ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


      สิทธิมนุษยชน (Human Right)[1]หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน[2]เกิดจาก

1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง

2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม

3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์

4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน

หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน[3]คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ[4]วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1948 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right: UDHR) โดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นการกำหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[5]สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานทำ การแสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น)

ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก ในปัจจุบัน มีต่างๆมากมายหลายประการ ใน ณ ที่นี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงปัญหาของบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

คนไร้สัญชาติ(Statelessperson) หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นผู้มีสถานะที่เป็นสมาชิกของประเทศใด หรือไม่มีประเทศใดรับว่าเป็นสมาชิกหรือเคยเป็นสมาชิกของประเทศจากประสบการณ์การทำงานกับเรื่องลักษณะนี้ อาจจะมีทั้งคนต่างด้าวจริงๆ และผู้ที่มีฐานะทางกฎหมายที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย เพียงแต่ยังไม่มีการพิสูจน์ หรือไม่มีโอกาสพิสูจน์ หรือไม่มีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ซึ่งถือว่าเป็นการริดลอนสิทธิความเป็นผู้มีสัญชาติไทย ทำให้เสียโอกาสใช้สิทธิต่างๆ อย่างมาก

สาเหตุแห่งความไร้สัญชาติในประเทศไทย[6]ปรากฏข้อเท็จจริงมีคนไร้สัญชาติในประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) ความไร้สัญชาติเพียงด้านข้อเท็จจริง (De facto Stateless) และ (๒) ความไร้สัญชาติทั้งด้านข้อกฎหมาย (De Jure Stateless)

1.ความไร้สัญชาติโดยข้อเท็จจริงเกิดขึ้นได้ใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

ลักษณะแรก ก็คือ กรณีที่เกิดขึ้นจากบุคคลไม่ทราบข้อเท็จจริงของตน จึงไม่อาจพิสูจน์ความเกาะเกี่ยวกับรัฐใดเลยในโลก จึงไม่อาจกำหนดสัญชาติได้เลย จึงตกเป็นคนไร้สัญชาติ ตัวอย่าง ก็คือ เด็กชายขัวญ วรรัตน์ซึ่งเกิดในประเทศไทยโดยไม่ทราบตัวบิดามารดาเพราะบิดามารดาทอทิ้ง แต่ในวันนี้ซึ่งอยู่ในความดูแลของครอบครัววรรัตน์ ที่ได้ยอมรับเด็กชายผู้นี้เป็นบุตรบุญธร

ลักษณะที่สอง เกิดขึ้นแม้บุคคลนั้นเชื่อว่าและอ้างว่า ตนมีข้อเท็จจริงที่ทำให้ได้สัญชาติไทย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยเองปฏิเสธที่จะเชื่อในข้อเท็จจริงที่บุคคลกล่าวอ้าง ตัวอย่าง ก็คือ กรณีของคนแม่อาย ๑๒๔๓ คนที่ถูกนายอำเภอแม่อายใน พ.ศ.๒๕๔๕ ถอนชื่อออกจากทะเบียนราษฎรประเภทคนสัญชาติไทย โดยไม่มีการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงส่วนบุคคลของแต่ละคน และเป็นเหตุให้ชาวบ้านทั้งหมดไม่อาจใช้สิทธิในสัญชาติไทย ทั้งที่ไม่มีสัญชาติของประเทศใดเลยในโลก

  1. สาเหตุของความไร้สัญชาติโดยข้อกฎหมาย (De Jure Stateless) ในสถานการณ์นี้ ความปรากฏชัดแล้วว่า โดยข้อเท็จจริงแห่งตัวบุคคลนั้น ไม่ปรากฏว่า มีกฎหมายของประเทศใดยอมรับให้สัญชาติแก่บุคคลนี้ ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ บุคคลไม่มีสัญชาติไทยและสัญชาติของประเทศอื่นใดในโลก ความไร้สัญชาติโดยข้อกฎหมายเกิดขึ้นได้ใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

ลักษณะแรก ก็คือความไร้สัญชาติที่เกิดแก่บุคคลที่เกิดในประเทศไทยจากบุพการีที่เกิดนอกประเทศไทย ตัวอย่าง ก็คือ กรณีของนายบุญธรรม ศรีบุญทองซึ่งเกิดในประเทศไทยจากบิดามารดาซึ่งมีเชื้อชาติไทยใหญ่แต่เป็นคนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศพม่า หรือกรณีนางสาวอาภรณ์รัตน์ แซ่หวูซึ่งเกิดในประเทศไทยจากบิดามารดาซึ่งมีเชื้อชาติจีนฮกเกี๋ยนแต่เป็นคนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศพม่าและ

ลักษณะที่สอง ก็คือ ความไร้สัญชาติที่เกิดแก่บุคคลที่เกิดนอกประเทศไทยจากบุพการีที่เกิดนอกประเทศไทย ตัวอย่าง ก็คือกรณีของนางสาวมาลัย ปลอดโปร่ง

คนไร้สัญชาติในประเทศไทยจำนวนมากยังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั้งที่ปรากฏต่อสาธารณชนทราบแล้ว และยังไม่ปรากฏการละเมิดสิทธิมนุษยชนนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของบุคคลอื่นๆ ซึ่งหลายครั้ง การละเมิดเป็นกระทำหรือการละเว้นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐไทย ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ในทางข้อเท็จจริง ยังมีกฎหมายทั้งในระดับพระราชบัญญัติ และ/หรือระดับกฎหมายของฝ่ายปกครอง การกระทำของฝ่ายปกครอง ที่ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติของหลายหน่วยราชการที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของคนไร้สัญชาติ ซึ่งจะกล่าวถึงอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ในวันนี้ของประเทศไทย ปัญหาสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่ยังคงร้ายแรงอยู่มากในสังคมไทย ก็คือ “ปัญหาความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของบุคคลธรรมดาในประเทศไทย” ขอให้สังเกตว่า จำนวนคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติยังมีจำนวนมหาศาล แม้ว่าประเทศไทยจะได้ยอมรับปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งยอมรับในข้อ ๑๕ ว่า “(๑) บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ (๒) การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะกระทำมิได้.หรือแม้ว่า ประเทศไทยในวันนี้จะเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางแพ่ง ค.ศ.๑๙๖๖ ซึ่งข้อ ๑๔(๓) ยอมรับว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ.” ก็ตาม

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ถึงแม้ประเทศไทยได้มีการยอมรับข้อปฏิบัติของปฏิญญาสากล แต่ก้ยังเกอดปัญหาของคนไร้สัญชาติขึ้นซึ่งการที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ถอดชื่อของบุคคลออกจาก ทะเบียนราษฎร เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของบุคคล และการเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้บุคคลถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการละเว้นอีกด้วย ซึ่งสาเหตุใหญ่อีกประการ ที่ทำให้เกิดปัญหาคนไร้สัญชาติ คือการที่ไม่สามารถระบุได้ว่า บุคคลนั้นมีแหล่งกำเนิดที่มาจากที่ใด ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าปัญหาของบุคคลไร้สัญชาติจึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมโลก


[1] ความหมายของสิทธิมนุษยชน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99

[2] สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

[3] หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน

[4] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

[5] สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนhttp://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-2/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2-5/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99-human-right/

[6] สาเหตุแห่งความไร้สัญชาติในประเทศไทย http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277

หมายเลขบันทึก: 565719เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท