ศาลสิทธิมนุษยชน : ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Court of Human Rights)


          ในปัจจุบันหลายๆประเทศในโลกล้วนทำการรับรองและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ ผ่านการลงนาม เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญากฎหมายมนุษยชนที่องค์การสหประชาชน ได้จัดทำขึ้น โดยเน้นที่ 9 อนุสัญญาที่รัฐต่างๆควรจะเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา รวมถึงการนำสิทธิตามอนุสัญญามารับรองเป็นกฎหมายภายในจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมนุษย์ส่วนใหญ่จึงได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลาย แต่การรับรองกโดยฎหมายนั้นก็ไม่อาจทำให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตจริง ซึ่งแม้มีกฎหมายคุ้มครองแต่ประชาชนกลับยังคงถูกละเมิดสิทธิต่างๆ จึงมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องมีองค์กรเพื่อทำหน้าที่คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิของประชาชนผ่านกระบวนการยุติธรรมด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมี 2 ประเภท คือ กระบวนการยุติธรรมนอกศาล และกระบวนยุติธรรมในศาล ซึ่งกระบวนการยุติธรรมในศาล คือ ศาลสิทธิมนุษยชน ได้แก่

          ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป[1] (The European Court of Human Rights) เกิดจากการที่รัฐสมาชิกภายในภูมิภาคยุโรปแบบของคณะรัฐมนตรีของยุโรป (Council of Europe) ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ECHR) ซึ่งเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศในระดับในภูมิภาคด้านสิทธิมนุษยชนที่คุ้มครองปัจเจกชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื้อหาของอนุสัญญากำหนดหลักการที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิดโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อเป็นสถาบันคุ้มครองปัจเจกชนในฐานะผู้เสียหาย และกรณีที่สองกำหนดให้ปัจเจกชนในฐานะผู้เสียหายได้ใช้สิทธิเข้าร้องเรียนหรือเข้าร้องทุกข์ต่อศาลได้โดยตรง อีกทั้งทำงานร่วมกับคณะกรรมการรัฐมนตรี (Committee of Ministers) ซึ่งเป็นองค์การภายในของคณะรัฐมนตรีแห่งยุโรปที่ทำหน้าที่ในการบังคับตามคำพิพากษาทำให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง

         สิทธิที่ได้รับรองจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรปได้แก่ Right to life, Prohibition of torture, Prohibition of slavery and forced labor, Right to liberty and security, Right to a fair hearing, right to respect for private and family life, Freedom of expression, Freedom of thought conscience and religion, The protection of property

         ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปขึ้น (European Court of Human Rights) เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีบทบาทสำคัญคือเป็นกลไกให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในการเข้าเป็นคู่ความ และอีกประการ คือการพิพากษาตีความยังทำให้เกิดคำนิยามของสิทธิตามอนุสัญญาให้ชัดเจนและให้รัฐสมาชิกนำไปบัญญัติในกฎหมายภายในให้สอดคล้องในอนุสัญญา

หลักในการฟ้องคดี คือ ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้แก่ บุคคล/กลุ่มบุคคล/บริษัท/NGOs/รัฐ [2] แต่การฟ้องร้องจะกระทำได้เฉพาะต่อรัฐสมาชิกอนุสัญญาเท่านั้น ไม่สามารถฟ้องร้องต่อบุคคลหรือต่อรัฐอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกอนุสัญญา โดยศาลจะพิจารณาคำร้องในเบื้องต้นว่าเข้าข่ายการละเมิดสิทธิตามที่ระบุในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรปหรือไม่ ซึ่งรวมถึงสิทธิตามปฏิญญาากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ด้วย

และเงื่อนไขสำคัญที่ศาลจะรับพิจารณาคำร้องคือ ผู้ร้องไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญชาติใดที่ถูกละเมิดสิทธิโดยประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่ตนถูกละเมิดให้แล้วเสร็จก่อน และหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงมายื่นคำร้องต่อศาลภายใน 6 เดือนต่อไป ซึ่งรัฐสมาชิกมีพันธะที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล อาทิ การจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ร้อง หรือการแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญา

         จะเห็นได้ว่ากระบวนการของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นไม่จำเป็นต้องให้การดำเนินคดีเป็นหน้าที่ของรัฐเท่านั้น จึงหมายความว่า ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิเป็นผู้ทรงสิทธิกระบวนการยุติธรรม ในศาลระหว่างประเทศ อีกทั้งการฟ้องร้องนั้น ไม่จำกัดสัญชาติของผู้ถูกละเมิด ทำให้คนไทยที่ถูกละเมิดสิทธิในต่างแดนก็ได้รับความคุ้มครองในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเช่นกัน ทำให้เห็นได้ชัดว่า รัฐสมาชิกภายในภูมิภาคยุโรปแบบของคณะรัฐมนตรีของยุโรป (Council of Europe) ได้รับรองสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิของคนทุกคนที่มีความเป็นมนุษย์โดยไม่จำกัดสัญชาติ หากถูกละเมิดทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ECHR)

         ซึ่งเมื่อพิจารณาในอาเซียนซึ่ง รัฐไทยเป็นสมาชิกนั้นก็มีกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีการรับรองการจัดตั้งองค์กร ในข้อ 14 องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน [3]

1. โดยสอดคล้องกับความมุ่งประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนขึ้น

2. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนนี้ต้องดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ซึ่งจะกําหนด

         ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้มีการจัดตั้ง ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights (AICHR) หรือ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม คุ้มครอง เรื่องสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน แต่คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนก็ยังไม่สามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างเป็นรูปธรรมเช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เนื่องจากคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนไม่ได้มีสถานะเป็นศาลจึงไม่มีอำนาจ รับเรื่องร้องเรียน มีสถานะเป็นแค่องค์กรระหว่างรัฐบาลตามกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น

         เห็นได้ว่าในภูมิภาคอาเซียนนั้นแม้มี องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐแล้วแต่ยังขาดอำนาจ อย่างศาลเพราะ ไม่มีฐานะเป็นศาล ต่างกับศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปที่มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนและสามารถคุ้มครองสิทธิของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นอาเซียนจึงควรร่วมกันหารือเพื่อจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุยชนของประชนกรอาเซียน เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนในรัฐโดยรัฐเพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น

         แต่ในประเทศไทยก็ยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมนอกศาลที่ให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชน ได้แก่

         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[4] เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ฐานะต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 คือเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 257 และพระราชบัญญัติคณะกรรมาธิการ 2542 ดังนี้

1.ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าว เพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

2.การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มี ผู้ร้องเรียนว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รัฐธรรมนูญ

สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ กสม. จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามวรรคหนึ่งนั้น หมายถึงกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น

3.การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มี ผู้ร้องเรียนว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหา ที่เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

4.การฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม

         รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ให้อำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง รวมทั้งการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายได้ ซึ่งทำให้คณะกรรมการสามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่ถูกละเมิดได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เขียน: 14 พ.ค. 2014 


[1] บทสรุปและข้อเสนอแนะ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://digi.library.tu.ac.th/thesis/la/1118/11CONCLUSION_AND_SUGGESTIONS.pdf.14 พฤษภาคม 2557.

[2] คนไทยมีสิทธิรับความคุ้มครอง ภายใต้ The European Convention on Human Rights. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www2.thaieurope.net/คนไทยมีสิทธิรับความคุ้/.14 พฤษภาคม 2557.

[3] กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/file... พฤษภาคม 2557.

[4] อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?i...upID=1&subID=2.14 พฤษภาคม 2557.

หมายเลขบันทึก: 567962เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท