Okanagan Heritage Museum แหล่งเรียนรู้สาธารณะ


ที่สำคัญ Okanagan Heritage Museum ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้กับชุมชน และโรงเรียนต่างๆ โดยมีโปรแกรมการเรียนรู้ให้ศึกษาได้ตลอดทั้งปี

Okanagan Heritage Museum แหล่งเรียนรู้สาธารณะ

   

 

 

 

 

 

  

Okanagan Heritage Museum เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมือง(alive & history) ตลอดจนวิถีชีวิตวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้คน(cultural), ทหาร(military), สวนผลไม้(orchard),ไวน์ (wine)และการกีฬา(sports) ซึ่งแน่นอนต้องมีเรื่องราวของชีวิตสัตว์ต่างๆในดินแดนทะเลสาบ และหุบเขาแห่งนี้ด้วย ที่สำคัญ Okanagan Heritage Museum ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้กับชุมชน และโรงเรียนต่างๆ โดยมีโปรแกรมการเรียนรู้ให้ศึกษาได้ตลอดทั้งปี    

หมายเลขบันทึก: 563385เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2014 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2014 03:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ขอบคุณค่ะ น่าเข้าชมมาก ๆ นะคะอยากให้บ้านเรามีหลาย ๆแห่งค่ะ มิวเซียมที่เมืองไทยมีน้อยไป และค่อนข้างแห้งแล้งขาดชีวิตชีวา คนไทยเดินทางท่องเที่ยว(ในไทย) มักไม่มีรายการชมพิพิธภัณฑ์ ส่วนตัวก็ไม่ค่อยไป เคยไปตอนเด็กครูพาไป เคยพาแขกต่างประเทศไปบางแห่ง ก็เล็ก ๆ แห้งแล้งอย่างที่พูดค่ะ แต่ถ้าไปต่างประเทศและมีเวลาส่วนตัวก็ไปทุกแห่ง เพราะการจัดแสดงและข้อมูลมากน่าสนใจทุกแห่ง น่าจะต้องทุ่มงบประมาณครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ประเภทนี้อย่างจริงจัง (แต่คนรับผิดชอบ อาจเจ็บตัวเพราะคนไทยหวาดระแวงเรื่องคอรัปชั่นสุด ๆ )

.... มีมรดกมากมายให้เรียนรู้ นะคะ ... ขอบคุณค่ะ ^_^


น่าสนใจมากๆครับ

สัตว์พวกนี้เขาสตั้บไว้หรือครับ

น่าสนใจมาก ๆ จ้ะ ขอบคุณจ้ะ

...เป็นตัวอย่างการจัดKM ของพิพิธภัณฑ์นะคะคุณ GD...เขาทำได้ดี มีประโยชน์มากๆโดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็ก และกลุ่มผู้สูงอายุ ใครอยากรู้เรื่องราวของเมืองนี้สามารถเข้าไปเรียนรู้จากการจัดแสดงเรื่องราว สิ่งของ เครื่องใช้ ในรูปแบบต่างๆ และหากสนใจเรื่องใดเป็นการเฉพาะก็สามารถลงโปรแกรมเรียนรู้ได้ ทั้งภาคทฤษฎีในพิพิธภัณฑ์ และภาคปฏิบัตินอกพิพิธภัณฑ์ โดยมีการสรุปถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะภาพวาด และระบายสี...

...เป็นมรดกความรู้ที่รวบรวมไว้ และนำมาจัดทำเป็น KM ให้ชุมชนได้อย่างมีประโยชน์มากๆ นะคะ ...พิพิธภัณฑ์ใช้พื้นที่ในการจัดแสดงไม่มากนัก แต่ครอบคลุมครบถ้วน นอกจากเป็นบริการสาธารณะให้ชุมชน และนักท่องเที่ยวทั่วไปโดยไม่เก็บค่าเข้าชมแล้ว ยังสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนต่างๆ ในลักษณะ Two ways โดยโรงเรียน สามารถนำเด็กมาเรียนรู้ในโปรแกรมต่างๆที่พิพธภัณฑ์จัดขึ้นตามตารางตลอดปี หรือทางโรงเรียนจะกำหนดรายการที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์ได้อีกทางเลือกหนึ่ง...

...เป็นสัตว์ที่มีในท้องถิ่น ที่นำมาสตัฟ คือ stuffing ไว้ ...ดูออกจะเป็นการทารุณสัตว์ แต่ประโยชน์ก็มีมากนะคะ...

...คุณมะเดื่อจะจัดเป็นห้องสมุดแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้เด็กๆ และชาวชุมชนสามอ่าวเมื่อไหร่?ค่ะ ในแต่ละชุมชนมีสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา มีโรงเรียน มีห้องสมุด มีพิพิธภัณฑ์ มีสนามเด็กเล่น มีสวนสาธารณะ มีสหกรณ์การเกษตร และหัตถกรรมพื้นบ้าน ก็น่าจะเพียงพอ...ขอสนับสนุน และเป็นกำลังใจ...เด็กๆ ในรูปน่ารักนะคะ

I like that "Touch and Feel" section.

How often do we see a museum envite us to do that! Most times, they are for your "eyes only".

เป็นสถานที่น่าเรียนรู้มากเลย

มีนกสต๊าฟด้วยนะครับ

อากาศที่แคนาดาเป็นอย่างไรบ้างครับ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับการแนะนำเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าเรียนรู้มาก ที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างคือ การจัดเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต มีมุมให้ผู้เข้าชมทำกิจกรรมศิลปะวาดภาพ และตอบคำถามด้วย

และอย่างที่ "คุณ sr" บอก ปกติเราจะเห็นพิพิธภัณฑ์ที่มีแต้ป้ายห้ามจับต้อง แต่พิพิธภัณฑ์นี้กลับเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมสามารสัมผัสแตะต้องลูบคลำหนังและขนสัตว์ได้ด้วย ...เท่าที่พี่ทราบ การสตาฟสัตว์ เป็นวิธีการรักษาซากสัตว์ที่เสียชีวิตเองนะคะ ไม่ใช่คนทำให้เขาตายแล้วนำไปสตาฟ จึงไม่ถือเป็นการทารุณสัตว์ ในเมืองไทยก็มีธุรกิจรับสตัฟสัตว์ด้วยนะคะ...บันทึกนี้ทำให้ได้เรียนรู้สำนวนการให้แสดงความเห็นด้วยว่า ต้องการให้พิพิธภัณฑ์เป็นอย่างไร

พี่วางภาพแนวนอน แต่พอคลิกจัดเก็บกลับเป็นแนวตั้ง ขออนุญาตทดลองอีกหน่อยนะคะ

น้องพจนาก็ทราบมาอย่างนั้นค่ะ...แต่ยังไงก่อนสตัฟ สัตว์ต้องตายก่อนอยู่แล้ว และการสตัฟต้องทำหลังจากสัตว์ตายไม่นานด้วยนะคะ...ผู้คนได้เห็นสัตว์สตัฟที่ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ตอนมีชีวิต จากการนำซากมาทำให้มีสภาพใกล้เคียงกับตอนที่มีชีวิตอยู่ก็มีประโยชน์ในการเรียนรู้อย่างมากมายแล้วนะคะคุณพี่ผศ.วิไล...ส่วนตัวแล้วอยากเห็นพิพิธภัณฑ์ตามท้องถิ่นต่างๆ เป็นแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้กับชุมชน และนักท่องเที่ยว โดยไม่ใช่ธุรกิจการค้านะคะ

...น้องขจิตก็ต้องทำพิพิธภัณฑ์ทางการเกษตร อาจสร้างเป็นโมเดลจำลองแสดงรูปแบบแปลงผักต่างๆ ...การทำปุ๋ยหมัก...ปุ๋ยชีวภาพ ...แสดงสภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ...แสดงสภาพดิน...การแก้ปัญหาสภาพดิน...เมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ...ตลอดจนมีโปรแกรมเรียนรู้เครื่องมือ วิธีการใช้เครื่อง ...วิธีการสร้างเครื่องมือทางการเกษตรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีโปรแกรมปลูกผัก ...ทำนา ...ทำปุ๋ย...เป็นความคิดของพี่ประมาณนั้นเลยนะคะ...วันนี้ตื่นมาอากาศ 6 ถึง 8 องศา ก่อนหน้านั้นนับถอยหลังไป-15-16-19-20 ถึง-24 อากาศที่นี้มีความแปรปรวนมากเพราะที่นี้มีลม Chinook จากเทือกเขา Rockies ด้วยนะคะ

ขอขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมอบดอกไม้ให้กับบันทึก "Okanagan Heritage Museum แหล่งเรียนรู้สาธารณะ" นะคะ...ขอบคุณมากค่ะ

ดูแล้วได้แนวคิดดีมากครับ ท่าน ดร.พจนา ถ้าชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทยเรา รู้จักเก็บเล็กผสมน้อยทรัพยากรที่อย่างที่มีรักษาไว้ให้ลูกหลานได้ชม ได้ศึกษาทั้งสิ่งเก่าและใหม่ ก็จะเป็นประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ ของชุมชนที่น่าศึกษาของแต่ละชุมชนที่มีเอกลักษร์แตกต่างกันออกไป

...หากมีการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ไม่คอรัปชั่น ทุกคนช่วยกันเสียภาษีให้ท้องถิ่น รัฐจัดสรรงบประมาณช่วยเหลืออย่างเหมาะสม คงไม่ยากที่แต่ละท้องถิ่นจะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ อย่างพอดี พอเพียง ตามบริบทของตนเองนะคะคุณวัลลภ...

ตามมาเที่ยวช่วงนี้หิมะเริ่มละลายแล้วค่ะ...ถนนหนทางมีแต่ snow black ต้องสักเดือนเมษายนน่าจะสะอาดน่าเดิน น่าเที่ยวนะคะพี่ kanchana...

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาเยี่ยมและเรียนรู้จากที่นี่ครับ

-ชอบใจมาก ๆครับ

-หากมีแหล่งเรียนรู้แบบนี้มาก ๆก็น่าจะดีนะครับ

-วันก่อนผมไปขึ้นเขาชมดอกไม้ป่า..นามว่า"ดอกรัง"ครับ

-เก็บภาพมาฝากครับ

ดีจังค่ะสำหรับแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติวิทยาดีๆเช่นนี้

ไม่ยากที่จะทำ...ต้องร่วมมือร่วมใจกันนะคะ...อยากทราบข่าวควาย"โพทอง"ที่พรานกระต่ายเป็นยังไงบ้างค่ะน้องเพชร...ขอบคุณที่นำภาพ "ดอกรัง" สีเหลืองอ่อนสวยเย็นตา จากในป่ามาฝากนะคะ

นอกจากธรรมชาติวิทยาที่มีทั้งพืชพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศแล้ว ก็ยังมีเรื่องราวของอาชีพการทำสวนผลไม้ การทำไวน์ การกีฬา ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล ตลอดจนการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม วิธีชีวิตของผู้คนที่น่าสนใจมากๆ นะคะพี่นงนาท

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท