ประชุม PCT กระดูกและข้อ


พรุ่งนี้บ่ายจะมีการประชุม PCT กระดูกและข้อของโรงพยาบาล จะต้องเตรียมเรื่องการป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยกระดูกพรุน( Capture the Fracture )ไปนำเสนอ แนวคิดในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ผ่านการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยหวังว่าเมื่อผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว ไม่ว่าจะรักษาโดยการผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด หลังจากนั้นควรได้รับการดูแลแบบองค์รวม อันได้แก่ กำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก ได้รับอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงหรือได้รับแคลเซี่ยมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ออกกำลังกายให้มีการลงน้ำหนักที่ขาและออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน ได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุน ได้รับการฟื้นฟูหลังกระดูกหัก วิธีการเหล่านี้ถ้าทำได้ครบถ้วนถือเป็น best practice ที่จะช่วยป้องกันกระดูกหักซ้ำและช่วยลดค่ารักษาพยาบาล แนวคิดนี้กำลังรณรงค์ให้มีการใช้ทั่วโลก โดยตั้งเป้าหมายว่าจะช่วยลดการเกิดกระดูกหักซ้ำร้อยละ 20 ภายในปี 2020

หมายเลขบันทึก: 563301เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2014 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2014 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...คนเมืองหนาวจะเดิน-วิ่งออกกำลังกายช่วงที่มีแดดออก ให้ร่างกายได้รับแสงแดด เพื่อสร้างวิตามินดีนะคะ...

ตามมาเชียร์การทำงานครับคุณหมอ

กำลังทำผักป้องกันโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะ

ขอขอบคุณ ดร.พจนา และ อ.ขจิต ที่ติดตามค่ะ ไว้จะส่งข้อมูลปริมาณแคลเซี่ยมในผักต่างๆให้ อ.ขจิต ค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากนะคะ สำหรับคนวัยไอดินฯ แต่สิ่งที่พออุ่นใจคือ เป็นคนที่ทานผักใบเขียวมาก กินปลาเล็กปลาน้อยบ่อยเพื่อให้ได้รับแคลเซี่ยม และทำงานกลางแจ้งมาก ไม่ทราบว่าต้องทานแคลเซี่ยมเพิ่มไหมนะคะ (ไม่ชอบทานยา และประเภทสารสังเคราะห์ทางเคมีค่ะ)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท