็บภาพขั้นตอนและวิธีการ"กรองหญ้าคา"หรือบางแห่งจะเรียกว่า"การไพหญ้าคา,การถักหญ้าคา"ตามแต่คำเรียกขานในแต่ละพื้นที่ครับ......และเพื่อเป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมจึงลองสืบค้นข้อมูลจาก Internet ดู จึงทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับที่มาของ"หลังคา"แถมมาด้วยครับ...."หลังคา"ที่เกี่ยวข้องกับ"หญ้าคา"วัชพืชที่ใครหลาย ๆ คนคิดว่าต้องฆ่าให้ตาย...ถึงราก...ถึงโคน..จะมีอะไรที่่น่าสนใจบ้าง...พร้อมแล้วตามผมมาชมไปพร้อม ๆกันได้เลยคร้าบ!!!!


1.นี่ก็คือ"หญ้าคา"ครับ...หากใครที่ทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นเรือกสวน ไร่ นา จะคุ้นเคยกับ"ต้นหญ้า"ชนิดนี้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ..เพราะถือว่าเป็น"วัชพืช"ที่ไม่ต้องการ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีกำจัดด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย...แต่"วัชพืช"ที่ท่านกำลังทำการ"กำจัดจุดอ่อน"อยู่นี่แหละครับ..ที่จะช่วยสร้าง"รายได้"ให้กับเราอย่างงามหากเรานำมา"ถักหญ้า...กรอง...ไพ"แล้ว....รับรองว่า....ร..ว...ย!!!!!!ฮ่า ๆ ๆ


2.ก่อนที่จะนำเอา"หญ้าคา"มาทำการ"กรอง,ไพ,ถัก"นั้น..เราจะต้องไป"เกี่ยวหญ้าคา"กันก่อนครับ...โดยจะต้องดู"หญ้าคา"ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เพราะว่าหากอ่อนไปก็จะใช้ได้ไม่นาน หากแก่จัดก็จะทำให้เวลา"กรอง,ไพ,ถัก"ลำบากนั่นเองครับ...ดังนั้นต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ตรงในการเลือกสรรวัตถุดิบชนิดนี้ให้ดี...แล้วจะได้"สินค้าที่ดี"มีราคา..นั่นเองครับ...



3.เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องการ"กรอง,ถัก,ไพ"หญ้าคา...แบบถูกต้อง...วันนี้ผมขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ"วิทยากรคนเก่ง"กันก่อนครับ....คนแรก"ยายอุ้ม"(ผ้าถุงสีเขียว) และ"ป้าชลอ"(คาดผ้ากันเปื้อนสีแดง) ทั้งสองท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงและพร้อมที่จะทำการสาธิตขั้นตอนการ"กรองหญ้าคา"ให้เราได้ชมกันครับ...ก่อนอื่นต้องทำการ"สางหญ้าคา"ก่อน ท่านเห็นเสาที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับหวีในภาพข้างบนนี้ไหมครับ? นี่แหละครับ"เสาสางหญ้าค้า"ไม่รู้ว่าทางท้องถิ่นอื่น ๆจะเรียกว่าอะไร...เอาเป็นว่า"หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ"....ขั้นตอนนี้เป็นการนำเอาหญ้าคาที่เกี่ยวและตากแดดให้แห้งแล้วมาทำการ"สาง"และ"จัดระเบียบต้นหญ้าคา"เพื่อสามารถนำไป"กรอง,ถัก,ไพ"ได้ง่ายนั่นเองครับ....ภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบนี้...ผมว่า"มันเจ๋ง"มาก ๆเลยล่ะครับ...ฮ่า ๆ 


4.ต่อไปผมก็จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับวัสดุหลักที่จะนำมาทำการ"กรอง,ถัก,ไพ"หญ้าคากันก่อนครับ วัสดุหลัก ๆ ก็จะมี "หญ้าคา,ไม้ตับคา,เส้นปอ"วัสดุพร้อม....วิทยากร....ก็พร้อมแล้ว...ตามผมไปช่วยกัน"กรอง,ถัก,ไพ"หญ้าคา..กันต่อดีกว่าคร้าบ!!!!!


5."ป้าชลอ"เป็น"วิทยากร"ในการสาธิตการ"กรอง,ถัก,ไพ"หญ้าคา ในวันนี้ครับ...ก่อนอื่นจะต้องนำเอา"ไม้ตับคา ซึ่งทำมาจากไม้ไผ่ทำเป็นซีก ไปแช่น้ำก่อน ขั้นตอนนี้"ป้าชลอ"บอกว่าจะช่วยป้องกันมอดครับ....สำหรับ"เชือกปอ"นั้นก็นำไปแช่น้ำให้นิ่ม..เพื่อเพิ่มความเหนียวครับ...และวัสดุหลัก"หญ้าคา"นั้นก็นำมาแช่หรือพรมน้ำสักหน่อย...เพื่อให้ไม่แห้งกรอบจนเกินไปนั่นเองครับ...



6.เมื่อเตรียมวัสดุพร้อมแล้ว ต่อไปก็เป็นวิธีการ"กรอง,ถัก,ไพ"แล้วล่ะครับ...ขั้นตอนแรกนำเอา"เชือกปอ"มามัดกับ"ไม้ตับคา"ก่อน เสร็จแล้วก็ทำการ"กรอง,ถัก,ไพ"ตามภาพครับ..ดูตามภาพแล้วอาจจะดูง่ายแต่หากได้ลองลงมือทำด้วยตนเองแล้ว...ผมว่า..คงจะต้องฝึกๆ  ๆๆ ประสบการณ์กันอีกนานเลยทีเดียวครับ...ฮ่าๆ ๆ 


7.เมื่อ"กรอง,ถัก,ไพหญ้าคา"เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการ"มัดปลายตับคาให้แน่นด้วยเชื่อกปอ"ครับ...ขั้นตอนนี้"ป้าชลอ"บอกว่าต้องมัดให้แน่น เวลานำไปมุงจะได้แน่นหนาและทนทานครับ....


8.และสุดท้ายเราก็ได้"ผลิตภัณฑ์จากหญ้าคา"แล้วล่ะครับ....หลังจาก"กรอง,ถัก,ไพ"เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำมาตากแดดให้แห้งเพราะว่าวัสดุที่เรานำมาทำถูกแช่น้ำ หากนำไปเก็บทันทีก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ครับ....."สินค้า"นี้ขายเป็น"ตับ"ครับ ตับละ 15 บาท หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อซื้อได้จาก"ป้าชลอ มีสุข หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง เบอร์โทรศัพท์ 081-4746914"ได้ตลอดเวลาเลยคร้าบ!!!!


9.สุดท้ายนี้...อยากจะนำเอา"ประวัติและที่มาของหลังคา"มาฝากกันสักหน่อยครับ...ตามข้อมูลที่ได้มาเขาบอกเอาไว้ว่า "บ้านเรือนไทยในสมัยโบราณ มีวิวัฒนาการของการใช้วัสดุที่นำมาสร้างหลังคาบ้าน เริ่มต้นกันตั้งแต่วัสดุธรรมชาติที่หาได้รอบๆตัวเช่นใบไม้ต่างๆ อาทิ หญ้าคา ใบตองตึง โดยนำมาจัดเรียงและมัดรวมกันเป็นผืนที่เรียกว่า ตับ โดย การนำหญ้าคามาใช้นี่เอง จึงเป็นต้นกำเนิดคำเรียก “หลังคา” และวิวัฒนาการมาเป็นวัสดุที่มีความแข็งเช่น ไม้ เครื่องปั้นดินเผา ซีเมนต์ เป็นต้น (สมัยโบราณมีการนำเอาดินเหนียวมารีดเป็นแผ่นบางๆและนำไปเผาเกิดเป็นแผ่นดินเผาที่สามารถนำไปเป็นวัสดุมุงหลังคาได้ ในภาคเหนือเรียกว่าดินขอ เนื่องจากส่วนปลายจะพับเป็นรูปขอเกี่ยว 90 องศา เพื่อให้เกี่ยวกับแปหลังคาบ้านได้ ซึ่งดินเผาจะดูดซึมน้ำได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดความเย็นกับตัวบ้าน แต่ความชื้นก็อาจจะทำให้อายุการใช้งานของแผ่นดินเผาลดน้อยลง สมัยโบราณจึงต้องมีการปูทับหลายๆชั้นเพื่อป้องกันความเสียหาย และหลังคาก็ได้วิวัฒนาการมาสู่ปัจจุบันซึ่งมีการพัฒนาด้านความคงทนมากขึ้น เช่นหลังคาซีเมนต์ หลังคาใยหิน หลังคาสังกะสี ครับ" ขอขอบคุณข้อมูลจากที่นี่ครับ ความสำคัญและรูปทรงหลังคาบ้าน

สำหรับบันทึกนี้....ต้องขอขอบคุณ "ยายอุ้มและป้าชลอ"ที่ช่วยเป็นวิทยากรในการสาธิตวิธีการ"กรอง,ถัก,ไพ"หญ้าคาในวันนี้ด้วยนะครับ.....วิถีชีวิตดี ๆ  แบบนี้มีให้ได้สัมผัสและเรียนรู้ได้ ณ อำเภอพรานกระต่าย  คร้าบ!!!!

                                                                                       สวัสดีครับ

                                                                                       เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                      19/06/2557



ความเห็น (32)

สมัยเด็ก ๆ อยากทำ ขอแม่ลองทำดูบ้าง สนุกดีค่ะ :)

... บ้านที่ปลูกด้วยหญ้าคา ปลูกแล้วเย็นดีนะคะ ...  บ้านปูน .... ตอนกลางคืน ความร้อน คายตัว  ร้อนมากๆๆค่ะ ... ขอบคุณค่ะ

เป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน อยู่อย่างธรรมชาติ ร่มเย็นเป็นสุขมากค่ะ

"หญ้าคา" ชื่อนี้ทำให้นึกถึงอดีตว่า ตนเองเคยกรอง ถัก ไพ ได้ดี เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น ปัจจุบัน หลงลืมไปเกือบหมดแล้ว แถวพรานกระต่ายยังราคาถูกกว่าบ้านพี่หนานอีก ที่นี่ราคาไพหรือตับละ 20 บาท ซึ่งถือว่าแพงมากในปัจจุบัน...

ได้ความรู้อีกอย่างหนึ่งคือความเป็นมาของหลังคา แต่เดิมมาตอนเด็กๆ ก็เคยเห็นบ้านบางหลังมุงตับใบตองตึง นอกจากนี้ก็ยังมีแป้นเก็ด หรือไม้แผ่นสั้นๆ ที่ใช้มุงหลังคา  ยังเคยเห็นทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้ใบตองก๊อ ทำเป็นตับแบบหญ้าคา ใช้มุงหลังคาบ้าน ห้างไร่หรือเถียงนา  

และใช้ไม้ไผ่หรือไม้ซางผ่าครึ่ง ใช้มีดหรือพร้าเซาะข้อกลาง(ปล้อง)ออกให้เรียบแล้ว ใช้มุงหลังคาโดยครึ่งหนึ่งหงายขึ้นอีกครึ่งหนึ่งคว่ำหน้าลง ดังภาพ

ภาพจากเกษตรพอเพียง.คอม

"หญ้าคา" ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ศาสนาและความเชื่อที่ว่า "ฆ่าไม่ตายทำลายไม่สิ้น"  ตามนี้ และสะท้อนมุมมองธรรมะทางพระพุทธศาสนาอีกกระแสหนึ่ง  ตรงนี้ครับ 

ไพหญ้าไม่เห็นนานแล้ว ขอบคุณที่นำมาบันทึกไว้ค่ะ

สมัยที่คุณยายของคุณมะเดื่อยังมีชีวิตอยู่  ท่านเก่งเรื่องการ "  กรอง หญ้าแฝก " สำหรับมุงหลังคามาก ๆ จ้ะ  แต่ไม่เคยเห็นท่านกรองหญ้าคา  คงเป็นเพราะ แถว ๆ บ้านคุณมะเดื่อมีหญ้าแฝก ที่ขึ้นอยู่ในธรรมชาติ  มากกว่าหญ้าคานะจ๊ะ  หญ้าแฝกในธรรมชาติมีขึ้นอยู่ทั่วไป ในท้องถิ่นของคุณมะเดื่อ แต่    เดี่๋ยวนี้ เกือบจะไม่มีแล้วจ้ะ.....ส่วนหญ้าคาเคยเห็นแต่เขาเอาไปเป็นที่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์จ้ะ

คิดถึงวัยเด็กนั่งดูผู้เฒ่่าผู้แก่ถักหญ้าคา ดูท่านทำเหมือนจะง่ายมาก แต่เคยขอช่วยท่านปฏิเสธ สุดท้ายท่านปล่อยให้ทำ ยากและระมัดระวังใบหญ้าคาแห้งคม บาดมือ เจ็บแสบมาก

แถวอุดรเรียก "ไพหญ้า"  ค่ะ   ส่วนใหญ่จะมุง  "เถียงนา"   เย็นดี  ไม่ร้อนเหมือนสังกะสีนะคะ

ได้ความรู้และเห็นภาพค่ะ 

ทางใต้หลังคามุงด้วยจากค่ะ  ทำจากใบจากที่ไปตัดมาจากต้นจากริมทะเล

วิธีทำก็คือกัน  ไม้ที่เรียก " ตับคา" ของน้องเพชร บ้านพี่ก็เรียก "ตับจาก"

เด็กๆ เคยแต่ไปช่วยยายตัดจากมาทำขนมจาก กับ ไว้ซ่อมหลังคา นั่งดูผู้ใหญ่ทำ

ขอบคุณครับอ.เพชรน้ำหนึ่ง ช่วยให้ได้ความรู้ใหม่ว่า...

บ้านเรือนไทยในสมัยโบราณ มีวิวัฒนาการของการใช้วัสดุที่นำมาสร้างหลังคาบ้าน เริ่มต้นกันตั้งแต่วัสดุธรรมชาติที่หาได้รอบๆตัวเช่นใบไม้ต่างๆ อาทิ หญ้าคา ใบตองตึง โดยนำมาจัดเรียงและมัดรวมกันเป็นผืนที่เรียกว่า ตับ โดย การนำหญ้าคามาใช้นี่เอง จึงเป็นต้นกำเนิดคำเรียก “หลังคา” และวิวัฒนาการมาเป็นวัสดุ...

ยายธีเห็นภาพ..นึกว่า..ต้นข้าว..๕๕..."ขอบคุณ"..กับสิ่งดีๆที่เผยแพร่..จ้า....(หวังว่า..สักวัน..บ้านหลังคาหญ้าคา..จะมีอยู่ให้เห็นในสายตา..และไม่ใช่สัญลักษณ์..ของความจน..ต่อไป....)

...ธรรมชาติ...สร้างงาน สร้างรายได้นะคะ

คลาสสิคสุดๆ ไปเลยครับพี่เพชรน้ำหนึ่ง

ตอนเด็กก็รับจ้างทำค่ะ ที่บ้านเรียก ไพคา  ได้ทั้งเงินและก็สนุกดีด้วยค่ะ ^^

แวะมาเรียนรู้และให้กำลังใจครับผม ขอบพระคุณมากครับ

-สวัสดีครับอาจารย์บุษยมาศ

-ยินดีที่ได้แบ่งปันความสุขและเรื่องราวของ"การกรองหญ้าคา"นะครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและร่วมรำลึกถึงความหลังกับบันทึกนี้นะครับ

-สวัสดีครับพี่หมอเปิ้น

-บ้านมุงด้วยหญ้าคา...อากาศเย็นสบายดีครับ

-กำลังทดลองด้วยตัวเอง...ครับพี่หมอ

-ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้นะครับ

-สวัสดีครับป้าใหญ่

-ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานแต่เดี๋ยวนี้กำลังจะหายไปครับ

-ตามที่ไปสอบถามข้อมูลมาได้ความว่าตอนนี้มีคนกรองหญ้าคาไม่กี่คนและล้วนแต่เป็นผู้มีอายุแล้วครับ..

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ..

-สวัสดีครับพี่หนาน

-ขอบคุณที่ช่วยมาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าคานะครับ..

-จากบันทึกเรื่องนี้ทำให้ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมหลายอย่างเกี่ยวกับหญ้าคาและเรื่องที่มาของ"หลังคา"ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับครู tuknarak

-ยินดีที่ได้นำเอาเรื่องราวดี ๆ มาฝากให้ได้ติดตามชมกันครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับครูมะเดื่่อ

-ใช่แล้วครับจะมีแบบใช้หญ้าแฝกทำด้วยและหญ้าแฝกจะทนกว่าหญ้าคาครับ

-ราคาก็แพงกว่าด้วย...

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับคุณอร วรรณดา

-ได้ร่วมรำลึกถึงความหลังครั้งก่อนไปกับบันทึกนี้ด้วย

-ยินดีมาก ๆครับ 

-ขอบคุณสำหรับคำเตือน..หญ้าคา..บาดมือเจ็บ...แสบสุด ๆครับ

-สวัสดีครับพี่หมอธิรัมภา

-เมืองอุดรน่าไปเยือนอีหลี..อิๆ

-เคยไปใช้ชีวิตที่นั่นพักใหญ่ ๆ 

-ได้ประสบการณ์ดี ๆกลับมามากมายเลยล่ะครับ

-เถียงนาน้อย..คอยนาง อิๆ  

-สวัสดีครับพี่หมอ nui

-เป็นอีกท่านหนึ่งที่มาร่วมรำลึกถึงความหลัง ฮ่า ๆ 

-ยินดีที่ได้แบ่งปันเรื่องราวดี ๆนี้ครับพี่หมอ

-ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับคุณ rojfitness

-ยินดีที่ได้แบ่งปันความรู้เรื่อง"หลังคา"ครับ

-ผมก็เพิ่งทราบที่มาของ"หลังคา"ฮ่า ๆ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับยายธี

-ยินดีที่ได้แบ่งปันเรื่องราวดี ๆ นี้ครับยาย

-ภูมิปัญญาดี ๆที่ต้องบอกต่อครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ ดร.พจนา

-อยู่กับธรรมชาติ...ได้บรรยากาศดีครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับครูอาร์ม

-คลาสสิค...มา ๆๆ มาเที่ยวกัน...

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับคุณพิทยา

-ว้าว ๆ ได้เงินจากการไพหญ้าคาด้วย

-ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่่งในการรำลึกถึงความหลังนะครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับ Dr .Pop

-ยินดีที่ได้แบ่งปันความสุขและวิถีชีวิตแบบไทย ๆ นะครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

นี่คือภูมิปัญญาของแท้เลยทีเดียว

ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับลุงชาติ

-ยินดีที่ได้แบ่งปันเรื่องราวจากชุมชนแห่งนี้ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท