ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


                    สิทธิในการมีสุขภาพที่ดีนั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติตามปฏิญาณสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ สิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุข หมายถึง การที่บุคคลมีสิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ทั้งสิ้น

                 [1] ในทางสาธารณสุขถือว่าคนเป็นทั้งผู้มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการจัดการของรัฐ และเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีการจัดระบบบริหารจัดการสุขภาพ ที่คนในชาติจะได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ประชาชน เอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจกำหนดทิศทางและบริหารจัดการสุขภาพด้วยตนเอง

                  ตามปัญหาดังกล่าวนั้นอาจมีคนบางกลุ่มที่มีปัญหาในทางด้านสุขภาพร่างกายแต่ไม่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่ได้รับสิทธิในทางด้านสาธารณสุข คือ สิทธิในการมีสุขภาพที่ดี ด้วยเหตุที่เป็นคนไร้สัญชาติ เป็นคนข้ามชาติหรือเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับรองโดยระบบการทะเบียนราษฎร หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสัญชาติโดยประการอื่นใด ปัญหาดังกล่าวนั้นจึงเป็นปัญหาสิทธิมมนุษยชนอย่างหนึ่งเพราะคนดังกล่าวนั้นถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในแง่ที่ว่าไม่ได้รับการปฎิบัติอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งจะได้รับในสุขภาพร่างกายซึ่งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ได้บัญญัติรับรองไว้ เช่นกรณีน้องอาป่า เป็นคนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงน้องอาป่าเกิดในประเทศไทย จึงเป็นผู้มีสิทธิร้องขอสัญชาติไทยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ แต่ในปัจจุบันน้องอาป่าก็ยังไม่อาจยื่นเรื่องขอสิทธิในสัญชาติไทย เพราะการร้องขอทำหนังสือรับรองการเกิดต่ออำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ยังไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด

ซึ่งต่อมาเมื่อน้องอาป่าประสบอุบัติเหตุรถชนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เนื่องจากน้องได้รับบาดเจ็บต้องผ่ากะโหลกและขาหักทั้ง 2 ข้างต้องใช้เหล็กดามไว้ ซึ่งยังไม่สามารถเดินได้ตามปกติเเละยังไม่แน่ชัดว่าจะสามารถใช้ขาทำงานตามปกติได้อีกหรือไม่ จึงทำให้เกิดปัญหาตามมาคือน้องอาป่าไม่สามารถได้รับการรักษาได้อย่างเต็มที่ตามพระราชบัญญัติประกันสุขภาพเพราะไม่มีสัญชาติไทยตามคำกล่าวอ้างของัฐไทย

         หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 [2]

มาตรา 4 บัญญัติว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"

มาตรา 51 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์

2. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 [3]

มาตรา 3 บัญญัติว่า "บริการสาธารณสุข หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ"

มาตรา 5 วรรค 1 บัญญัติว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้" 

            เมื่อพิจารณาตามมาตรา 51 ประกอบกับมาตรา 4 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า บุคคลผู้มีสิทธิตามมาตรา51 นั้นมิได้หมายความ เฉพาะคนชาติไทยหรือชนชาติไทยเท่านั้น แต่หมายถึงมนุษย์ทุกคน เช่นนี้เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในประเทศไทย กฎหมายทั้งปวงจึงต้องอยู่ภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ กล่าวคือพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ นั้นคือ มนุษย์ทุกคนมิใช่เพียงชนชาวไทย เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าผู้มีสิทธิในสุขภาพที่ดี คือ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติไทยหรือไม่ ประเทศไทยย่อมต้องจัดหาให้เหล่านั้นได้รับสิทธิตามที่กฎหมายรับรองไว้ เช่นนี้น้องอาป่าแม้ไม่มีสัญชาติไทยก้ย่อมต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับสิทธิในการรักษาตามกฎหมาย เพราะน้องอาป่าก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง รัฐไทยไม่มีสิทธิกล่าวอ้างเรื่องสัญชาติมาเป็นข้ออ้างในการไม่รักษาได้ เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนของน้องอาป่า

แหล่งที่มาของข้อมูล

[1] สิทธิในการมีสุขภาพที่ดีและวิธีปฎิบัติผู้มีสิทธิได้รัประโยชน์(ออนไลน์) http://www.esanphc.net/online/people/people01.htm

[2]  ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550(ออนไลน์)  http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

[3] พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (ออนไลน์)  http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

หมายเลขบันทึก: 567964เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท