เมื่อได้เรียน Self-management กับ Dr.Pop


       เป็นโอกาสดีๆที่หาได้ไม่ง่ายในชีวิต วันนี้ถือว่าไม่ถูกลอตเตอรีรางวัลที่หนึ่ง แต่ได้เรียน Self-management ก็สุขใจแล้ว จึงร้อนวิชาอยากนำมาเขียนเพื่อแบ่งปันความรู้ร่วมกันค่ะ .....วันนี้ได้อาวุธใหม่เพิ่ม มาใช้ในการทำงาน อีกแล้ว 

     ก่อนจะกล่าวถึง Self-management ต้องขอทบทวนถึงรากของทฤษฏีทางจิตวิทยาสักหน่อยค่ะ คำศัพท์แรกที่จะไม่เกริ่นถึงก็ไม่ได้คือคำว่า Self-efficacy คือ การรับรู้ถึงศักยภาพของตัวเราเองนั่นเอง

 

credit : http://empoweredbusinesswoman.com/overcoming-low-self-esteem/

 

     Albert   Bandura   นักจิตวิทยาชาวแคนาดาเขาได้คิดค้น Self-efficacy theory โดยพัฒนามาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม  (Social learning theory) ถ้าเทียบกันกับทฤษฏีของ Maslow นักจิตวิทยาอีกท่าน ก็จะเทียบเท่าขั้น Self actualization เป็นขั้นที่ต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต


credit : http://awritespot.wordpress.com/tag/maslows-hierarchy-of-needs/

       

        ปัจจุบันการดูแลคนไข้ที่ต้องรักษาแบบยาวนาน เรื้อรัง ต้องมีการพิจารณาโปรแกรมของเราร่วมด้วย เพื่อเป็นการประเมินผลการรักษาว่าได้ผลดีหรือไม่ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดย่อมคาดหวังว่าผู้รับบริการจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of life) และ มีสุขภาวะ (Well being) มากขึ้นด้วย

ในการเพิ่ม Self-efficacy ให้กับผู้รับบริการ จะต้องให้ความสำคัญกับ

1. Symptom management การพิจารณาเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาใช้กับผู้รับบริการ เช่น CBT (Cognitive behavior therapy)

2. Consequence management เลือกใช้โมเดลการรักษา เช่น Recovery model เพื่อช่วยสร้างความหวังและพลังในการดำเนินชีวิตและทำสิ่งต่างๆ

3. ICF or Activity management การใช้กิจกรรมต่างๆเป็นเครื่องมือในการรักษา หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

            3.1 Unstructured activity กิจกรรมที่ไม่มีโครงสร้าง ....ข้อสังเกตกิจกรรมลักษณะนี้ คือมีการ force (ฝืนใจ) กันสักเล็กน้อย ผู้ทำอาจจะรู้สึกไม่ค่อยมีอิสระ ถึงแม้จะได้ทำงานอิสระ เช่น ให้ระบายสีอะไร แบบไหนก็ได้ที่อยากทำ 

            3.2 Semi-structured activity กิจกรรมกึ่งโครงสร้าง ถึงจะมีการเตรียมอุปกรณ์ให้ แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ทำมีโอกาสเลือก ตัดสินใจเอง

            3.3 Structured activity กิจกรรมที่มีโครงสร้าง มีรูปแบบ วิธีการ อุปกรณ์ที่ผู้บำบัดเตรียมให้....และต้องอาศัยแรงจูงใจในการทำ

            3.4 Potential structured กิจกรรมที่อาศัยความรับผิดชอบ (responsibility)

       ในการเพิ่ม Self-efficacy จึงต้องมีการทบทวนตนเอง ประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย ที่เรียกว่า Self-determination ฉะนั้นการทำกิจกรรมทุกครั้งต้องมีการประเมินทั้งตัวผู้รับบริการเอง คะแนนจากนักบำบัดและครอบครัวของผู้รับบริการก็เป็นตัวชี้วัดได้ด้วย จากคะแนน 0-10 เช่น ผู้รับบริการให้คะแนนผลงานตนเอง 7 เต็ม 10

ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นค่ะ

กรณีศึกษา น้อง ป น้องสามารถช่วยงานที่บ้าน เป็นงานออฟฟิศ เช่น ถ่ายเอกสาร ทำลายเอกสาร ส่งแฟกซ์ คิดเงิน ....แต่ชอบนอนมากกว่า ...อันนี้น้องบอก

           ใน session น้องมาห้องกิจกรรมบำบัดด้วยอารมณ์หงุดหงิด ให้คะแนนตนเอง 4/10 รู้สึกอารมณ์ไม่ดีที่ถูกปลุกมาเรียน หลังจากนั้นนักบำบัดให้น้องฝึก breathing exercise ....encourage น้อง จากงานศิลปะที่ชอบ เป็นกิจกรรมภาพปะติดจากลูกปัดและกากเพชร น้องได้เลือกสีเอง นักกิจกรรมบำบัดเสนอสีที่ชอบสองสี ลงมือทำเอง น้องหยุดทำเป็นช่วงๆ ต้องช่วยกระตุ้น ชม และเชียร์ให้ทำเพิ่ม น้อง ป ให้ความร่วมมือได้จนจบกิจกรรม หลังจากจบกิจกรรมวันนี้น้องได้จดบันทึกสิ่งที่ทำลงในสมุด นักกิจกรรมบำบัดถามว่าครั้งหน้าอยากทำกิจกรรมอะไรเป็นพิเศษไหม? น้องเลือกวาดรูปการ์ตูน จบกิจกรรมถามน้องว่าเป็นอย่างไรบ้างวันนี้ น้องตอบสะบายใจ ให้ลองให้เป็นคะแนน น้องให้คะแนน 8/10   

 

ขอขอบคุุณที่แวะมาอ่านค่ะ ^ ^

หมายเลขบันทึก: 560937เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2014 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2014 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณอาจารย์เปิ้ลที่มาติดตามกันตลอดค่ะ ^ ^

-สวัสดีครับอาจารย์

-น่าสนใจนะครับ

-กิจกรรมแบบนี้.ถือเป็นเรื่่องใหม่ที่น่าสนใจครับ

-ขอบคุณ/จะติดตามอ่านบันทึกนะครับ

ขอสาธุด้วยค่ะ จากรูปนี้ ....ขอบคุณมากจริงๆค่ะ คุณเพชรน้ำหนึ่ง และครอบครัว น่ารักเสมอ ^ ^

ชอบมากคับ รูปนี้...ทำยังไงจะได้มองตัวเองเป็นราชสีห์...อยากเป็นบ้างคับ

ปัจจุบันมองเห็นตัว เป็นแมวตัวเล็กๆๆ และก็ดำอีกต่างหาก

สวัสดีค่ะคุณยง ค่อยๆมองหาข้อดีในตัวเรา....สำรวจ ดิฉันเชื่อมั่นว่าต้องมีสักอย่างล่ะที่คุณยงมี เราค่อยๆเพิ่มศักยภาพของเราที่ละน้อยๆ แต่ไม่ต้องกดดันและคาดหวังจนเครียด ^ ^ .....สู้ๆนะคะ เราทุกคนมีคุณค่าค่ะ การที่คุณยงแวะมาติดตามก็เป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราไม่น้อย....ขอบคุณมากนะคะ

ดีจังเลยครับ

บันทึกเรื่องน่าอ่านมากเลยครับ

สบายดีไหมครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ พี่ขจิต สะบายดีค่ะ .....นับถอยหลังวันเสวนาที่ สสส. 555 กะว่าจะไปขอเมล็ดผักมาปลูกสักหน่อยค่ะ (ถ้ามีเหลือค่า) ^ ^

เยี่ยมมากครับอาจารย์น้องแอน ขอให้มีความสุขกับการเปิดรับความรู้ใหม่นะครับผม

ขอขอบคุณอาจารย์ป๊อปด้วยค่ะ ที่สละเวลาสอนทั้งๆที่งานยุ่งมากค่ะ ....รอเป็นลูกศิษย์ เรียน CBT และ NLP ต่อนะคะ

^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท