สิ่งที่ครูมองไม่เห็น


เคยคิดไหมครับ ว่าถ้าเกิดวันหนึ่งเรามาถึงจุดที่พอจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในชีวิตระดับหนึ่ง 

แล้วถ้าเกิดคุณครูหรือผู้บริหารโรงเรียนที่เราเคยศึกษาในสมัยประถมหรือมัธยมมาเชิญเราไปพูดให้เด็กๆ รุ่นน้องฟังว่าการศึกษาที่โรงเรียนได้ให้เรานั้นทำให้เราประสบความสำเร็จในวันนี้ได้อย่างไร

ลองมาฟังคำตอบของนิล เดเกรส ไทสัน (Neil DeGrasse Tyson) ผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลอง Hayden ณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในนิวยอร์ก เมื่อถูกถามว่าทำไมถึงปฏิเสธคำเชิญจากโรงเรียนเก่ากันนะครับ

“So everyone has all different experiences in school. I just know that throughout my life, at no time did any teacher ever point to me and say, hey. He'll go far. Oh, he's someone you should watch. You know, I had some OK grades. They ran the gamut. I had some high grades in math and science, and medium grades in other subjects, and slightly lower grades in other subjects. You've got to remember, the school system is constructed to praise you if you get high grades. And if you get straight A's, you're the one that everyone puts forward, and they prognosticate that the straight-A person is the one most likely to succeed, because that's the way the school system is constructed and conceived. [...]
Also consider - now, see you've got me started here. Also consider that if you a straight-A student in your class, that student has straight A's not because of teachers, but in spite of teachers. That's what having straight-A means. It means you do well, no matter the teaching talent of the teacher. That's what straight A's mean. So if you're a teacher and you put forth your straight-A student as though you had something to do with it, you are deluding yourself.”

แปลเป็นไทยด้วยสำนวนผมเองได้ความว่า

“คนเราก็มีประสบการณ์ในโรงเรียนต่างกันไปครับ ตลอดชีวิตผมนั้นไม่เคยมีครูคนไหนพูดว่า เธอจะไปได้ไกลนะ โอ้ว เค้าเป็นคนที่น่าจับตานะเนี่ย เกรดผมก็พอดูได้ มีทุกแบบเลย มีเกรดดีบ้างในวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิชาอื่นก็ธรรมดาบ้าง แย่บ้าง คุณต้องระลึกไว้ว่าโรงเรียนนั้นถูกออกแบบให้ชื่นชมคนที่ได้เกรดดี ถ้าคุณได้เกรดเอทุกวิชา ใครๆ ก็อยากผลักดันให้ไปข้างหน้า และโรงเรียนก็จะทำนายว่าเด็กเกรดเอจะประสบความสำเร็จ เพราะนี่คือสิ่งที่ระบบโรงเรียนถูกออกแบบและรับรู้ …
ต้องคิดด้วยว่า, ผมชักจะของขึ้นแล้วนะเนี่ย, ต้องคิดด้วยว่าถ้าคุณ [ครู] มีเด็กที่ได้เกรดเอทุกวิชา เด็กคนนั้นได้เอหมดไม่ใช่เพราะครู แต่เขา [ได้เอทุกวิชา] แม้ว่าจะมีครูแบบไหนก็ตาม นั้นคือความหมายที่แท้จริงของเด็กเกรดเอ หมายความว่าเขาจะทำได้ดีไม่ว่าครูจะสอนเก่งหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นถ้าคุณเป็นครู แล้วมาทำเป็นว่าเด็กเกรดเอนั้นเป็นผลงานคุณนั้น คุณกำลังหลอกตัวเองแล้ว”

ฟังคุณนิล เดเกรส ไทสันพูดก็แสบๆ คันๆ แต่ก็เห็นกันได้ทั่วไปนะครับที่โรงเรียน (และโรงเรียนกวดวิชา) หาประโยชน์จากเด็กเก่งที่ตัวเองไม่ได้สร้าง (อาจารย์ที่รักของผมท่านหนึ่งเคยบอกว่าหลังจากที่ลูกสาวท่านสอบเอนทรานซ์ติดมหาวิทยาลัยชื่อดังด้วยอันดับหนึ่ง โรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่งก็รีบโทรมาแจ้งความจำนงขอให้ลูกสาวท่านไปเป็นพรีเซนเตอร์ทันที เนื่องจากน้องเขาเคยไปนั่งเรียนแบบ sit-in หนึ่งครั้ง!)

ครูเป็นวิชาชีพที่มีทุนทางสัญลักษณ์สูง (high symbolic capital) นะครับเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นในสังคมไทย เป็นอาชีพที่คาดหวังว่าจะต้องเสียสละมากกว่าใคร ซึ่งพูดตรงๆ ผมว่ามันไม่ค่อยแฟร์นักในสังคมปากกัดตีนถีบแบบนี้ แต่เราควรหากินกับเด็กที่เก่งหรือไม่ อันนี้ผมก็คิดว่าไม่ถูก

ผมค่อนข้างมั่นใจนะครับว่าเด็กเก่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ผลงานครู เพราะอย่างที่รู้กันว่าครูเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตเด็ก พ่อแม่ต่างหากที่เป็นผู้สร้างโลก สร้างลูกให้เป็นคนแบบไหน แต่ในแง่บทบาท ครูมีความได้เปรียบตรงที่สามารถสร้างจินตนาการ ความแปลกใหม่ และแรงจูงใจที่ต่างจากเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ ของพ่อแม่ที่บ้านได้เหมือนกัน

ที่เล่ามาไม่ได้หวังจะร้องหาคนผิด ไม่ได้คิดจะแก้ไขระบบ เพียงแต่อยากจะเตือนตัวเองว่าถึงแม้ “โรงเรียนนั้นถูกออกแบบให้ชื่นชมคนที่ได้เกรดดี” แต่เราก็ควรจะก้าวข้ามเพื่อมองหาสิ่งที่ลึกลงไปมากกว่าตัวอักษร เอ บี ซี ดี หรือ เลขสามเลขสี่ คนทุกคนมีมิติมากกว่าเรื่องเกรดเฉลี่ยหรือโล่ห์รางวัล

invisible-child

ลองตั้งใจมองศิษย์ให้กว้างและลึกกว่าเดิม นำทุนทางสัญลักษณ์ที่เรามีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เผื่อว่าเราจะขยับเอาพระคุณที่สามให้เข้าใกล้กับพระคุณที่สองมากขึ้นสักนิด*

* ลองค้นจากพันทิพ เขาว่าพระคุณที่หนึ่งคือพระรัตนตรัย พระคุณที่สองคือบิดามารดาครับ http://pantip.com/topic/30057702


อ้างอิง 
NPR: Neil DeGrasse Tyson Explains Why The Cosmos Shouldn't Make You Feel Small 
http://www.npr.org/templates/transcript/transcript.php?storyId=283443670

ภาพ
The Guardian http://www.theguardian.com/teacher-network/teacher-blog/2013/jun/27/invisible-child-class-truly-inclusive

หมายเลขบันทึก: 565728เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จะเข้านอนแล้ว อดไม่ได้ต้องอ่านเพราะชื่อบันทึกและเนื้อหา โดยเฉพาะคำแปล

วันหน้ามาเม้นท์ค่ะ :-)

...อ่านคำตอบของนิล เดเกรส ไทสัน (Neil DeGrasse Tyson) ผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลอง Hayden ณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในนิวยอร์กแล้วรู้สึกเศร้าใจมาก...แต่พอมาอ่านความมั่นใจของคุณแว้บ...ที่ฟันธงว่าเด็กเก่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ผลงานครู...ก็รู้สึกดีขึ้นมาบ้าง...เพราะต่อไปนี้เด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ เด็กทีทำตัวเกะกะเกเรไม่เป็นผู้เป็นคน ...ก็ไม่ใช่ความผิดของครูแล้ว ...เป็นเพราะพ่อแม่ และตัวเด็กเองนะคะ...

ตกใจครูบางท่านจากโรงเรียนกวดวิชา

หากินกับนักเรียน

(อาจารย์ที่รักของผมท่านหนึ่งเคยบอกว่าหลังจากที่ลูกสาวท่านสอบเอนทรานซ์ ติดมหาวิทยาลัยชื่อดังด้วยอันดับหนึ่ง โรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่งก็รีบโทรมาแจ้งความจำนงขอให้ลูกสาวท่านไปเป็น พรีเซนเตอร์ทันที เนื่องจากน้องเขาเคยไปนั่งเรียนแบบ sit-in หนึ่งครั้ง!)

ขอบคุณที่เขียนเรื่องดีๆให้อ่าน

อาจารย์สบายดีนะครับ

เป็นได้เกรดดี ๆ เพราะ สมศ. หรือเปล่าครับ

เหมือนโฆษณาในทีวีตอนนี้ที่ผมเห็น ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท