PBL_ละครเมืองคาม


รายงานการดำเนินกิจกรรมโครงการเยาวชนนักการละครสะท้อนปัญญา

กลุ่มฮักนะเชียงยืน

  1. ที่มาของปัญหา

                กลุ่มฮักนะเชียงยืนเป็นกลุ่มเยาวชน ในโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 เป็นการรวมตัวกันจำนวน 10 คน ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังการใช้สารเคมีในการเกษตรของหมู่บ้านแบก อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เยาวชนในกลุ่มอยู่ต่างหมู่บ้าน จึงมีมติใช้ชื่ออำเภอเป็นชื่อกลุ่ม  ที่กลุ่มเยาวชนเลือกเป้าหมายที่บ้านแบก เพราะเยาวชนพบปัญหาเพื่อนในชั้นเรียนชอบหลับในชั้นเรียนเป็นประจำ และบ่อยครั้งที่ขาดเรียน เมื่อสอบถามพบว่าเพื่อนต้องชวนผู้ปกครองผสมพันธุ์แตงแคนตาลูปในเวลากลางคืน ทุกขั้นตอนในการเพาะปลูกใช้สารเคมี ไม่เฉพาะแตงแคนตาลูปเท่านั้น แตง พริก มะเขือ และอื่นๆ ล้วนใช้สารเคมีทั้งสิ้น ซึ่งการใช้สารเคมีมากเกินควรมีผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสังคมโลก คือภาวะโลกร้อน  จากการเฝ้าระวังปีแรกพบว่าชาวบ้านเองต้องมีส่วนร่วม ดังนั้นกลุ่มเยาวชนจึงสร้างแนวร่วมเป็นเยาวชนที่อยู่ในบ้านแบก เป็นแกนหลักในการเฝ้าระวัง ลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

จากการศึกษาข้อมูลและเฝ้าระวังการลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกเป็นเวลาหนึ่งปี ของกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน พบว่าผลการตรวจเลือดทั้งหมด 46 คน พบว่าเกษตรกรส่วนมาก เสี่ยง ชาวบ้านทำงานหนักในผสมพันธุ์ที่เกษตรกรต้องทำงานเฉลี่ยวันละ 13 ชั่วโมง ชาวบ้านบางรายหน้ามืดเป็นลมหมดสติขณะทำงาน นอกจากนี้เกษตรกรที่คลุกคลีอยู่กับงานฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืชก็มีโอกาสได้รับสารพิษมากกว่าเกษตรกรที่ทำงานอื่น โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตัวที่ปลอดภัย และผลการตรวจความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินของเกษตรกรมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ค่าฟอสฟอรัสสูงมาก

ชาวบ้านแบกรู้เข้าใจ ถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี ในการเกษตร แต่ไม่สามารถเลิกได้เพราะเป็นการเพาะปลูกระบบพันธะสัญญา พฤติกรรมใน ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปคือตื่นสาย นอนดึก ทำให้ไม่มีเวลาดูแลครอบครัวเท่าที่ควร วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวบ้านเริ่มหายไป พันธุ์พืชดั่งเดิม(พื้นเมือง)เริ่มหายไป ชาวบ้านห่วงสุขภาพตนเองน้อยกว่ารายได้   

เนื่องจากเป็นวิถีที่ละเอียดอ่อน การละครเพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาด้วยละครเร่น่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่สามารถรักษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวบ้านได้

 2. เป้าหมาย ชุมชนเรียนรู้สู่วิถีเกษตรอินทรีย์

 3. วัตถุประสงค์ 

       3.1 สร้างกลุ่มกลุ่มเยาวชนในชุมชนรู้เข้าใจทักษะการละคร

      3.2 เพื่อให้กลุ่มเยาวชนรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร

      3.3 เพื่อสร้างวิถีเกษตรอินทรีย์ในชุมชน

 4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      4.1 กลุ่มกลุ่มเยาวชนในชุมชนรู้เข้าใจทักษะการละคร

      4.2 เยาวชนรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

      4.3 ชุมชนเป็นชุมชนวิถีเกษตรอินทรีย์

 5. สรุปผลการดำเนินงาน

      ผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้

วัตถุประสงค์

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

วันที่ดำเนินการ/ผู้เข้าร่วม (คน) /ใครบ้าง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

(เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ

  1. สร้างกลุ่มกลุ่มเยาวชนในชุมชนรู้เข้าใจทักษะการละคร

ประชุมเชิงปฏิบัติการทักษะการละครให้สมาชิกกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน

- ให้ความรู้เรื่องทักษะการละคร

- ฝึกทักษะการละคร จากปัญหาของชุมชน

 

วันที่ 1 ธันวาคม 2556

เวลา 08.30-15.30

-กลุ่มแกนนำ จำนวน 5คน

-กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 15 คน

 

  1. กลุ่มแกนนำ จำนวน 5คนได้ถ่ายทอดทักษะการละครให้กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน
  2. กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 15 คนมีความรู้ความเข้าใจทักษะการละคร
  3. เยาวชนรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก
 

-ทบทวนทักษะการละคร

- ร่วมสะท้อนปัญหาของชุมชน

- คิดบทละคร

วันที่ 21 ธันวาคม 2556

เวลา 08.30-15.30

-กลุ่มแกนนำ จำนวน 5คน

-กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คน

 

  1. กลุ่มแกนนำ5คนและกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คนร่วมสะท้อนปัญหาของชุมชนในประเด็นการใช้สารเคมีมีผลกระทบในด้านใด

    - ด้านสังคมและวัฒนธรรม

    -ด้านเศรษฐกิจ

    -ด้านสุขภาพจิต

    -ด้านสุขภาพร่างกาย

    -ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. กลุ่มแกนนำ5คนและกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คนได้บทละครในเรื่องวิถีเกษตรอินทรีย์
  2. กลุ่มแกนนำ5คนและกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คนร่วมฝึกซ้อมละคร 
       

 

- ทบทวนทักษะการละคร - ทบทวนบทละครเรื่องวิถีเกษตรอินทรีย์

- ฝึกซ้อมละครเรื่องวิถีเกษตรอินทรีย์

27ธันวาคม 2556

13.00-15.30

-แกนนำ จำนวน 5คน

-กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คน

กลุ่มแกนนำ 5 คนและกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คนร่วมฝึกซ้อมละคร

มีทักษะการละครเพิ่มขึ้น

- ทบทวนทักษะการละคร - ทบทวนบทละครเรื่องวิถีเกษตรอินทรีย์

- ฝึกซ้อมละครเรื่องวิถีเกษตรอินทรีย์

12 มกราคม 2557

09.00-17.30

-แกนนำ จำนวน 5คน

-กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11 คน

- กลุ่มฮักนะเชียงยืนได้

บทละคร พร้อมออกเร่

- ออกเร่ ครั้งที่1

เวลา 12.20 -13.30 ออกเร่ ที่หน้าสหกรณ์โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จำนวน 2 รอบ

 

13 มกราคม 2557

นักเรียนโรงเรียนเชียงยืน

พิทยาคมจำนวน300 คน

 

- นักเรียนโรงเรียนเชียงยืน

พิทยาคมจำนวน 300 คน

รู้เข้าใจตระหนักถึงปัญหา

ในชุมชน

-กลุ่มแกนนำ5คนและกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจำนวน 11นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงฉากจบของละคร

- ครั้งที่2

เวลา 16.30-19.00ออกเร่

ที่บ้านแบก จำนวน 3 รอบ

13 มกราคม 2557

ชาวบ้านแบกจำนวน 20 คน

- ชาวบ้านแบกประมาณ 100 คนรู้เข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาในชุมชน

3.3 เพื่อสร้างวิถีเกษตรอินทรีย์

ในชุมชน

 

- ครั้งที่3

เวลา 08.00-12.00

ที่บ้านแบก

 

5 กุมภาพันธ์ 2557

-  ชาวบ้านแบกจำนวน 20 คน

-ผู้ใหญ่บ้านหมู่1,7,8

-เกษตรอำเภอ

-นักวิชาการจาก มมส.

(ดร.เพชร,ดร.ฤทธิไกร ไชยงามและคณะ

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

-ปราชญ์เกษตรอินทรีย์จากกาฬสินธุ์(เกษตรคลื่นลูกใหม่จากกาฬสินธุ์)

- ชาวบ้านแบกประมาณ 100 คนรู้เข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาในชุมชน

-นักเรียนแกนนำได้พัฒนาศักยภาพในการเป็นกระบวนกรในวงสนทนา

-ได้เปิดประเด็นเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้าน

 

วิเคราะห์ผลจากการดำเนินโครงการเยาวชนนักการละครสะท้อนปัญญา

ผลผลิตที่ได้

      ผลลัพธ์ตามจุดประสงค์

        1.1 ได้สร้างกลุ่มกลุ่มเยาวชนในชุมชนรู้เข้าใจทักษะการละคร

        1.2 กลุ่มเยาวชนรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร

        1.3 สร้างวิถีเกษตรอินทรีย์ในชุมชนได้ในระดับรู้เข้าใจ

      ด้านเยาวชน

          เยาวชนเครือข่ายในชุมชนได้นำกระบวนการทางละครมาปรับใช้ มาใช้ในการเรียนรู้ปัญหาในชุมชนของตนเอง ได้สะกิดปัญหาของชุมชนให้ผู้ปกครองตระหนักถึงพิษยาฆ่าแมลง ด้วยความละมุดละหม่อม ไม่กร้าวร้าว สังเกตได้จาก “ขณะดูละคร เห็นรอยน้ำตาจากยายๆ ป้าๆ ร้องไห้ และเมื่อเปิดวงเสวนา เมื่อเกมส์ถูกพี่ๆถาม ด้วยความมีโอกาสเปิดใจเกมส์ร้องไห้ ยายร้องไห้ ป้าๆ ร้องไห้ตาม หรือแม้แต่ในการฝึกแต่ละครั้งไม่มีเลยที่สมาชิกมาไม่ครบอาจมาช้าก็จะได้ยินคำว่า“ขอโทษ ”จากเพื่อนๆ

              แสดงให้เห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในในตัวเยาวชนเอง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผลการเรียนแล้วส่วนมากเป็นเด็กที่มีผลการเรียนปานกลาง
         ชุมชน ได้มีโอกาสได้พูดคุยถึงสาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมของหมู่บ้านที่เริ่มเปลี่ยนไป จากวงเสวนาเช่น

- พ่อแม่ตระหนักรู้แต่ยังคงติดว่าต้องใช้หนี้และต้องหาเงินส่งลูกเรียน
- ต้องใช้หนี้ ทำอย่างอื่นได้เงินไม่ทันใจ (ไหนว่าได้ไร่ละสอง สามแสน) 
- คนในชุมชนได้รายได้ดีขนาดนี้ แล้วทำไมยังเป็นหนี้ ?
- พี่พยาบาลถามว่าที่ว่าส่งลูกเรียนนั้น สถิติพบว่าเรียนจบ ป.ตรีกันน้อยมาก
- คนในชุมชนอายุเกิน 45 ปีก็เริ่มเจ็บป่วย มีคนเป็นมะเร็งตายเยอะ เป็นโรคตับตายก็เยอะ
- รายได้สุทธิ 2 แสนบาทนั้นยังไม่ได้หักค่าสุขภาพและความอบอุ่นในครอบครัว
- คนในชุมชนรู้สึกว่าเกษตรอินทรีย์ไม่มีตลาด
- คนในชุมชนรู้สึกว่าหากไม่ใช้สารเคมีจะได้ผลผลิตไม่ทันใจ

- คนในชุมชนรู้สึกว่าตนเองรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ดีอยู่แล้วเพราะดูงานมาหลายครั้ง
แสดงให้เห็นว่าเกิด เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในชุมชน สังเกตได้จากวงเสวนา

    น้องตุ๋มเกษตรอินทรี(น้องตุ๋ม+น้องเเบงค์ สหมิตรครูจากกาฬสินธุ)พูดถึงเกษตรอินทรีที่ตนเองทำ เรียกความสนใจของชาวบ้านเป็นอย่างดีเยี่ยม ชาวบ้านต้องการไปดูงานที่ไร่ของน้อง

   -ท่านเกษตรอำเภอ พูดเรื่องเกษตรปลอดภัย การใช้สารเคมีมีผลต่อดินอย่างไร ทำให้ชาวบ้านสนใจเกษตรอินทรีมากกว่า 

           สิ่งที่คาดว่าจะได้ผลตามมา คือ เกิดเยาวชนที่เป็นผู้นำในชุมชนที่มีฐานการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน

         กลุ่มเยาวชนแกนนำ

              - ได้พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการสื่อสาร

              สรุปผลผลิตที่ได้คือ

                       - ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา

                        -พวกเขาได้เรียนรู้วิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข บนความคิดเห็นต่าง

                       - ได้ความรู้โดยที่ครูไม่ต้องสอนในชั้นเรียนคนที่เรียนอ่อนหรือเก่งได้เรียนรู้ได้เท่ากัน

                       - ได้ผู้นำในชุมชนที่กล้าคิด กล้าทำ และมีคุณธรรม

     ครูผู้ดูแลโครงการ

          ได้กระบวนการละครเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่21

    ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข

        - เวลาไม่พอ

        - ภาระการเรียนในเนื้อหาของหลักสูตร

        - การไม่ยอมรับของสังคมเพื่อน

 

หมายเลขบันทึก: 564094เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2014 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2014 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นโครงการที่น่าสนับสนุนมากๆ เลยครับ

ชัดเจนมากเลยนะครับ

กำลังปลูกผักให้เด็กอยู่

สนุกดี

มีอะไรพอช่วยได้บอกนะครับ

ปลูกผักแบบดาวล้อมเดือน(21)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท