มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ที่รัก นี่เรากำลังฆ่าลูกเราอยู่หรือนี่!


Synopsis: Do you have young children? Take a look at them. Now, can you imagine being introduced to them...when they're grown up? What if the future you'd imagined for them hasn't quite gone to plan?

วันนี้ก่อนนอนเปิดทีวีช่องประจำคือ food network ไปเจอรายการชื่อ honey we're killing the kids ของ BBC ประเทศอังกฤษ

น่าสนใจเลยมาบอกต่อค่ะ 

 

(ภาพจาก http://www.bbc.co.uk/health/tv_and_radio/honey/)

 

(ภาพจาก http://www.bbc.co.uk/health/tv_and_radio/honey/series1honey_hammonds.shtml )

วันนี้เป็นเรื่องราวของครอบครัวแฮมมอนด์ที่ ลูกสองคน ดูทีวี อาทิตย์ละ 24 ชม. นอนไม่พอ พ่อแม่เองเหนื่อยมาจากที่ทำงาน ไม่ทำกับข้าว ซื้ออาหารที่มีแป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือสูงเข้าบ้านตลอด นอกจากนั้นพ่อแม่ทั้งคู่ยังสูบบุหรี่หนัก ไม่คู่อยมีกิจกรรมกับลูกนอกจากนั่งนอนดูทีวีกับลูกในห้องนั่งเล่น หรือไม่ก็ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี และ วีดีโอเกมส์ในห้องนอน ลูกๆก็กินขนมถุง ขนมหวาน ตลอดวัน แม้กระทั้งเวลาก่อนนอน 

_________________________________ 

รายการนี้ให้ลูกทั้งสองคนมาตรวจสุขภาพ วัดผลการเรียนรู้ วัดสมาธิ (attention span) และ ทดสอบสมรรถภาพ

ผลการทดสอบทุกอย่างถูกนำไปแปลเป็นรูปภาพกราฟฟิก ว่า ถ้าทั้งครอบครัวยังมีพฤติกรรมแบบนี้ เด็กสองคนนี้จะหน้้าตาเป็นอย่างไรตอนอายุ 40  

 

แบรดลี่ ตอน 10 ขวบ กับภาพทำนายแบรดลี่ตอนอายุ 40 ปี 

 

 

โจ ตอน 5 ขวบ กับภาพทำนายโจตอนอายุ 40 ปี

รูปนี้ทางรายการให้พ่อกับแม่ดู (เด็กไม่ได้เห็นค่ะ) ฉายภาพสาดเข้ากำแพง รูปเบ่อเริ่มเฮิ่ม เต็มจอ พ่อแม่เด็กก็อึ้งกิมกี่ไปเลยค่ะ

รูปนี้ก็เป็นเครื่องมือใช้เป็นแรงจูงใจ (แบบลบ)ให้พ่อแม่เปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ

จากนั้นพิธิกรค่อยบอกว่านอกจากจะหน้าตาแบบนี้แล้วยังเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง จะมีผลต่อการเรียนรู้ยังไง จะมีอายุยืนประมาณกี่ปี ฯลฯ 

พอปิดเครื่องฉายสไลด์ พิธีกรก็เรียกน้องสองคนนี้เข้ามาในห้องด้วย มาคุยกันทั้งครอบครัวว่าเราควรจะทำอย่างไรกันต่อไปดี

ก็มีกฎ (golden rules) แค่ 3 ข้อ คือ

  1. ลดทีวี (เด็กๆบอกว่าจะพยายาม แต่ไม่รู้จะทำได้เปล่า)
  2. นอนตื่นเป็นเวลา (พ่อแม่ทำหน้าเหมือน เซ็งๆว่าจะทำได้ไง)
  3. พ่อแม่ต้องเลิกบุหรี่ (ตอนนี้น่าสนใจมาก เพราะพอพิธีกรพูดจบเด็กร้อง เย้แล้วก็กระโดโลดเต้นดีใจที่พ่อกับแม่ต้องเลิกบุหรี่ พิธีกร งงแกมดีใจ เพราะผลการทดสอบระดับนิโคตินในร่างกายน้อง 2 คนนี้ นั้น น่ากลัวมาก ค่านิโคตินสูงเท่ากับคนที่สูบบุหรี่เอง ปีละ 120 มวน)

_________________________________

รายการนี้ก็สอนและติดตามผลเป็นรายอาทิตย์ว่าดีขึ้นไม๊ สิ่งที่น่าสนใจคือนิสัยที่ดูเหมือนจะแก้ยาก บางอย่างไม่ยากอย่างที่คิด เช่น การทำให้เข้านอนเป็นเวลา นั้นแค่ให้แม่อ่านหนังสือก่อนนอนให้ลูกฟัง วันแรกใช้เวลาครึ่งชม.ก็หลับ วันต่อๆมาก็ใช้เวลาน้อยลง แถมแม่ได้ใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้นด้วย

เรื่องดูทีวีให้น้อยลง ก็เหมือนจะยาก แต่เด็กไม่ได้ติดทีวีเท่าที่คิด เค้าแค่ไม่มีอย่างอื่นทำมากกว่า ทางรายการแนะนำว่าให้ลองเปลี่ยนเป็นอ่านหนังสือมั่ง โดยไม่ใช่หาหนังสือมาให้อ่านที่บ้าน แต่ทางรายการแนะนำให้พ่อแม่พาลูกไปห้องสมุดสาธารณะแล้วไปอ่านด้วยกัน  (ก็เป็นการสร้างกิจกรรมร่วมกันอีกแบบหนึ่ง)

  • พูดกันง่ายๆคือรายการนี้ใช้การชักจูงโดยอ้างว่า "ทำเพื่อลูก"
  • แต่ผลไม่ได้เกิดกับลูกเท่านั้น พ่อแม่ก็เปลี่ยนนิสัยไปด้วย

_________________________________

3 อาทิตย์ผ่านไป แม่พาโจไปว่ายน้ำ พ่อพาแบรดลี่ไปเดินในสวนสาธารณะ แทนที่พ่อกับแม่จะเลิกงานแล้วก็กลับมากินข้าว ล้างจาน แล้วก็นั่งพักบนโซฟา สูบบุหรี่ดูทีวีจนถึงเวลานอน  การ "ทำเพื่อลูก" ก็เปลี่ยนพฤติกรรมพ่อแม่ไปได้ด้วย

_________________________________

พอครบ 3 อาทิตย์ พิธีกรก็เรียกพ่อกับแม่เข้ามาอีกที โดยการให้กำลังใจ ให้ reinforcement ทางบวก โดยการนำรูปของน้องสองคนแบบ หล่อๆมาให้ดูมั่ง ว่าถ้าสามารถคงนิสัยใหม่ๆเหล่านี้ได้นั้น น้องสองคนขดหน้าตาแบบนี้ .... พ่อแม่อมยิ้มกันใหญ่เลยค่ะ

_________________________________

  • นี่ก็เป็นตัวอย่างการส่งเสริมสุขภาพแบบหนึ่ง
  • ไม่รู้จะได้ผลระยะยาวไม๊ เป็นการสร้างภาพให้สนใจเรื่องสุขภาพแบบผิวเผินรึเปล่า เวอร์เกินไป ไม่สมจริงรึเปล่า
  • แต่ก็เอามาเล่าสู่กันฟังว่านี่คือการพยายามใช้สื่อให้เป็นประโยชน์แบบหนึ่งค่ะ 
  • ปล. รายการนี้มี version อเมริกา กับ ออสเตรเลียด้วยค่ะ ของ US edition อยู่ช่อง Learning Channel ของออสซี่อยู่ช่อง Network Ten
หมายเลขบันทึก: 56280เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เด็กๆสมัยนี้จะเป็นอย่างนี้นะคะ 
  • โดยเฉพาะเด็กในเมือง 
  • บ้านครูอ้อยเป็นแฟลต 
  •  เห็นบ่อยและเคยชินกับการที่พ่อแม่ทอดทิ้งลูก 
  • ปล่อยให้อยู่ตามยถากรรม  และเป็นอย่างที่โพสต์มาทุกประการ

ครูอ้อยอยู่ที่โรงเรียนก็เคยถามนักเรียน

สอดแทรกให้ข้อคิดให้เขาได้เปรียบเทียบสิ่งใด  และไม่ดี สิ่งใดควรปฏิบัติและสิ่งใดไม่ควรปฏิบัติ

 แต่นักเรียนก็อยู่กับครูอ้อยวันละไม่กี่ชั่วโมงเองค่ะ

ครูอ้อยเร็วมากค่ะ ยังuploadบันทึก อันที่แก้แล้วไม่เสร็จเลย ครูอ้อยก็แวะมาทักทายแล้ว : )

ขอบคุณมากค่ะ ใช่เลยค่ะ เวลาที่เด็กไม่ได้อยู่โรงเรียนก็มีความสำคัญมากมาย 

นี้ตอนเปิดทีวี ว่าจะดูรายการทำกับข้าวแป๊บๆแล้วเข้านอน ดันมาเจอรายการนี้ เลยดูไป เขียนบันทึกนี้ไป ไม่ได้นอนซักที เริ่มง่วงแล้วค่ะ : P

ขอตัวไปนอนก่อนนะคะ  ราตีสวัสดิ์ค่ะ :  )

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เป็นรายการที่น่าสนใจมากครับ..ให้เห็นรูปภาพแบบนี้ มีผลอย่างมากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เพราะหลายครั้งที่เราให้ สุขศึกษา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องหาวิธีการรณรงค์ต่างๆเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตระหนัก

ให้เห็นโลงศพก่อนดีกว่าครับ จะได้หลั่งน้ำตาคิดที่จะแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจริงๆจังๆเสียที 

ขอบคุณบันทึกดีๆนะครับผม 

รายการนี้น่าจะมีในเมืองไทยนะครับ ผมว่าเมืองไทยสมัยนี้โดยเฉพาะในกรุงเทพก็เป็นเหมือนเมืองนอกเลยครับ ครอบครัวไม่มีเวลาให้กัน

อาจารย์คะ

 

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ มีประโยชน์มาก จะไปต่อยอดในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรของคณะค่ะ

ยินดีค่ะ ขอบคุณทุกคนเลยค่ะ ที่แวะมา

ยิ่งถ้าช่วยกันนำไปต่อยอด ยิ่งน่าดีใจใหญ่เลยค่ะ   

กฎ (golden rules)

  1. ลดทีวี
  2. นอนตื่นเป็นเวลา
  3. พ่อแม่ต้องเลิกบุหรี่

******************

ข้อสุดท้าย หญิงไทยมักไม่สูบบุหรี่(หนัก)

เชียร์อีกให้เขียนส่งนิตยสาร (เผยแพร่)

ข้อสุดท้ายเปลี่ยนเป็นเล่นกีฬา หรือ ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งครอบครัวสักอย่างที่มีประโยชน์ ;P

สวัสดีค่ะ

เพิ่งเริ่มเข้ามาอ่านค่ะ ดีมากเลยค่ะ ต้องติดตามตอนต่อไปแล้วหล่ะ มีประโยชน์ค่ะ บางครั้งเราก็ลืมให้เวลากับเด็ก เข้ามาอ่านแล้วทำให้ต้องสนใจเขาให้มากขึ้น

ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดี ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท