นั่งรถไฟไปหา 'เด็ดเดี่ยว'


น่าสนใจแต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย-- Osho ผสานจิตวิญญาณตะวันตกตะวันออก : เสมือนเราต้องดูแลทั้งภายในบ้าน (ตื่่นรู้) และสวนหน้าบ้าน (ความรัก) อิสรภาพ คือการสามารถอยู่กับความไม่แน่นอน ด้วยความตื่นรู้ และความรัก

การเดินทางครั้งนี้ เป็นการไปตามใจตัวเอง เพื่อพบปะ 'คนคอเดียวกัน' ที่อ่านหนังสือของ Osho

...

ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณกัลยาณมิตรสองท่าน

คือ อาจารย์หมอรัตนา พันธ์พานิช และอาจารย์หมอ สุรัตน์  ตันประเวช

ที่แนะนำให้อ่านหนังสือของ Osho-นามปากกาของนักปรัชญาชาวอินเดีย Chandra Mohan Jain เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่

แม้ตอนแรกข้าพเจ้าต่อต้าน เพราะอ่านฉบับภาษาอังกฤษแล้วไม่เข้าใจ

จนได้มาอ่านฉบับภาษาไทยสำนักพิมพ์ freemind แปลโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
(ที่จริงต้องขอบคุณ gotoknow ที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้จักท่านผ่าน บล็อกก่อน เห็นชื่อผู้แปลจึงสนใจยิ่งขึ้น)

เล่มแรกที่เลือกจากร้านหนังสือคุ้นเคยคือ 'เชาวน์ปัญญา-Intelligence'

ก็เริ่มประทับใจ อ.ประพนธ์ ทำให้งานเขียนของ Osho น่าอ่าน ตีความให้เข้าใจง่ายขึ้นมาก

จากนั้นก็อ่าน 'ปัญญาญาณ-Intuition' และ 'พลิกมุมใหม่เข้าใจชีวิต-The book of understanding'


###

หลังจากข้าพเจ้าลงรถไฟ ที่สถานีหัวลำโพง (เนื่องจากหัวจักรเสียจึงสายไป 4 ชั่วโมง T_T)

นั่งรถไฟฟ้า MRT มาต่อรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีสีลม ลงที่สถานีธนบุรี ต่อมอเตอร์ไซด์รับจ้าง

กว่าจะไปถึงก็บ่ายโมง ทำให้พลาดกิจกรรมช่วงเช้าอย่างน่าเสียดาย

House of Common เป็นร้านกาแฟเล็กๆ บรรยากาศสบายๆ ที่แทรกตัวท่ามกลางความวุ่นวายใน กทม.

มีหนังสือจำหน่าย และพื้นที่ชั้นบนให้จัดกิจกรรมตลอดทั้งปี

 

จริงๆ แล้วงานนี้มีชื่อว่า Osho fanclub meeting ครั้งที่ 2 : 29 มีนาคม 2557 ณ House of common

แต่ข้าพเจ้ายังไม่อาจเรียกว่า fanclub ได้ถนัดใจ เมื่อเทียบกับเพื่อนๆ นักอ่านตัวจริงที่มาในงาน

ความรู้สึกข้าพเจ้าต่อ Osho คือ แนวคิดเขาผสมผสานจิตวิญญาณตะวันออกตะวันตกน่าสนใจดี -- แต่ยังไม่ถึงขั้นหลงใหล

ซึ่ง Osho ก็มักกล่าวเสมอว่า เขาไม่ได้ต้องการสร้างอีกลัทธิความเชื่อหนึ่ง

เขายกย่อง การมีประสบการณ์และใช้วิจารญาณของตนเอง

ขณะเดียวกัน ข้าพเจ้ามัก 'คันนิดๆ' เวลาเขาเล่าถึงกิริยาที่มีต่อครู อันแสดงถึงความเป็นขบถต่อระบบการศึกษา
ข้าพเจ้ารู้สึก มันเกินไป  :)

 

    

                            ภาพ: อ.ประพนธ์ ผาสุขยืด (ซ้าย) และ อาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู (ขวา)

                         ภาพ : กัลยาณมิตรใหม่ในงาน คุณน้ำหว้าคือคนกลางใส่เสื้อขาวในภาพคะ

เก็บตกบางส่วนจากสุนทรียสนทนา

อ.วิศิษฐ์ : Osho  พยายามบอกอะไรเรา?
อ.ประพนธ์ : Zobra the Buddha -สงบในจิตวิญญาณ แต่ภายนอกสนุกสนาน (ฮิปปี้)

อ.วิศิษฐ์ : ที่มาของ Osho น่าสนใจ เพราะเขาอยู่กับตายาย ในชุมชนที่ม่มีโรงเรียน ไม่มีถนน การสื่อสารกับโลกภายนอกน้อย
            ตอนที่ Osho เด็ก มีนักบวชศาสนาเชน มาที่บ้าน เมื่อ osho ตั้งคำถามแล้วนักบวชตอบไม่ได้ จึงขอให้ออกจากบ้านไป
           'ซึ่งคุณยายของเขาก็เห็นด้วย' (ถ้าท่านเป็นคุณยาย หลานทำแบบนี้ จะทำอย่างไร?)

อ.วิศิษฐ์ : คิดว่าเหตุใด Osho จึงกล่าวว่าหากมีสองศาสนาให้เขาเลือก เขาจะเลือก ZEN (นิกายหนึ่งของพุทธ) กับ Sufis (นิกายหนึ่งของอิสลาม) ?
คุณน้ำหว้า : อาจเพราะ เซ็น เป็นกิจกรรมทางปัญญา ใช้การตั้งคำถาม, Self awarenes, Intelligence,Doubt
              ขณะที่  ซูฟี เป็นกิจกรรมทางร่างกาย, Self forgetfulness,Emotion, Trust


Note : ข้าพเจ้า ชื่นชมและสนใจคำตอบจากคนรุ่นใหม่อย่างคุณน้ำหว้ามาก
         Osho ได้วิพากษ์จิตวิญญาณ ตะวันออก ตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ (ขอย้ำว่า ไม่จำเป็นที่เราต้องเห็นด้วยคะ)
         วิถีตะวันออก เน้นเรื่องตื่นรู้ เจริญภาวนา-สื่อสารรับรู้ภายในตัวเอง
         วิถีตะวันตก  เน้นเรื่องความรัก ไว้วางใจ - สื่อสารกับโลกภายนอก
         จึงควรมีทั้งสองส่วน เสมือนเราต้องดูแลทั้งภายในบ้าน (เจริญภาวนา) และสวนหน้าบ้าน (ความรัก)
         อิสรภาพ คือการสามารถอยู่กับความไม่แน่นอน ด้วยความตื่นรู้ และความรัก

 ###

ได้ 'เด็ดเดี่ยว' ติดมือกลับเชียงใหม่มาสมใจ

หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานแปลเล่มล่าสุดของ อาจารย์ประพนธ์

จากหนังสือต้นฉบับ Courage: The Joy of Living Dangerously
ดูจากจำนวนรีวิว และลำดับยอดขาย แสดงถึงความนิยม เหนือกว่าเล่มอื่นนๆ ของ Osho

การนั่งรถไฟ ทำให้ข้าพเจ้ามี 'กาละ' และ 'เทศะ' ที่จะรับอรรถรสหนังสือ

 

 

ข้าพเจ้าก็เลือกหนังสือเล่มนี้ เพราะเข้ากับเหตุการณ์ชีวิต ที่กำลังเปลี่ยนผ่าน

หรืออาจเป็นอย่างที่ อาจารย์ประพนธ์  ว่า หนังสือเลือกเรา...

 

หมายเลขบันทึก: 564972เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2014 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2014 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

การเดินทางทำให้เราได้คิดพิจารณาอะไรหลายอย่างครับ

จำได้ว่าเคยผ่านตา

ที่นี่ท่านเดียวกันใช่ไหม

http://www.osho.com/

ขอบคุณที่เขียนเรื่องดีๆให้อ่านครับ

พี่แก้วซื้อมาเกือบทุกเล่ม แต่อ่านเรื่อยๆ พบตัวจริงอาจารย์ประพลมาหลายรอบ

อาจารย์เป็นคนที่น่าทึ่งมากค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ มีสาระจ้ะ

ขอบคุณคะอาจารย์ขจิต ตามไปดูวีดีโอทันที และตั้งใจฟัง

รู้สึกเหมือนมีโจทย์ท้าทาย อะไรคือความต่างระหว่าง Desire กับ Will (เทคนิคการสอนของอาจารย์ดีจัง :)

Desire = cause of frustration - always about things more money, knowledge, respctability, better place in the afterlife = กิเลส ? หาสิ่งภายนอกมาเติมเต็ม

Will = nescessary for master in self = ความหวัง เติบโตพลังที่มีภายใน

ประมาณนี้หรือเปล่าคะ :)

ขอบคุณคะพี่แก้ว เล่ม Courage นี้เพิ่งแปลเป็นครั้งแรกในงานสัปดาห์หนังสือ 28 มี.ค. และน่าจะวางขายทั่วประเทศเร็วๆ นี้..แต่ในเชียงเชียงใหม่หายากเหมือนกันคะ มีมิตรหนังสือท่านหนึ่งกระซิบว่า ต่างจังหวัด หนังสือ Osho มักมีขายในร้านหนังสือมือสอง

ขอบคุณคะ พยายามนึกดอกอะไรหนา สวยดี

ขอบคุณคุณหมอป.

กับประสบการณ์ดี ๆ ที่ได้จากกัลยณมิตร และ หนังสือดี ๆ ที่เลือกมาอยู่ที่มือคุณหมอ ป.

และผมจะตามหา ดูบ้างนะครับ สามสิ่งที่พึงมีในชีวิต

มิตรดี

หนังสือดี .... และอารมณ์ดี

หนังสือชุดนี้นับวันยิ่งมากเล่มขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ คุณหมอ ;)...

กิจกรรมน่าประทับใจ หนังสือก็น่าหามาอ่าน วันนี้เข้ากรุงเทพ ไปจัตุรัสจามจุรี จะแวะซีเอ็ดหาอ่าน

ตัวละครหนึ่งในหนัง 7 years in Tibet พูดกับ ไฮนริค แฮร์เรอร์ นักไต่เขาชาวออสเตรีย ว่า “ประเทศของคุณชื่นชมคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ประเทศของเราชื่นชมคนที่ละวางได้สำเร็จ” บอกความต่างระหว่างสองฝั่งได้เห็นภาพ

ขอบคุณอาจารย์ที่มาเล่า

ป.ล. หนังสือดีๆ มักวางขายที่ร้านหนังสือมือสอง เป็นจริงค่ะ สะท้อนภาพตลาดหนังสือบ้านเรา


...น่าทึ่งคุณหมอป.มากๆนะคะ...นั่งรถไฟไปหา 'เด็ดเดี่ยว'...

ใช่ครับฟังง่าย

ผมพิมพ์ desire ผิด 5555

วันนี้ได้อิสรภาพ กับปัญญาญาณมาอ่านค่ะ

มิตรดี หนังสือดี อารมณ์ดี... ขอบคุณคะ :)

สวัสดีคะ อาจารย์เงาล่องหน:)
หนังสือของ Osho เกิดจากการจัด theme การปาฐกถาของเขาคะ

บางครั้งรู้สึกว่าซ้ำกันระหว่างแต่ละเล่ม แต่อีกมุมก็มองว่าเป็นการย้ำแนวคิดสำคัญคะ

แล้วแต่มุมมอง

พี่นุ้ยเป็นคนช่างวิเคราะห์ช่างสังเกตดีจังคะ

ส่่วนตัว เป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง อาจารย์ที่นับถือจึงเตือนว่า

คนเราต้องสื่อสารได้ทั้งภายในและภายนอก ประสบความสำเร็จได้และละวางความสำเร็จได้

พี่นุ้ยคิดว่าอย่างไรคะ

สวัสดีคะอาจารย์พจนา

อยากฟัง ประสบการณ์ การตัดสินใจออกจากพื้นที่ซึ่งคุ้นเคยไปที่ไม่คุ้นเคย บ้างคะ

แวะมาสวัสดีกับคุณหมอ เชียงใหม่ตอนนี้ร้อนมากๆ ฝุ่นละอองจากถนนหนทางไม่ต้องพูดถึง สร้างอะไรเต็มไปหมด แต่อย่างไรก็ยังรัก ประเทศไทย แม้ว่าจะร้อนไปสักนิด

ชอบประโยคที่ว่า "หนังสือเลือกเรา..." ขอบคุณมากๆครับและขอให้คุณหมอป.มีความสุขทุกๆวันนะครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท