ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


    

  โรฮิงญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจาก พื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า

  นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้ ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย

    ปัญหาโรฮิงญาเริ่มมาตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่าใช้มาตรการต่างๆกีดกันไม่ให้ชาว โรฮิงญาเป็น ส่วนหนึ่งของพม่าทำให้พวกเขาต้องหนีภัยออกจากพม่าไปยังชายแดนประเทศเพื่อน บ้านรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งชาวโรฮิงญาในประเทศไทยนั้น มีการอพยพเข้ามาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้ามา

    โรฮิงญากลายเป็นประเด็นเมื่อมีประเด็นกล่าวหาว่าทหารไทยผลักไสไล่ส่งชนก ลุ่ม น้อยโรฮิงญาที่หลบหนีภัยมืดจากพม่าและค่ายอพยพในบังคลาเทศโดยบังคับให้พวก เขาขึ้นเรือไร้เครื่องยนต์และผลักดันพ้นชายฝั่งประเทศไทย คนไทยที่ว่าหมายรวมถึงทหารเรือซึ่งตามข่าวจากบีบีซี บรรยายให้เห็นว่ามีพฤติกรรมโหดมัดมือและให้อาหารกับน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ไทยตรวจสอบเรื่องนี้ UNSCR ต้อง การขอพบชาวโรฮิงญาที่ทางการไทยควบคุมตัวไว้ ต่อมาฝ่ายไทยออกมาตอบโต้ว่าเหตุการณ์ไม่ได้เป็นตามข่าว ไม่ได้มัดมือมัดเท้าและดูแลเรื่องอาหารเป็นอย่างดี

ทางด้านท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ความชัดเจนและจริงใจในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังย้ำว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้อพยพชาวโรฮิงญาและยืนบน หลักกฎหมายระหว่างประเทศแต่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงด้วยพร้อมให้ทุกองค์กร ตรวจสอบและ ต้องแก้ในระดับภูมิภาค ในขณะที่ได้มีสำนักข่าวบางสำนักกล่าวว่าชาวโรฮิงญาสร้างปัญหาให้กับทางการ และหน่วยงานความมั่นคงของไทย ด้วยการเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสาเหตุที่ว่าพวกโรฮิงญา ยอมทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด แต่ในทางกลับกัน ยังมีอีกมุมมองว่า ชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่น่าสงสารเพราะว่ารัฐบาลทหารพม่าปฎิบัติต่อชา วโรฮิงญาอย่างไม่เป็นธรรม และบอกว่าชาวโรฮิงญาไม่มีความสามารถทางการทหาร หรือ อีกนัยหนึ่งคือไม่มีประโยชน์กับประเทศพม่า

หน่วยงานด้านความมั่นคงภายในระบุว่า กลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ทั้งในและต่างประเทศเป็นผู้สนับสนุนและแสวงหาผล ประโยชน์จากการหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

1. กลุ่มขบวนค้ามนุษย์ที่มีการติดต่อเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนการหลบหนีเข้า เมือง โดยได้ประสานข้อมูลก่อนการเดินทางออกจากรัฐอาระกัน โดยมีจุดนัดพบที่ จ.ระนอง และนำพวกเขาไปสู่พื้นที่ประเทศที่สามต่อไป

2. กลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นภายหลังการหลบหนีเข้าเมืองมาแล้วและถูกจับ กุมฝ่ายไทยตามกระบวนการของด่านตรวจคนเข้าเมือง เมื่อถูกผลักดันพ้นจากไทยจะไปรวมตัวกันตามรอยต่อชายแดน หลังจากนั้นก็จะมีกลุ่มค้ามนุษย์ในพื้นที่ลับลอบนำพาเข้ามาในไทยอีกครั้ง ก่อนที่จะนำไปสู่ประเทศที่สามต่อไป

3. กลุ่มเครือญาติที่หลบหนีเข้ามาอยู่ในไทยนานแล้ว มีทั้งในจังหวัดระนอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และกรุงเทพฯ

ประชาคมชาวโลกควรหันมาตระหนักอย่างจริงจังต่อสิทธิมนุษยชนสากล ที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามควรจะได้รับไม่ว่าจะในฐานะของพลเมืองที่ทุกคนมี หน้าที่ต่อประชาคม ในการใช้สิทธิและเสรีภาพของตน ทุกคนตกอยู่ในการบังคับของข้อจำกัดโดยกฎหมายเท่านั้น เพื่อประโยชน์ที่จะได้มาซึ่งการรับนับถือและการเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้ อื่นตามสมควร และที่จะเผชิญกับความเรียกร้องต้องการอันเที่ยงธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย หรือแม้แต่ในฐานะของรัฐบาล รัฐบาลทุกรัฐบาลที่จะปกครองประเทศต้องสร้างหลักประกันว่า จะเคารพปกป้องและทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคม รวมทั้งดำเนินการอย่างมีขั้นตอน ให้ปรากฏในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในการจัดทำรัฐธรรมนูญและในการบัญญัติไว้ ในกฎหมายถึงหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน อันประกอบด้วย

1.ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)

2.สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ (Universality & Inalienability)

3.สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสำคัญกว่าอีกสิทธิหนึ่ง (Indivisibility)

4.ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (Equality and non-discrimination)

5.การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น (Participation & Inclusion)

6.หลักการตรวจสอบได้และหลักนิติธรรม (Accountability & the Rule of Law)

เพื่อไปให้ถึงหลักของการบังคับใช้กฎบัตรแห่งหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างแท้ จริง ที่ว่า “ปณิธาน สูงสุดของสามัญชน" ได้แก่ ความต้องการให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพในการพูด และความเชื่อถือ และอิสรภาพพ้นจากความหวาดกลัวและความขาดแคลน[1]


[1] สรุปประเด็นเรื่องโรฮิงญา โดย [email protected] เมื่อวันเสาร์ พฤษภาคม

สืบค้นทาง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=447005

=447005

หมายเลขบันทึก: 567776เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท