การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตอนที่ 4


3.1.1 การใส่รหัส (coding)

การใส่รหัสเป็นกิจกรรมอันแรกในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพนอกจากนี้การใส่รหัสยังเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ขั้นต่อไป โปรดอย่าลืมว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ก็ต้องที่จะหาความปกติธรรมดาหรือความเป็นสากลในชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมดังนั้นการใส่รหัสจจึงเป็นพระเอกในเรื่องนี้

ในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความสับสนอยู่พอสมควรเกี่ยวกับเรื่องการใส่รหัสในแง่หนึ่งการใส่รหัสเป็นการวิเคราะห์ แต่ในอีกแง่หนึ่งการใส่รหัสเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วก็มีส่วนถูกทั้งคู่หากมองว่าการใส่รหัสเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์และต้องทำอย่างนี้เรื่อยไปจนเสร็จการวิเคราะห์คำว่ารหัสจะแปลว่า ป้ายชื่อ (tags), ชื่อ (names), ฉลาย (labels)ส่วนคำว่าการใส่รหัสจึงมีความหมายถึง กระบวนการการใส่ชื่อ, ติดชื่อ,ติดฉลากให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ การใส่ชื่ออาจเริ่มต้นด้วยคำๆเดียว หรือกลุ่มคำที่อาจเล็กหรือใหญ่ก็ได้แต่เน้นว่าต้องมีอยู่ในตัวข้อมูลเท่านั้น ที่อยากเน้นก็คือว่าการใส่ชื่อให้กับข้อมูล หมายถึง การให้ความหมายแก่ข้อมูลนั้นนอกจากนี้ชื่อหรือฉลากยังทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น กำกับข้อมูลเพื่อการเก็บและหากเราลืมจะได้รู้ว่าอยู่ตรงไหนในข้อมูล

การใส่ชื่อในขั้นต้น(the first label) จะเป็นพื้นฐานในการตั้งชื่อขั้นสูง (advancedlabel) ต่อไป การใส่รหัสขั้นสูงนั้นจะทำให้เราได้แก่นเรื่อง (theme) หรือ กระสวน (pattern) หากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการที่เราหาแก่นเรื่องหรือกระสวน นั่นแปลว่าเรากำลังสรุปข้อมูลทั้งนี้เป็นเพราะข้อมูลเชิงคุณภาพจะมีขนาดใหญ่, สลับซับซ้อน, และกระจัดกระจายโดยสรุป การใส่ขั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ขั้นสูงจะนำไปสู่ข้อสรุปต่อไป

การวิเคราะห์ขั้นสูง(advanced label) เป็นกิจกรรมแบบเดียวกับการใส่รหัสขั้นต้นนั่นคือการใส่ชื่อ, การจัดลับที่ในเชิงสูงต่ำ, และการประยุกต์ใช้ ทั้ง 3อย่างนั้นต้องมีความเป็นนามธรรมสูงกว่าในการใส่รหัสขั้นต้น และต้องใช้ข้อมูลชุดเดียวในการทำการใส่รหัสตอนแรกขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การใส่รหัส (coding) เป็นการวิเคราะห์นอกจากนี้การใส่รหัสยังแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การใส่รหัสเชิงบรรยาย (descriptivecoding) และ 2. การใส่รหัสแบบสรุป หรือ การหาแก่นเรื่อง, หรือกระสวน(inferential, theme, pattern coding)การใส่รหัสเชิงบรรยายจะไม่มีความคิดเห็นของตนเองลงไปการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้วิจัยรู้สึกถึงข้อมูลการใส่รหัสเชิงบรรยายจะทำให้การวิเคราะห์ดำเนินต่อไปการใส่รหัสขั้นสูงจะมีในลักษณะตีความ และเป็นการอนุมานให้เหนือกว่าที่มีอยู่ในข้อมูลการใส่รหัสขั้นสูงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การใส่รหัสแบบกระสวน (pattern code) การใส่รหัสแบบกระสวนจะมีวัสดุอุปกรณ์ที่ใหญ่มากๆ คำว่าที่ใหญ่มากๆเกิดจากองค์ประกอบชิ้นเล็กๆที่มีความหมาย (meaningful unit)วิธีการที่ดีที่สุดที่จะให้เราเห็นภาพก็คือการนำการใส่รหัสแบบกระสวนมาเทียบเคียงกับการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องของปัจจัย (factor) คำว่าปัจจัย (factor) คือความคิดรวบยอดที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งเกิดจากตัวแปร (variables) ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม โดยนัยยะเดียวกันการใส่รหัสแบบกระสวนก็คือความคิดรวบยอดที่มีความเป็นนามธรรมซึ่งเกิดจากการใส่รหัสแบบบรรยาย ที่มีความเป็นรูปธรรมนั่นเอง

มีระดับความเป็นไปได้อยู่2 อย่างในการใส่ชื่อ หรือรหัสให้กับข้อมูล ในทางหนึ่งก็มีการใส่รหัสที่มีมาก่อนหรือกำหนดไว้แล้ว ในอีกทางหนึ่งเราไม่มีกำหนดรหัสไว้ล่วงหน้าเราจะพบเจอรหัสนี้ได้ในข้อมูลของเรา อย่างไรก็ตามการตัดสินใจว่าจะใช้แบบใดนั้นให้ขึ้นอยู่กับคำถามในการวิจัย (researchquestions) และ กรอบความคิดในการวิจัย (conceptual framework) กระนั้นก็อาจไม่ใช่การตัดสินใจแบบไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง (either-ordecision) ดังนั้นหากเราใช้รหัสเชิงบรรยาย แต่เราก็ต้องมีความตื่นตัวในการหารหัสที่จะพบเจอในข้อมูลโดยมากแล้วเราอาจให้ข้อมูลนำรหัสมาให้เรา จนสามารถพัฒนาเป็นรหัสแบบกระสวนหรือแก่นเรื่องได้ต่อไป

โดยสรุปการใส่รหัสเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในการตั้งชื่อให้กับข้อมูลการใส่รหัสเริ่มต้นจากเชิงบรรยาย ที่แปลว่าไม่มีความคิดเห็นใดๆจากผู้วิจัยในขณะที่การใส่รหัสขั้นสูง จะรวมรวมข้อมูล โดยใช้ความคิดรวบยอดที่มีลักษณะตีความ,สรุปความ, มีแก่นเรื่อง การใส่รหัสเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์

หนังสืออ้างอิง

Keith F. Punch (1998). Introduction to SocialResearch: Quantitative and Qualitative Approaches. London: Sage Publication

หมายเลขบันทึก: 570539เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท