ยังจำน้องลีเล่าได้ อยากรู้เรื่องกาแฟแบบสรุปให้ไปที่ร้าน (กาแฟอาข่าอาม่า) อยากรู้นาน ๆ แบบละเอียดต้องไปที่บ้านบนดอย
ไม่รับนัดมาแล้วครั้งหนึ่ง เพราะเข้าใจผิดเรื่องปี ลีคิดว่าพี่ฝนนัดปีที่แล้ว ซึ่งติดงานอื่นแล้ว
เปล่าเลย พี่ฝนหนองบัวลำภูเองก็ต้องนัดคิวล่วงหน้าเป็นปี ที่นัดตั้งแต่ปีกว่าโน้น หมายถึงนัด ๒๑ – ๒๓ มกราคม ปี ๒๕๕๗ นี้แหละ
เอาละ .... เคลียร์ตารางงานเรียบร้อย ลาพักผ่อนประจำปีสบายใจ
เก่า ๕ คน รู้จักกันมาก่อน ตั้งแต่ ๕ – ๒๖ ปี (ดีใจนะเนี่ย ยังมีเพื่อนคบ) ใหม่เอี่ยม ๒ คน
แต่ต้นอ้อรู้จักพี่หมอและคุณครูมาก่อนแล้ว .... ต่างสนใจเรื่องราวของ Akha Ama Coffee
^_,^
น้องลีหน้าตาสดชื่นเหมือนเดิม เดินนำไปขึ้นรถ VIP คนพิเศษจึงได้ร่วมทริปนี้ รวม ๘ คน
แวะร้าน Akha Ama Coffee สาขา ๒ ถนนราชดำเนิน
ห่างประตูวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ในเวลาเดินไม่เกิน ๓ นาที
พี่ ๆ สายวัดไม่รอช้า ลิ่ว ๆ เดินนำกราบพระพุทธสิหิงค์
กลับมาฟังลีเล่าการคั่วกาแฟจาก “เมล็ดกาแฟสาร” อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ เหมือนข้าวสารนั่นแหละ
น้องลีก็ยังขวนขวายไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้ บินไปเรียนเพิ่มที่ Portland อเมริกา
เจาะจงเลือก Stumptown Coffee Roasters กลายเป็นว่า เขายินดีที่น้องลีให้เกียรติเลือกไปเรียนด้วย
แล้วก็ใช้ศาสตร์จากที่นั่น มาสร้างสรรค์ด้วยศิลป์เพิ่มเติมในการคั่วกาแฟที่เชียงใหม่นี่
เรียนรู้ศาสตร์อีกหลายด้าน การออกแบบร้าน ก่อสร้าง ขออนุญาต เรียนรู้ขั้นตอนการทำธุรกิจ การให้เกียรติ ผูกใจพี่น้องร่วมทีม ร่วมความรู้สึกการเป็นเจ้าของ
กว่าจะเป็น Mocca ร้อน ๆ หอมกรุ่น สวยงาม ให้เราค่อย ๆ ละเลียด กระตุ้นความสดชื่นกระปี้กระเป่า
ทีม Barista ขมักเขม้นพัฒนาฝีมือการเตรียมส่วนประกอบ การชงตามมาตรฐาน และสร้าง Style ของตนเอง .... ไม่หยุดนิ่ง
หน้า้ร้าน ตกแต่งจำลองของใช้จากอาข่า กองฟืนเชื้ิอเพลิงสำคัญยามหน้าหนาวและก่อไฟทำอาหาร
รูปคุณแม่น้องลียังเด่นเป็น Logo ร้าน สื่อความ "แม่" ผู้ให้กำเนิด
เราทุกคนต่างมีที่มา มีรากเหง้า อยู่ที่เราจะเลือกเดินทางอย่างไร
เปรี้ยว ขม หวาน กลมกลืนพอเหมาะ .... ตามชอบ ตามอารมณ์ และตามเคยชิน หรือลองสิ่งที่แปลกใหม่
ชนิดกาแฟ การคั่วอ่อน กลาง เข้ม ไหม้ บวกเคล็ดลับสูตร วิธีการชง .... ให้รสชาติที่ต่างกัน
ไม่หยุดนิ่ง พัฒนาการคั่ว แรงดัน ปริมาณแกส ระยะเวลาที่แตกต่าง ให้ผลต่อรสชาติและกลิ่น
^_,^
ก่อนบรรจุถุงใหญ่นำส่งที่ร้านเชียงใหม่ "กะลาสีขาว" ถูกสีออกมาตากแห้ง คนที่อยู่บ้านจะคอยเกลี่ยกลับทางไปมาให้ถูกแดดทั่วถึง
เครื่องสีมีน้ำเปิดใส่ตลอดเวลา น้ำท่าที่นี่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำกรองส่งตามท่อ สะดวกมาก
^_,^
วันหนึ่ง ชาวสวนกาแฟปกติเคยเก็บได้ ๙๐ กิโลกรัม
ครึ่งวัน กว่าคนงานพิเศษอย่างพวกเราจะเก็บรวมกันได้ไม่ถึง ๒๐ กิโลกรัม
เฮ้อ !!!!! ไม่ถึง ๓๐ กิโลกรัม ที่น้องลีจะให้รางวัลได้ชิมกาแฟ Drip & drop กันสด ๆ ดื่มทันใด
ลุ้น ๆ ๆ ๆ
คนนี้ แม้จะพูดเยอะให้เพื่อนตลก แต่ก็เก็บได้มากโข
คุณครู Kumon คนขยัน ใฝ่เรียนรู้จากการลงมือทำ ใช้ทั้งสองมือ เก่งมาก ๆ
เรียนรู้พร้อม ๆ กัน ต่างที่วิธีเรียนรู้ของผู้เรียน
จากเม็ดเชอรี่สีแดงคล้ำ คือบ่งว่าสุกแล้ว แกะออกเห็นสีขาว เรียกว่า "กะลา" อาจมีเมล็ดได้ ๑ - ๓ เมล็ด
ชิม เพื่อให้รู้รสหวานของน้ำตาล สุกมากหวานมาก สุกน้อยหวานน้อย
สุกดีจะปลิดออกจากขั้วง่าย ไม่มีขั้วติดออกมาจะดีกว่า ไม่ฉีกขาดทำอันตรายต่อต้นกาแฟ
เลือกต้นเมล็ดสีแดงคล้ำเป็นส่วนใหญ่ เลือกเก็บจะได้คุณภาพระดับ premium
ทะนุถนอม หล่นพื้นต้องรีบตาม กว่าจะเติบโตเริ่มให้ผล ๔ ปี และต้องตัดแต่งกิ่งทุก ๆ ๕ ปี
มีความเย็นเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ทำอันตรายชะงักการเติบโต ลูกกรอบสีดำเสียหาย เก็บไม่ได้คุณภาพ
กว่าจะฟูมฟักในโรงเรือน ๒ ปี จึงนำมาปลูกได้
ต้นกล้ากาแฟ ต้นกล้าเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ลี อายุ จือปา นึกถึงความสุขผู้อื่น ความสุขของคนดื่มกาแฟ
ความสุขของครอบครัว ความสุขเพื่อนพี่น้องชาวบ้าน ความสุขคนแม่จันใต้ ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ความสุขเพื่อนอาข่า ความสุขของคนไทย
Akha Ama Coffee กาแฟของคนไทย
^_,^
โปรดติดตามตอนต่อไป ครั้งแรกในการบด Drip & drop จนได้ชิมกาแฟแท้ ๆ ด้วยมือเราเอง
และอาหารการกินฝีมือคุณแม่น้องลี .... สุดยอด
ราตรีสวัสดิ์ก่อนนะคะ
^_,^
ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ ที่นำชมและเรียนรู้เรื่องกาแฟ จากร้านถึงไร่กาแฟ เรียนรู้ทั้งการเก็บผล การคั่ว การชงกาแฟ ที่เป็น "มื้อเช้า" ของไอดินฯ เรื่องใกล้ตัวแต่ไม่เคยเรียนรู้ลึกแบบนี้มาก่อน
ชื่นชอบวิถีชีวิตส่วนตัวของคุณหมอ และขออนุญาตนำไปอ้างอิงในบันทึกต่อไปด้วยนะคะ กำลังเตรียมต้นฉบับค่ะ