บทสาขาที่ 7.1 ปรัชญาดนตรี เรื่อง ดุริยะสัญญานิพนธ์ 18


ดุริยะสัญญานิพนธ์

ครั้งที่18

รสครบห้าอาหารอันโอชะ

เปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม ขม

ทำให้ลิ้นชาด้าน

สีเฉดห้าชวนพินิจ

ขาว ดำ น้ำเงิน เหลือง แดง

ทำให้ตาพร่ามัว

การมิได้ครองศีลห้า

ทำให้ใจไหม้ขุ่นหมอง

ทั้งห้าเสียงขึ้นไปของดนตรีที่ไม่ซ้ำกัน

ทำให้โสตสะเทือนเลอะเลือน

โน้ต 1 ตัว 2 เสียงไม่ซ้ำกัน unison ทำให้เกิดคู่สมาน

โน้ต 2 ตัว 2 เสียงไม่ซ้ำกัน duet ทำให้เกิดเส้นทาง

และเสียงคู่สมาน

โน้ต 3 ตัว 3 เสียงไม่ซ้ำกัน third ทำให้เกิดกลุ่มเสียง

และเส้นทาง – คู่สมาน

โน้ต 4 ตัว 4 เสียงไม่ซ้ำกัน chord ทำให้เกิดกลุ่มเสียงซ้อน

และกลุ่มเสียง - เส้นทาง – เสียงคู่สมาน

โน้ต 5 ตัว 5 เสียงไม่ซ้ำกัน Group4+1 ทำให้เกิดกลุ่มเสียงซ้อน

และกลุ่มเสียงซ้อน - กลุ่มเสียง - เส้นทาง – เสียงคู่สมาน

โน้ต 6 ตัว 6 เสียงไม่ซ้ำกัน Group 4+1+1 ทำให้เกิดกลุ่มเสียงซ้อน

และกลุ่มเสียงซ้อน - กลุ่มเสียงซ้อน - กลุ่มเสียง - เส้นทาง – เสียงคู่สมาน

โน้ต 7 ตัว 7 เสียงไม่ซ้ำกัน Group 4+1+1+1 ทำให้เกิดกลุ่มเสียงซ้อน

และกลุ่มเสียงซ้อน - กลุ่มเสียงซ้อน - กลุ่มเสียงซ้อน - กลุ่มเสียง - เส้นทาง – เสียงคู่สมาน

ปราชญ์จึงได้กระทำการ

ประทานคำพอดีให้

มิใช่เพื่อความสำราญอันสุดโต่ง

สนองหู ตา ลิ้น

เพียงว่าพอดีแก่การบริโภค

ณัฐนพ มนู อินทาภิรัต

หมายเลขบันทึก: 567769เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระผมชามนึง...แล้วของคุณป้าที่บ้านของกระผมชามนึงใช่ใหมครับ..เอ...สงสัย...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท