ยางพารากับปัญหาการเมือง


การเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นราคายางพาราให้เท่ากับ 110 – 120 บาท ของเกษตรกรชาวสวนยางเริ่มยกระดับเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ล่าสุดอ้างว่าจะให้เกษตรกรชาวสวนยางไปเยี่ยมชมสนามบิน ไปดูเครื่องบินโดยอ้างว่าเกิดมายังไม่เคยเห็นเครื่องบิน  และไม่รับประกันระหว่างทางที่จะกลับบ้านนั้นจะปิดถนนหลักที่จะขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ-ภาคใต้หรือไม่ ต้องรอดูรัฐบาลว่าจะตอบสนองต่อการเรียกร้องหรือไม่ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องทบทวนและรีบพิจารณาอย่างหนักหน่วงที่สุดอยู่เหมือนกัน เพราะมีมาตรฐานที่ทำไว้กับชาวนาในมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด ในราคา 15,000 บาท

ความจริงในเรื่องนี้ถ้าเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรเพียงอย่างเดียวก็น่าจะรับฟังอยู่เหมือนกัน แต่ถ้ามีการแทรกแทรงบิดเบือนและใช้เกษตรกรเป็นหุ่นเชิดก็น่าเป็นห่วง เพราะเท่ากับเป็นการเล่นการเมืองไม่เลิก ไม่แยกแยะ ความเดือดร้อนของเกษตรกรเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง เพราะข้าวของสินค้าค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้นก็เพิ่มสูงขึ้นอยู่ทุกเมือเชื่อวัน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าต้นทุนที่แท้จริงของราคายางหนึ่งแผ่นนั้นอยู่ที่ประมาณเท่าใด รัฐบาลควรจะต้องเร่งหาคณะกรรมการเพื่อหาปริมาณต้นทุนที่แท้จริง เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพี่น้องเกษตรกรให้ได้ ว่าราคาที่รัฐบาลจัดให้ในราคา 80 บาทนั้น เกษตรกรชาวสวนยางจะคงดำรงชีพอยู่ได้จริงหรือไม่ เพราะว่าชาวสวนยางในปัจจุบันก็ใช่ว่าจะมีอยู่เฉพาะที่ภาคใต้เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันก็ปลูกกันเกือบทั่วประเทศแล้ว เพียงแต่ตอนนี้ก็ควรจะต้องออกมาดูแลม๊อบทางภาคใต้ให้มากสักหน่อย เพราะรู้สึกว่าจะมีอยู่ที่เดียวที่ยังรับไม่ได้กับมาตรการที่รัฐบาลนำเสนอ

ราคายางพาราในปัจจุบันที่อิงพิงราคากับตลาดโลกจะอยู่ที่ประมาณ 70 บาทต่อกิโลกรัม บวกกับมาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐในอดีตที่ผ่านกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางนั้น ช่วยให้เกษตรเพาะปลูกโดยที่ไม่ต้องควักเงินทุนของตนเองอยู่มากในระดับหนึ่ง ด้วยการใช้งบประมาณจากกองทุนสงเคราะห์สวนยาง และปัจจุบันรัฐบาลใช้มาตรการช่วยเหลือโดยสร้างโรงบ่มเพิ่มแปรรูปยางพาราให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก แต่ไม่แน่ใจว่าจะตรงกับความต้องการของพี่น้องบเกษตรกรผู้ปลูกยางหรือไม่  ดังนั้นเพื่อให้รัฐบาลไม่อยู่บนเงื่อนไขของการอ้างว่าสองมาตรฐานกับพี่น้องเกษตรกร ควรทำการวิเคราะห์ วิจัยต้นทุนการปลูกยางพาราว่าราคาต้นทุนที่เป็นจริงนั้นอยู่ที่ระดับใด และเปรียบเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบันนั้นชาวสวนยางสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หรือไม่ และค่อยขยับขยายถ่ายเทปัญหาให้คลี่คลายไปกับสถานการณ์โลก ที่คาดว่าในอนาคตราคายางน่าจะดีขึ้นกว่านี้อย่างแน่นอน

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555654เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท