โรงเรียนวันสุข 1 (ฮักแพงร่วมใจ ลดใช้สารเคมี)


กระบวนการเรียนรู้สู่ภาวะทางปัญญา

โครงการฮักแพงร่วมใจ ลดใช้สารเคมี

  


     เนื่องด้วยโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ร่วมกัน สสส. ภายใต้โครงการเครือข่ายโรงเรียนวันสุข ได้ร่วมจักกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างสุขด้วยปัญญา เพื่อร่วมกันสร้างหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมสุขภาวะของนักเรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางปัญญา โดยกลุ่มฮักนะเชียงยืน โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ได้ดำเนินการสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางปัญญา พัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ภายใต้ประเด็นฮักแพงร่วมใจลดใช้สารเคมี กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนในพื้นที่บ้านแบก ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม และบ้านหนองกุง ต.หนองกุง อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม รวมจำนวน 50 คน โดยค่ายนี้จัดที่ ห้องประชุมดงทอง โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ในวันที่ 30 พฤษภาคม - วันที่ 1 มิถุนายน 2557


     ในวันจัดกิจกรรมเข้าค่ายฮักแพงร่วมใจลดใช้สารเคมีนั้น ได้รับเกียรติจากจากท่านผู้ใหญ่ใจดี คือท่านรองผู้อำนวยการ ธีระพงษ์ นามเชียงใต้ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ได้กล่าวเปิดงานและให้โอวาทก่อที่จะเริ่มกิจกรรมต่างๆ

ท่านรองผู้อำนวยการ ธีระพงษ์ นามเชียงใต้ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ได้กล่าวเปิดงานและให้โอวาท

กิจกรรมที่นักเรียนเยาวชนเป้าหมายได้ทำร่วมกันมีดังนี้


 กิจกรรมแผนที่ชุมชน โดยจะให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และวาดถาพแผนที่ชุมชนของตนเอง

พร้อมเขียนปัญหาที่ค้นพบลงในจุดๆนั้นด้วย



กิจกรรมสันทนาการ ร้อง เล่น เต้น และกิจกรรมทำความรู้จัก เพื่อให้นักเรียนเยาวชนมีความรัก

ละสนิทสนมกันมากขึ้น

กิจกรรมลงพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนเยาวชนได้ลงไปนำเอาความรู้ที่ได้รับจากปราชญ์หมู่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ โดยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม และนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 

(ชุมชนที่ลงพื้นที่คือ ชุมชนบ้านแบก ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม)



กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยจะให้แต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้จากชุมชนมานำเสนอ

เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้จากกลุ่มอื่นๆ

กิจกรรมถอดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง


กิจกรรมลวดไฟฟ้า กิจกรรมนี้จะให้นักเรียนเยาวชนได้ปรึกษาหารือ กิจกรรมนี้อาศัยความสามัคคีและความไว้วางใจ 

ซื่งนักเรียนเยาวชนของเราใช้เวลาในการทำกิจกรรมนี้ 2 ชั่วโมงเต็ม


กิจกรรม Body scan กิจกรรมนี้จะให้นักเรียนเยาวชนนอนในท่าตรง หลับตาและให้นึกว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ และและพิจารณาร่างกายและความพร้อมในการทำกิจกรรม จะช่วยทำให้มีสติและมีสมาธิในการดำเนินกิจกรรมต่อไป


จากการเข้าค่ายอบรมทั้ง 3 วันนี้ สิ่งที่กลุ่มนักเรียนเยาวชนเป้าหมายได้รับ คือ

1.นักเรียนได้รู้ถึงปัญหาของชุนชนที่ตนเองอาศัยอยู่และชุมต่างๆ

2.นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและแนวทางในการแก้ปัญหาที่ค้นพบ

3.นักเรียนได้ฝึกทักษะความเป็นผู้นำ มีความกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกมากขึ้น

4.นักเรียนมีความเป็นจิตอาสาอย่างแท้จริง

5.นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน

6. นักเรียนมีความรู้และทักษะการทำงานเป็นทีม



 

    หลังจากเสร็จกิจกรรมจากค่ายนี้แล้ว นับย้อนหลังไปอีก 1 เดือน ก็จะมีการจัดเข้าค่ายอบรมอีก โดยช่วงเวลา 1 เดือนนี้ จะเป็นช่วงที่ให้นักเรียนเยาวชนเป้าหมายลงไปประสบกับปัญหาจริง และดำเนินการแก้ไขตามปัญหาที่พบ แล้วเราจะมานำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป...


By : James_Nuttawut

หมายเลขบันทึก: 570545เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาติดตาม  และ ตามติดเรียนรู้ ครับ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท