วิ'ใจ' - ใจแลกใจ


‘วิใจ’ ภาคสนาม

ระหว่างทางสำคัญไม่แพ้จุดหมาย
น้อมรับความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ
มีความรู้ ซ่อนอยู่ในทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ..

ภาคต่อจากบันทึกนี้

การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย Spinocerebellar ataxia ในจังหวัดพะเยา

แบ่งเป็นสองโครงการย่อย
โครงการที่ 1 : การศึกษาภาคตัดขวาง สมรรถนะทางความคิด คุณภาพชีวิต การทรงตัว ทำใน เม.ย.2557

โครงการที่ 2 : แผนการติดตามผลหลังการสอนท่าเหยียดยืดฤาษีดัดตน
                    รวมทั้งการพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพความคิดสำหรับผู้ไม่ได้รับการศึกษา/มีปัญหาการเคลื่อนไหว
                 
   ทำในปี 2558 หรือ 2559
ทั้งสองโครงการ
ทำโดย ‘หมอธรรมดาคนหนึ่ง’ ที่อยากรู้ อยากลองทำ ===================================================================

การศึกษาสมรรถการคิด ( Cognitive function test)
ได้ความกรุณาองค์ความรู้และอุปกรณ์จากสถาบันวิจัยสุขภาพภาคเหนือ
โดยคัดเลือกแบบทดสอบให้เหมาะผู้ป่วย Spinocerebellar ataxia  คือ
1. MMSE
2. Turner and Ridsdale digit span
3. Semantic verbal categorical fluency
4. Color trails
5. Stoop test
6. Finger tapping</p><p>อุปกรณ์อื่น คือ
A. Inform consent พร้อมตลับหมึกสำหรับผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
B. Data collecting form
C. Manual of operation คู่มือสำหรับนักวิจัยเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ในขั้นนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทีมวิจัยจึงใช้วิธีไปเยี่ยมแต่ละบ้าน

มีรอยยิ้ม แฝงไว้ในภาพค่ะ

MMSE. ข้อ 9 ให้ผู้ป่วยทำตามที่เขียน ‘หลับตา’ ต่อด้วยข้อ 10 ให้ผู้ป่วยเขียนข้อความอะไรก็ได้
.. ข้อความที่เขียนจากมือสั่นเทา

ได้ชิมลิ้นจี่ทุกบ้าน

รถสามล้อของคนไข้หนักมาก คนร่างกายสมบูรณ์อย่างเรายังเหนื่อย’ เสียงสะท้อนจากน้องนักศึกษา

ผู้ป่วย  Spinocerebellar ataxia ระยะท้าย ไม่สามารถพูดได้ กลืนได้ แต่อย่างน้อยน้ำใจจากชุมชน ที่ช่วยกันลาดพื้นบ้าน
จากพื้นดิน เป็นพื้นปูน ก็ทำให้ครอบครัวนี้สุขซาบซึ้งใจ

=================================================

การศึกษาคุณภาพชีวิต และ การทรงตัว
เราจัดกิจกรรมขึ้นที่ รพสต.บ้านถ้ำ ซึ่งท่าน ผอ.รพสต. คุณประจักษ์ ให้ความช่วยเหลืออย่างดียิ่ง
เชิญ ผู้นำคนพิการ จ.พะเยา  ตัวแทน อสม.และ ผู้นำท้องถิ่นเข้าร่วมหารือแนวทางจัดการปัญหาผู้พิการระยะยาว

กิจกรรมมีดังนี้

1.คณาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา มาร่วมสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตผู้ป่วย และมีแผนให้นักศึกษาพยาบาล
รับติดตามครอบครัวผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

2.ถ่ายทอดวิธีการทดสอบด้วย Berg balance จากนักกายภาพ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ให้กับ นักกายภาพ รพ.ดอกคำใต้

3.มีการแนะนำการเหยียดยืด ด้วย ฤาษีดัดตนจาก แพทย์แผนไทยประยุกต์ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่

=================================================
ชวนคิดต่อ…เพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยของเล่น.
สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าเรียนรู้ ขณะทดสอบ Neuropsychological test ในการทำวิจัย
ได้คำแนะนำเป็นประโยชน์ยิ่งจากนักศึกษาเภสัชชุมชน
ถ้าบอกว่าทดสอบจะเกร็ง ให้บอกว่า ‘มีเกมส์ให้เล่น’
ซึ่งได้ผล นอกจากคนไข้จะไม่เครียดแล้ว ยังมีญาติ เพื่อนบ้านมานั่งเชียร์
เหมือนกำลังทำรายการเกมส์โชว์เล็กๆ
คนไข้รายหนึ่งขอกระดาษ color trail ไว้ฝึกมือ
อีกคนขอ finger tapper ไว้เล่นต่อ (แต่ให้ไม่ได้ บอกให้ รพสต.ผลิตแทน :-)


 

บางที การเยี่ยมบ้านพร้อมกับ ‘ของเล่น’ เหล่านี้
อาจได้ทั้งการทดสอบ, การฝึก และบรรยากาศการสร้างกำลังใจ ที่เป็นรูปธรรม
</p><p> น่าเสียดายที่อุปกรณ์อย่าง color trail และ stoop test
คนไม่ได้เรียนหนังสืออ่านไม่ออกจะทำไม่ได้
ชุดตรวจ tower of london และ card sorting test มาตรฐานก็ขายแพงเกิน (8000-9000 บ/ชุด)
เห็นอย่างนี้แล้ว น่าจะมีนวัตกรรมของเล่น เพื่อทดสอบ&ฝึก ฝึมือคนไทยบ้างจังค่ะ</p><p>###
บันทึกนี้ทดสอบระบบ เขียนย่อ ๆ เป็นตอนๆ เก็บไว้ใน Facebook แล้วค่อยนำมารวมเรียบเรียงค่ะ

:)

หมายเลขบันทึก: 567396เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 07:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มีดอกไม้ต้นไม้มาฝากเป็นกำลังใจ..จ้ะ..

เป็นบันทึกการเยี่ยมและตรวจประเมินความคิดความเข้าใจของกรณีศึกษาที่มีความสุขแท้จริง แบบประเมินมาตรฐานที่เน้นการทำงานของสมองมักมีลิขสิทธิ์ทำให้ราคาแพง คุณหมอป.ติดต่อไปที่ผศ.ดร. พีรยา มั่นเขตวิทย์ ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มช. ได้นะครับ อาจารย์ท่านเก่งทาง Cognitive Functional Assessment และได้พัฒนาเครื่องมือประเมินภาษาไทยที่ง่ายและเป็นกระเป๋าตรวจที่บ้านและที่ใดๆได้ ส่วนผมจะถนัด Cognitive Rehabilitation ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสมอครับผม ขอบคุณมากครับผม

เป็นกำลังใจให้คุณหมอครับ

  ต้องขอบคุณอาจารย์ป๊อปอย่างมากค่ะ จดชื่ออาจารย์พีรยาไว้เพื่อไปปรึกษา

ผลการทดสอบผู้ป่วยกลุ่มนี้เปรียบเทียบกับ control แล้ว ส่วนมากจะพร่องในเรื่องภาษา พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการอยู่ในครอบครัวกับสังคมของเขา

ขอร่วมชื่นชมการกระทำโดย ‘หมอธรรมดาคนหนึ่ง’ ที่อยากรู้ อยากลองทำ 

ที่สำคัญที่สุดคือ ทำด้วยใจเมตตา กรุณา

ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับรู้ได้ จึงได้เขียนข้อความที่เขียนจากมือสั่นเทาดังในภาพครับ

ดีใจที่คุณหมอได้ทำงานแบบที่คุณหมอชอบ

ชื่นชมๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท