ละครเร่กับการพัฒนาชุมชน


ละครเร่+กิจกรรม"เเก่น" = การพูดคุยที่มีสื่อนำเข้าที่ทรงพลัง,เยาวชนที่มีใจในการพัฒนาชุมชน

ละครเร่กับการทำงานในการพัฒนาชุมชนหรือการเเก้ไขปัญหาชุมชน

        ย้อนกลับมามองที่ละครเร่เช่นเดิมอีกครั้ง ซึ่งกระผมเองก็ได้มองในมุมของละครเร่กับการเรียนรู้ไว้ ที่นี่ คราวนี้มามองในมุมของการเเก้ไขปัญหาชุมชนหรือในมุมของการพัฒนาชุมชน  ซึ่งซึ่งละครเร่นั้นได้ชื่อว่าเป็นละครเพื่อการเปลี่ยนเเปลง  ในมุมของการเรียนรู้นั้น เป็นการเปลี่ยนเเปลงตนเอง ละครเร่เน้นเป้าหลักไปที่การเปลี่ยนเเปลงตนเอง เเต่จะเปลี่ยนเเปลงชุมชนได้มากน้อยเพียงใด อันนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการ เพราะละครเร่เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการ ให้เด็กได้เรียนรู้ ให้สังคมได้เรียนรู้ หรือให้ชุมชนได้พัฒนาขึ้น

        ถ้าเรามาย้อนไปเข้าไปอีกครั้ง ในเรื่องของละครเร่กับการพัฒนาชุมชนนั้นอีกมุมมองหนึ่ง ก็ถือว่ามีน้ำหนักเบา เพราะในการเล่นละครนั้น ถึงเเม้ว่าจะเล่นให้ผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเราได้รับชม การเล่นละครเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีกระบวนการอื่นๆที่มาเป็นเเก่นนั้น จะเล่นละครไปเป็น 10 ปี คนก็ไม่เปลี่ยนเเปลง เพราะ ละคร คือ ละคร คนส่วนใหญ่เห็นละครเป็นเรื่องบันเทิงเเล้วก็ลืมเลือนไป ฉะนั้นเเล้วจะต้องมีกระบวนการอะไรสักอย่างที่มาเป็นเเก่น "ละครเร่เพียงอย่างเดียวไม่พอสำหรับการพัฒนาชุมชน" กระบวนการที่มาเป็นเเก่นให้กับงานที่ไม่มีละครเพียงอย่างเดียวที่พบเห็น ได้เเก่ เวทีเสวนา  กิจกรรมเข้าฐาน  กิจกรรมการเปิดงานหรือการพูดคุย   กิจกรรมการอบรม ฯ "เพราะละครเป็นกระบวนการที่นำเข้าสู่การพูดคุยต่างๆหรือกิจกรรมต่างๆ" 

        ในประเด็นเพียงละคร ถ้าเป็นการเปลี่ยนเเปลงเด็กที่เล่นจะได้ประมาณ  80 เปอร์เซ็น  เเต่ในการเปลี่ยนเเปลงหรือเเก้ไขปัญหาชุมชนนั้น (เเค่ละคร) จะได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็น ฉะนั้นละครเร่ถ้ามองในเเง่ของการพัฒนาตนเองจึงมีน้ำหนัก ส่วนการพัฒนาชุมชนจึงเบาหวิว การเเก้ไขปัญหาชุมชน เพียงละครไม่เพียงพอ เราจะต้องมีกระบวนการที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาเราได้อย่างมีน้ำหนัก  "ถ้ายิ่งเอาน้ำหนักเเห่งการพัฒนาตนเอง เเละน้ำหนักเเห่งการพัฒนาชุมชนมาด้วยกันเเล้วงานจะมีสมดุลด้วยคุณภาพ" 

        เเต่ถ้าราลองมามองในอีกมุมหนึ่ง คือ เมื่อเด็กในชุมชนเล่นละครเร่ เเล้วมีการปลูกฝังจิตใจของตนเองด้วยตนเองเเล้วนั้น เราก็จะได้เด็กที่มีคุณภาพ ซึ่งเมื่อได้เด็กที่มีเเนวคิดที่จะพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง  หมู่บ้านนี้นั้น เราก็จะได้เยาวชนที่พร้อมลุกขึ้นเพื่อพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง หลายๆคน (อันนี้ถ้ามองในเเง่ของบุคคลในชุมชน) อย่างไรก็ดี ละครเร่ก็เป็นเพียงเครื่องมือในการปลูกฝังตนเอง เเต่จะปลูกฝังผู้อื่นที่ชมได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการที่เป็นเเก่น 

ละครเร่+กิจกรรม"เเก่น" = การพูดคุยที่มีสื่อนำเข้าที่ทรงพลัง,เยาวชนที่มีใจในการพัฒนาชุมชน

.

.

.

.

.


หมายเลขบันทึก: 570543เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ละคร  เป็นงานสร้างสรรค์ เป็นพลังชีวิตและสังคม อย่างไม่ต้องสงสัย ครับ
ละครเร่  พัฒนาทักษะ สมรรถนะหลากหลายอย่างน่ายกย่อง...
ละครเร่  มีพลังต่อการสร้างชุมชน สังคม

ผมเชื่อเช่นนั้น และส่งใจมายังทุกท่านครับ

ละครเร่ เป็นเรื่องการสื่อความหมายและพัฒนาทักษะ
ผมขอเสนอโฟกัสไปที่ จิตอาสา ผมมองว่าจิตอาสา ถ้าโยงไปกอรปกับคำว่าหน้าที่พลเมืองได้จะเป็นเรื่องที่อัศจรรย์มาก เอาใจช่วยครับ

ดูละคร ย้อนมองตน เป็นความคิด 
เปลี่ยนชีวิต เป็นละคร ย้อนมองผล
ละครเร่ จึงเปรียบเหมือน เครื่องมือคน
หลอมชุมชน กับตัวตน เป็นตนเอง

...โลกของชีวิตจริง และจินตนาการ เชื่อมโยง ถ่านทอดถึงกันได้เสมอนะคะ

<p> ศิลปะ..กับ..ชุมชน..เกิด..และเปลี่ยนแปลงได้..ทุกรูปแบบ..</p>

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท