เสวนา "กิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น"


  

 

           วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ทางชุมชนกิจกรรมบำบัดศึกษาสุขภาวะ ได้จัดเสวนากิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น ขึ้นที่ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ซอยงามดูพลี เขตสาธร งานในวันนี้ได้รับความสนใจจาก คุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณครูฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก Smart & Smile kids นักจิตวิทยา ครูโรงเรียนนานาชาติ กุมารแพทย์จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ศิริราช และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก นิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร อาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณครูจากบ้านเรียนชวนชื่น ผู้ปกครองน้อง..........ด้วยอยากทราบว่ากิจกรรมบำบัดจะช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อย่างไร  

          

 

          แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร ???

             -"ไม่นิ่ง อ่านหนังสือข้ามบรรทัด มีพฤติกรรมอ่านหนังสือนานๆไม่ได้ เปลี่ยนความสนใจไปเล่นอย่างอื่น" / คุณแม่

           -"อยู่นิ่งๆได้ไม่นาน เช่น มีพฤติกรรมอ่านหนังสืออีกเล่มแล้วเปลี่ยนไปอีกเล่ม อยู่ในห้องเรียนนั่งนิ่งๆไม่ได้ พูดเยอะโดยไม่สนใจบริบทบุคคลที่อยู่รอบตัว" / คุณน้า

          -"อยู่ไม่นิ่ง ชอบวิ่งทั่วห้อง อ่านหนังสือแต่จำอะไรไม่ค่อยได้ มีปัญหาเรื่องความจำ เขียนตัวหนังสือหัวกลับ"/ คุณแม่

          -"เคยสงสัยว่าเด็กหลายคนที่โรงเรียนว่าเป็นรือไม่ แต่บางทีก็มีอาการไม่ชัด ว่าเกิดจากการที่เด็กดูทีวี หรือเกิดจากการเลี้ยงดู สงสัยว่าลักษณะเด็กที่เห็น เข้าข่ายเด็กสมาธิสั้นหรือไม่"/ คุณครู

        - คุณหมอ แสดงความคิดเห็นว่า "จะสังเกตุว่าเริ่มมีอาการ และพัฒนาการเป็นอย่างไร ประกอบกับความสามารถด้านใดของการเรียนที่เสียไป นอกจากสังเกตพฤติกรรมระหว่างเด็กอยู่ในห้องตรวจ อาการที่แสดงแล้ว ยังมีแบบประเมินให้ผู้ปกครองตอบอีกด้วย มีการสอบถามการเลี้ยงดู และระเบียบวินัยร่วมด้วย"

     

            คุณครูการศึกษาพิเศษ แชร์เรื่องสมาธิสั้นเทียม จากหลายสาเหตุ เช่น การให้เด็กดูทีวี เล่นไอแพด

            นักจิตวิทยา เล่าว่า "พบบ่อยๆว่าเด็กไม่ค่อยยอมทำตามเงื่อนไข"

credit : http://kidshealth.org/parent/medical/learning/adhd.html

         เด็กสมาธิสั้น Attention deficit hyperactivity disorder : ADHD พบได้บ่อยที่สุดในเด็กวัยเรียน อาการของเด็กกลุ่มนี้คือ

       •สมาธิสั้น (inattention)

       •อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity)

       •ยับยั้งตัวเองได้ลำบาก (impulsivity)

 

ส่งผลให้เกิดปัญหาด้าน 

      •การพัฒนาบุคลิกภาพ

      •ปัญหาการเรียน

      •การปรับตัว

      •การเข้าสังคม 

นักกิจกรรมบำบัดเราสนใจ

 

                ปัจจัยส่วนบุคคล Person องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเป็นเด็กสมาธิสั้น มีสาเหตุจากสมองและพันธุกรรม

                ปัจจัยแวดล้อม/สิ่งแวดล้อม Environment ที่ต้องปรับแก้ไข หรือส่งเสริมในทางที่ดีเช่น การเลี้ยงดู การฝึกระเบียบวินัยจากพ่อแม่ โรงเรียน เพื่อน ฯลฯ

                กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก Occupation โดยนำมาส่งเสริมให้เด็กพัฒนา .....ได้ไอเดียจากผู้เข้าร่วมเสวนา เช่น          

       •การเล่านิทาน การถามคำถาม สถานการณ์ต่างๆ ฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์

       •เพิ่มหัวข้อที่น่าสนใจในการเรียน ให้เด็กยกตัวอย่างกิจกรรม และให้ครูเตรียมกิจกรรมมาให้เด็กทำ

       •เรียนดนตรี

       •ฝึกการรอคอย ตกลงกติกา

       •ให้สิทธิ์เด็กเลือกสิ่งที่ชอบ เช่น กิจกรรมลดพลังงาน

       ฯลฯ

 

       ซึ่งเด็กต้องอาศัยการเรียนรู้และการปรับตัว

เพื่อผลลัพท์สุดท้ายคือ 

ความสุขของทุกคน :)

 

ขอเชิญชวนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักกิจกรรมบำบัด

ในหัวข้อ กิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น อีกครั้ง 

 

 

 

แล้วพบกันนะคะ :)

         

  

 

หมายเลขบันทึก: 563306เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2014 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2014 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณคะ เป็นประโยชน์มาก ติดตามอ่านต่อนะคะ

ยินดีมากค่ะ คุณเพ็ญศรี ^ ^

ดีใจได้พบทั้งสองท่านเลย

เสียดายไม่ได้ไปฟังอาจารย์

สวัสดีค่ะ พี่ขจิต ^ ^ อาจารย์อีเอาต้นไม้ปลูกลงกระถางที่บ้านแล้วนะคะ

บันทึกดีดีนี้ ขอบคุณค่ะ ^_^

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ ดร.เปิ้ล

ดีจีงเลยครับ

เอาลงกระถางแล้ว

รอดูดอกเขาได้เลยครับ

ยอดเยี่ยมมากๆครับ ขอบคุณมากๆครับอ.อี และอ.แอน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท