ทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow + การทำงานในองค์กร


ทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow + การทำงานในองค์กร

          จากทฤษฎีแรงจูงใจ ตามลำดับขั้นของ Maslow กล่าวว่า..."มนุษย์มีความต้องการ ความปรารถนาและได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง ความต้องการเหล่านี้จะเรียบลำดับขั้นของความต้องการ ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความต้องการขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ"...ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๕ ขั้น ดังนี้

       ๑. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน ฯลฯ

       ๒. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน

       ๓. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) ( affiliation or aceptance needs) เป็นความต้องการส่วนหนึ่งของสังคมซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับคำชื่นชมจากผู้อื่น ฯลฯ

       ๔. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือและสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับการเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ ฯลฯ

       ๕. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self - actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ฯลฯ

       จากทฤษฎีข้างต้น สามารถนำทฤษฎีแรงจูงใจมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงานในองค์กร ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน (basic) จนถึงระดับสูง ดังนี้

       ๑. ความต้องการทางด้านร่างกายในองค์กร ได้แก่

           - การระบายอากาศ บรรยากาศปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด ทึบ/ฝุ่น/ควัน/กลิ่น/ร้อน

           - เงินเดือนพื้นฐานที่เพียงพอแก่การดำรงชีพ คุณค่าของงาน ความรู้ความสามารถ

           - โรงอาหารที่มีอาหารอร่อย สะอาด ถูกหลักโภชนาการ ราคาไม่แพง

           - สภาพการทำงานที่เอื้อต่อการทำงานให้สำเร็จตามหน้าที่ความรับผิดชอบ

       ๒. ความต้องการความปลอดภัยในองค์กร ได้แก่

           - สภาพการทำงานที่เหมาะสม ปลอดภัยต่ออาชีวอนามัย

           - สวัสดิการ

           - การขึ้นเงินเดือนทั่วไป

           - งานที่มั่นคง

       ๓. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของในองค์กร ได้แก่

           - คุณภาพของการกำกับ ดูแล

           - ความเข้ากันได้กับกลุ่มผู้ร่วมงาน

           - มิตรภาพแบบมืออาชีพ

       ๔. ความต้องการได้รับการนับถือ ยกย่องในองค์การ ได้แก่

           - ชื่อตำแหน่ง

           - การจ่ายเพิ่มขึ้นตามระบบคุณธรรม ไม่ใช้ระบบอุปถัมภ์

           - การได้รับการยกย่องชมเชยจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน

           - การทำงานได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ

           - หน้าที่ความรับผิดชอบที่มีคุณค่า

          ๕. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงในองค์กร ได้แก่

           - งานที่ท้าทาย

           - การใช้ความคิดสร้างสรรค์

           - ความสำเร็จในการทำงาน

           - ความก้าวหน้าในองค์กร

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๕ มีนาคม ๒๕๕๗

 

 

 

 

     

หมายเลขบันทึก: 563294เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2014 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2014 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท