GotoKnow

อีสานวันละคำ

นาง นายิกา เดิดขุนทด
เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2549 08:11 น. ()
แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2555 12:25 น. ()
แก้ (ก.)

     อีสานวันละคำวันนี้ขออธิบายความหมายของคำว่า "แก้" เป็นคำกริยา มีหลายความหมาย คือ คลายออก, ทำให้หลุดพ้นไป, ทำให้ใช้การได้, ทำให้ดีขึ้น, ซ่อม, ถอด, ทำให้หาย  ดังตัวอย่าง

     "หล่าไปแก้งัวอยู่ทงนาให่แน" (หนูไปปล่อยวัวที่ทุ่งนาให้หน่อย)

     "ซ่างแก้นาลิกาให่แน่"  (ช่างซ่อมนาฬิกาให้หน่อย)

     "บักหำแก้เสื่อแก้ส่งออกล่ะไปอาบน่ำหลังบ้าน" (หนูถอดเสื้อถอดกางเกงออกแล้วไปอาบน้ำที่หลังบ้าน)

     "หล่าปวดแข่วแมนบ่ ไปหาเปือกแคเอามาต้มใส่เกือล่ะเอามาอมประมาณ 5 นาทีแก้ปวดแข่วได้" (หนูปวดฟันใช่ไหม ไปหาเปลือกแคเอามาต้มใส่เกลือแล้วนำมาอมประมาณ 5 นาทีก็หายจากปวดฟันได้)



ความเห็น

ขจิต ฝอยทอง
เขียนเมื่อ
  • ชอบอ่านภาษาอีสานครับ
  • เพิ่งทราบว่าเปลือกแคแก้ปวดฟันได้
  • ได้ความรู้แบบ two in one
  • ยิ้ม ยิ้ม

ขอบคุณมากค่ะ เปลือกแคแก้ปวดฟันได้จริง ๆ นะคะ  ตอนเป็นเด็กคุณแม่เคยทำให้อมเวลาปวดฟันค่ะ สูตรลับคือ เอาเปลือกแคต้มกับน้ำและเกลือโดยใส่เกลือมาก ๆ ให้เค็มจัดเลย แล้วนำไปต้มเอาเปลือกแคมาอมจนรสจืด คายทิ้งแล้วอมใหม่ อมบ่อย ๆ จะหายไปเองค่ะ  ลองดูนะคะ

                                   นายิกา


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย