สร้าง World Class University --> หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือ ก้าวเหนือกว่าตัวเลข


บังเอิญว่า ไปงาน  การประชุมวิชาการ และการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ  ครั้งที่ 5 จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย  มรภ. สวนสุนันทา  เมื่อ 24-25 เม.ย.57 โดยใช้ธีม  ว่า "The Enhancement to World-class University" และมีวิทยากรท่านหนึ่ง บรรยายเกี่ยวกับ อันดับความสำเร็จของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ซึ่งเน้นมากเรื่อง การจัดอันดับของสถาบันต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาของโลก 

เลยทำให้นึกถึง เรื่อง World Class University  ที่เคยอ่านแต่ไม่ได้ติดใจอะไรเพราะ ในบ้านเรายังไม่ฮือฮามากนัก แต่ต้องย้อนกลับไปดูด้วยการถูกสะกิดใจเมื่อฟังการบรรยายข้างต้น

1.อธิการบดี Luis Maria R.Calingo ของ Woodbury University ( http://www.huffingtonpost.com/luis-maria-r-calingo... )  ได้อ้างถึง Dr.Samli เคยพูดไว้นานแล้ว ในเอกสารของธนาคารโลกปี 2009 ว่า  World Class University (WCU) มีผลได้ที่แตกต่างกันอยู่ 3 อย่าง ผมขอนำว่าให้เห็นดังนี้ 

   "first, highly sought graduates; second, leading-edge research; and third, dynamic knowledge and technology transfer." และผลได้นี้ทำให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเมินการจัดอันดับมหา'ลัย ที่คลั่งกันทั้งโลก ประมาณ 15000 แห่ง และอันดับมหาวิทยาลัยที่อยู่ ใน 100 อันดับ ก็ไม่ถึง 1 % ด้วยซ้ำ 

2. อธิการบดี Luis Maria R.Calingo  ยังพูดไว้น่าสนใจมาก ว่า แนวคิดของ WCU สะท้อน นอร์มและคุณค่าที่ถูกครอบงำจาก มหา'ลัยวิจัยระดับโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน สหรัฐอเมริกาและ ยุโรปตะวันตกเป็นหลัก

และสิ่งที่ อธิการบดีท่านนี้ให้ข้อคิดว่า มหา'ลัย หรือสถาบันการศึกษา น่าจะ ปรับเปลี่ยนมหา'ลัย เน้นว่าใช้คำ "Transform" โดยมุ่งจาก "ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ (Good to Great)" โดยอ้างคำกล่าวที่น่าจะเป็น อมตะ ดังนี้ ...........

This reminds me of the 1913 quote from the late Justice Oliver Wendell Holmes as he wrote about the mission of law schools: "I say the business of a law school is not sufficiently describe when you merely say that it is to teach law, or to make lawyers. It is to teach law in the grand manner, and to make great lawyers." A great university is best known by the quality of its graduates.............. (อ้างจาก เวบไซท์เดียวกับข้างต้น http://www.huffingtonpost.com/luis-maria-r-calingo...)

อยากให้ทุกท่านที่สนใจไปอ่านตามที่ อ้างไว้ข้างต้น (อาจได้ข้อคิดอะไรที่น่าสนใจ)

ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมอดคิดเองไม่ได้ว่า   หลังจากได้ฟังการประชุมข้างต้น และ ก่อนหน้านั้นได้นั่งฟังน้องที่ มหา'ลัยแห่งหนึ่ง ทำ SAR สาขาวิชาที่เปิดสอน  พร้อมการ ทวนสอบ... ประจำปี  เลยเห็นภาพว่า  ถ้าอยากเป็นมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ ให้รีบกลับไปสร้าง นศ. หรือ บัณฑิตที่ยิ่งใหญ่ มากกว่ามาบอกว่า ตอนนี้ มี อจ. ไป เพิ่มวุฒิกี่คน  อจ. ได้ ผศ. แล้ว และกำลังต่อคิว คาดว่าปีหน้าจะได้ แต้มเพิ่มขึ้น.....บันทึกนี้จึงเป็น เพราะความบังเอิญจริง ๆ ที่ได้ฟังจากการประชุม 

คำสำคัญ (Tags): #world class university
หมายเลขบันทึก: 566788เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2014 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2014 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

How many Harvard graduates were involved in the last two world financial crises (and got away with only a little scratch)?

ในบริบทของการศึกษาในประเทศไทย มีคำอยู่ 2 คำ ที่เมื่อได้ยินนักวิชาการ หรือผู้บริหารการศึกษาพูดถึงแล้ว รู้สีกแปลก ๆ คือคำว่าระดับโลก = world class เช่น world class university .. word class schools ความเป็นเลิศ  = Excellence ให้สงสัยยิ่งนักว่างเขามีนิยามที่ชัดเจน   หรือไม่ว่ามันมีลักษณะอย่างไร ซึ่งทั้งฟัง ทั้งอ่านเอกสารก็ยังไม่เห็นความชัดเจนใด ๆ เมื่อยังไม่รู้เลยว่าแค่ไหนอย่างไร แล้วเขาจะไปให้ถึงได้อย่างไร แล้วรู้หรือไม่ว่ายังห่างไกลจุดนั้นอีกมากน้อยเพียงใด และเมื่อนึกถึงบางมหาวิทยาลัยที่มีอันดับโลกสูง ๆที่เราเคยใช้ชีวิต บอกได้ว่าห่างไกลหลายช่วงตัว

เอาแค่ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาที่ระดมความคิดกันอย่างเอาเป็นเอาตายในแต่ละสถาบัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของสังคมไทยเคยมีการประเมินหรือไม่ว่าบรรลุหรือไม่ถ้า บรรลุก็ถือว่ามากกว่า good แล้วทำให้ great คงมีความเป็นไปได้ great ของมหาวิทยาลัยท้องถิ่น กับ ของ จุฬา ฯ มหิดล ธรรมศาสตร์ หรือ มช Harvard  Standford ABAC   ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตราบใดที่แต่ละแห่งชัดเจนในปรัชญาและวัตถุประสงค์ของตนเอง อย่าห่วงว่าจะเป็น world class หรือไม่ ขอให้ส่งเสริมให้มีผลงานที่ worldwide  recognized จำนวนมากทุกปีก็พอ ซึ่งก็มีอยู่แล้ว และดีขึ้น ๆ

เห็นด้วยกับ GD ครับ  มหาวิทยาลัยในโลก ก็ใช้ Harvard Like Model  ยังไงก็คงตามพวก  Elite research universities ไม่ทันครับ(ก็เขาคงไม่อยู่นิ่ง ๆ) บ้านเราผมไม่แน่ใจ  พวกชั้นนำเขาตามใคร  แต่ มหา'ลัย ท้องถิ่น คงใช้ Chula Like Model  Mahidol Like Model  etc (แต่พอถามตรง ก็บอกแข่งกับตัวเอง)   ....คงเอามันส์มั้ง เดี๋ยวตกกระแส 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท