วิชาคนเบื้องต้น


 

วิชาคนเบื้องต้น 

        โดยประสบการณ์วิชาชีพที่ต้องทำงานร่วมกับปัญญาชนผู้ใกล้ชิดชุมชน และท้องถิ่นที่สุด อันหมายถึง ครูบาอาจารย์ในโรงเรียนบ้านนอกนั่นแหละ ผมจึงได้รับรู้ถึง “วิชาคน” ที่ต้องเรียนรู้อย่างลองผิดลองถูกโดยเอา “การยอมรับ” ของคุณครูเป็นเดิมพัน  เริ่มต้นอย่างระมัดระวังทำหน้าที่ในบทบาทของผู้นิเทศ ในบรรยากาศกัลยาณมิตร ระลึกตนเองไว้ว่า ไม่ใช่ผู้ตรวจ ไม่ใช่ผู้ประเมิน  ดังนั้นแม้จะมีแผนการนิเทศอยู่ในมือ หรือมีเครื่องมือที่กลั่นแล้วกรองอีกก็ตาม แต่พอถึงเวลาปฏิบัติงานกับคุณครูที่โรงเรียนจริงๆ  สมองก็ต้องคิดวางแผนสร้างบรรยากาศ สร้างความพร้อม เลือกเทคนิควิธีการปล่อยหมัดเด็ด หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างรู้จริง ฉะฉาน ส่วนปากก็ต้องรู้จักสร้างวาทะนิเทศ เพื่อสร้างมิตร กระตุ้น เสริมแรง ให้เกียรติ รวมทั้งปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ นอกจากนี้มือก็ต้องคล่องในทักษะการใช้สื่อหรือใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ...ถึงปานนั้นก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าจะเข้าไปนั่งในหัวใจทั้งสี่ห้องของคุณครูผู้รับการนิเทศได้สำเร็จ แล้วก็ใช่ว่า จะสำเร็จไปเสียทุกราย เพราะคุณครูก็เป็นปุถุชน มาจากพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน

ผมลองวิเคราะห์ธรรมชาติของคน ในประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมา พอสรุปได้ดังนี้

  1. คน ไม่ชอบให้ใครตำหนิ แม้จะทำการผิดพลาดเพียงใด
  2. คน อยากได้รับการยกย่องว่าเก่ง ดี เด่น เป็นเลิศกว่าใครๆ
  3. คน ต้องรอให้มีความต้องการเสียก่อน จึงจะทำการสำเร็จ
  4. คน สนใจตนเอง สนใจสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับมากที่สุด
  5. คน ชอบสิ่งสวยงาม รื่นรมย์ ไว้ก่อนเสมอ
  6. คน ต้องการให้คนอื่นฟังเมื่อตนเองพูด
  7. คน ชอบให้คนอื่นพูดให้ฟังในเรื่องที่ตนเองสนใจ
  8. คน ไม่ชอบให้ใครโต้แย้ง โต้เถียง แม้จะเป็นเรื่องถูกก็ตาม
  9. คน อยากให้คนอื่น เห็นด้วยกับความคิดของตน
  10. คน ชอบเห็นการรับผิด เมื่อคนอื่นทำความผิด
  11. คน ต้องการความเป็นกันเอง มากกว่าระเบียบแบบแผน
  12. คน ต้องการให้คนอื่นยอมรับว่าเป็นผู้มีคุณค่า 

เข้าใจธรรมชาติของคน แล้วก็นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน  ...สนุกดีพิลึก

หมายเลขบันทึก: 563305เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2014 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2014 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รู้เขา รู้เรา นะคะ...ทั้ง 10 ข้อของอาจารย์ วิเคราะห์ให้เห็นได้ชัดเจนมากนะคะ...หากใครชอบข้อไหน?ก็อยากให้คนอื่นมอบให้ คนอื่นก็ชอบเช่นกัน ทุกคนจึงควรมอบสิ่งที่ดีให้กัน ...และถ้าหากว่าไม่ชอบข้อไหน? ไม่อยากให้ใครมาทำกับตนเอง เราก็ต้องไม่ทำอย่างนั้นกับคนอื่นนะคะ

พุทธวิถี..พุทธวิจารณะ..ศึกษา..การ..ลด..ซึ่งอัตตา...เป็นหนทางสายกลาง..ที่จะนำไป..สู่..ความสงบ..สว่าง..ว่าง..วาง..นำไปสู่..จิตประภัสสร..รักและเมตตา..ต่อกัน..นำไปสู่..การสร้าง..พื้นฐานของความเป็นอยู่..ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย..โดยไม่มีกฏบังคับ..(ภายใน)...อันเป็น..หลัก..ธรรมะ..เปลี่ยนแปลง..ปฏิบัคิ..ด้วยตนเอง...สาธุสาธุสาธุ....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท