๕๗.ผี.ชี้นำคลำทาง


เมื่อวันที่ ๑๒ พค ๕๗ คุณนงนาถ สนธิสุวรรณ หรือคุณอาคุณพี่ใหญ่ของน้องๆ ชาวโกทูโน  

                                

ได้นำภาพที่คนภาคเหนือเรียกว่า แมงกะบี้ .ผีน่ารัก ร่วมสนุกให้ผมซัก..ประวัติและชื่อเสียงเรียงนาม..

        

                 ได้ความว่า..เป็นผีเสื้อกลางวัน(Butterfly)วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ(FAMILY PIERIDAE) สกุลหนอนกาฝาก ที่ชื่อว่า “ ผีเสื้อหนอนกาฝากธรรมดา ”(Painted Jezebel)มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Delias hyparete (Linnaeus 1758) มีวงจรชีวิตไข่ ๔-๗ วัน ตัวหนอน ๔๖ วัน ดักแด้ ๑๔ วัน ส่วนอายุไขตัวเต็มวัย(ผีเสื้อ) ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน พืชอาหาร(Larval Foodplants:Lfp) ได้แก่ กาฝากมะม่วง กาฝากเสม็ด ฯลฯ ….

                 ผีเสื้อสกุลนี้ จะมีปีก สีสันฉูดฉาดบาดหัวใจ ..ชวนหลงใหล..เมื่อโบยบิน จึงเป็นที่มาของชื่อ. ที่มักลงท้ายว่า “..Jezebel ” ที่แปลว่า หญิงชั่ว..นักดูผีเสื้อบางคนแปลว่า หญิงโสเภณีก็มี  เช่น ผีเสื้อหนอนกาฝากจุดแดง (The Red-spot Jezebel) ส่วนชนิดที่มีชื่อหวาดเสียวขำไม่ออก ได้แก่ The Burmese Jezebel : ผีเสื้อหนอนกาฝากพม่า The Bhutan Jezebel: ผีเสื้อหนอนกาฝากเหลืองภูฐาน ซึ่งในประเทศไทย พบเธอได้แถบดอยอินทนนท์..ฮ่าฮ่า.. และ The Malayan Jezebel : ผีเสื้อหนอนกาฝากมลายู ..ประเทศไทยมีผู้พบคุณเธอที่จังหวัดยะลา..

                 จากข้อมูล ก็พอจะเห็นช่อง ส่องทาง..ไปถึง(๑-๒)แหล่งและชนิดพืชที่เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ..(๓)ช่วงเวลาการระบาดของหนอนตามวงจรชีพจักร(๔)ความหนาแน่นและความอุดมสมบูรณ์ของชนิดพืชอาหาร ตามปริมาณผีเสื้อที่พบ .... อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคาดคะเนการระบาด และการสืบค้นหาชนิดพืชอาหารผี.. ยิ่งพืชนั้นเป็นสมุนไพร..อย่างเช่น “ กาฝากมะม่วง ” ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ช่วยลดความดันโลหิต ฯ.ด้วยแล้ว .ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งของการสืบค้นหา..โดยมีผี.นำพา-ชี้นำ-คลำทาง...

               สำหรับผมเอง ..ได้นำเอาความรู้จักมักคุ้นกับผี..มาต่อยอดใช้ในการอารักขาพืชที่ปลูกไว้ในสวน.. ซึ่งมีส่วนช่วยลดการใช้เคมีในการกำจัดได้มากพอสมควร อย่างเช่น...คราวใด ที่เห็นผีเสื้อหนอนแก้วส้ม(Lime butterfly) 

                 

ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา(Common mormon) ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง (Great mormon) ผีเสื้อฟ้าหนอนมะนาว(Lime blue) มาบินสอดแนมหรือจับคู่ชู้ชื่นกัน ก็ต้องแวดระวังตรวจตราพืชอาหารตัวหนอน ซึ่งได้แก่ มะนาว ส้มชนิดต่าง ๆ ตามระยะวงจรชีพจักรของผีเสื้อแต่ละชนิด..โดยทั่วไปจะอยู่ในระยะ ๑-๓ วัน ถ้าพบไข่บนใบพืช..ต้องรีบทำลาย ถ้าไม่พบไข่ หลังจากผีเสื้อบินมาสอดแนม ๔-๘ วัน ก็ต้องตรวจซ้ำอีก..ว่ามีไข่และตัวหนอนมากัดกินหรือไม่.. โดยเฉพาะที่ส่วนยอดหรือใบอ่อน... ถ้าพบไข่หรือตัวหนอน.ต้องรีบเก็บทำลายทันที ..

                  

                  

           แต่ถ้าหาก.เราไม่มีพืชอาหารที่หนอนผีเสื้อชอบ..ก็ปล่อยให้เขาบินเกี่ยวก้อยร้อยรัก อวดเรือนร่าง แต้มแต่งสีสันให้กับโลกใบนี้ต่อไปเถอะครับ ........

                 ขอขอบคุณทุกท่าน..ที่แวะเวียนเข้ามาติดตาม..ขอให้ท่านโชคดี ..มีสุข 

กันทุกคนน๊ะขอรับ...

                                                                สามสัก

                                                                             ๑๔ พค.๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 567965เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ
ผีเสื้อหนอนมะนาว
กางปีกงามเชียวครับ

* ขอบคุณมากค่ะที่เล่าเรื่องน่าสนใจของผีเสื้อสีสวยงามเหล่านี้....ชื่อของพวกเธอไม่เป็นมงคลเลย....ขออนุญาตนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อนะคะ

* เก็บภาพผีเสื้อตัวน้อยที่บ้านมาฝาก...จับภาพยากมาก เพราะเกาะนิ่งๆชั่วแว๊บเดียวค่ะ


-สวัสดีครับ

-ตามมาเพิ่มเติมความรู้

-แมงกะบี้...

-สมัยเป็นละอ่อนผมชอบจับเป็นประจำ ฮ่า ๆ

-หากโอกาสเหมาะ ๆ ต้องไปเยี่ยมแน่นอนครับ..


ชอบใจที่พี่สามสักเขียนต่อยอดความรู้ได้

ผีเสื้อสวยมากๆนะครับ

  • ปกติผีเสื้อสกุลนี้ ส่วนใหญ่จะมีสีฉูดฉาด สีสดใสครับ ดร.พจนา
  • ขอบคุณ อ.กาญจนา มากครับ
  • ส่งของมาให้แล้ว เมื่อ๑๙ พค จำนวน ๑ ชุด ๒ ชิ้นครับ
  • ไม่ได้เจอะเจอกันนานพอควร
  • ขอบคุณลุงชาติ  มากครับ  
  •   ..ใหญ่กว่าดอกโป๊ยเซียนไม่มาก..ไม่แน่ใจครับ 
  • จะไปหา กรุณาเอาเพชรไปฝากซักเม็ด ก็พอครับ..คุณ  เพชรน้ำหนึ่ง 5555
  • ขอบคุณ อ.ดร. และ   มากครับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท