น้ำยางพาราลดน้อยถอยลง (ทู้กวัน) จะแก้ไขอย่างไร???


สวัสดีครับท่านสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกท่าน และโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรปลูกยางพารา ท่านเคยประสบพบปัญหาในเรื่องน้ำยางที่ลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย ทีละน้อย.. กันบ้างไหมครับ ถ้าตอบว่ากำลังประสบพบปัญหาอยู่พอดี ก็ให้ทราบไว้เลยนะครับว่า ต้นยางพาราของท่านกำลังอยู่ในภาวะอ่อนแอ เครียด จากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถูกใช้สารเร่งน้ำยาง, การถูกทำลายจากโรคเชื้อราหรือศัตรูพืช หรือส่วนมากเลยก็จะเป็นเรื่องของการขาดแคลนแร่ธาตุสารอาหารที่มีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตจากพฤติกรรมการใส่ปุ๋ยที่น้อยเกินไป หรือใส่แต่เพียงปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว หรือสภาวะความเป็นกรดและด่างของดินไม่เหมาะสม เมื่อต้นยางประสบพบกับปัญหานี้ก็จะทำให้เกิดความเครียดมากบ้างน้อยบ้าง ตามสภาพปัญหาที่ต้นยางนั้นได้เจอ ยิ่งมากภาวะความเครียดก็จะทำให้ต้นยางหลั่งสารเคมีที่เป็นกรดออกมามากจนทำให้น้ำยางภายในลำต้นแข็งตัวเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทได้น้อย สภาวะความเป็นกรดที่มากในโครงสร้างของลำต้นนี้ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ต้องไปถามเกษตรกรที่ปลูกและกรีดน้ำยางนำมาทำแผ่น หลังจากได้น้ำยางมาเทใส่กระบะ และใช้กรดมด (น้ำยาฆ่ายาง) ราดรดลงไปในกระบะน้ำยางก่อนที่จะนำไปรีดตีให้เป็นแผ่น น้ำยางในกระบะจะแข็งตัวเป็นก้อนทันหลังที่มีกรดเข้าไปผสมไม่นาน ก็จะคล้ายๆกันครับ คือมีความข้นหนืดมากขึ้น ยิ่งต้นยางอ่อนแอมาก น้ำยางก็ยิ่งไหลได้น้อย

เมื่อเกษตรกรพบกับปัญหานี้ต้องรีบทำการทบทวนวิเคราะห์อย่างเร่งด่วนว่า ต้นยางของเรากำลังมีปัญหาจากสาเหตุใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคแมลง ขาดแคลนสารอาหาร หรือความเครียดจากการใช้สารเร่งน้ำยาง หรือในกรณีใดกรณีหนึ่งล้วยที่จะสร้างความเครียดให้แก่ต้นยางได้ทั้งสิ้น เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และตรงกับสาเหตุของปัญหา ถ้าพบว่าเกิดจากปัญหาในเรื่องของเชื้อโรค แนะนำให้ใช้เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า หรือบีเอสพลายแก้ว ในอัตรา 50 – 100 กรัม ร่วมกับ โปติเกส (โพแทสเซียมซิลิเกต) 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสเปรย์หรือทาหน้ายางทุก 7 วัน ประมาณ 3 ครั้ง หน้ายางก็จะกลับมาสู่ภาวะปรกติ (คือหายป่วยไม่เป็นโรค) และค่อยๆทยอยให้น้ำยางออกมาได้ตามปรกติ โดยที่จะต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ต้นยางนั้นจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีพลังเพียงพอในการสร้างน้ำยางและการเจริญเติบโตที่เป็นไปแบบธรรมชาติด้วยนะครับ

แต่ถ้ามีปัญหาในกรณีที่เกิดจากการใช้สารแปลกปลอมที่ทำลายตันยางและอาชีพสวนยางในระยะยาวอย่างการใช้สารเร่งน้ำยาง ก็ควรจะต้องทบทวนและรีบหยุดกระทำทันทีครับ เพราะการกระทำในลักษณะนี้จะทำให้ต้นยางมีอายุที่สั้นลง และทรุดโทรมตายลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้อาชีพเกษตรกรสวนยางนั้นไม่ยั่งยืน เพียงเพาะเรารีบเร่งที่จะให้ได้น้ำยางมากๆ ในตอนนี้แบบทันทีทันใด การทะนุถนอมบำรุงต้นยางและกรีดเอาน้ำยางแบบค่อยเป็นค่อยไปจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับต้นยาง อีกกรณีหนึ่งที่ทำให้น้ำยางให้ผลผลิตออกมาน้อยคือสภาพของต้นยางอ่อนแอไม่สมบูรณ์จากการับแร่ธาตุสารอาหารที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะธาตุอาหาร N P K (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องให้ความสำคัญค่อนข้างมาก เกษตรกรบางท่านใส่เพียงเล็กน้อย ต้นละไม่ถึงหนึ่งกำมือ หรือบางท่านให้แต่เพียงปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียวด้วย ต้นยางก็จะมีสารอาหารไม่เพียงพอไปผลิตน้ำยางออกมา เพราะจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องแร่ธาตุและสารอาหารให้มากๆ นะครับ ด้วยการดูและสังเกตจากสภาพต้นและสีของใบ ถ้ามีอาการ สลด ห่อ เหี่ยว ซีด เหลือง ควรต้องเพิ่มปริมาณอาหารเข้าไปอีก การใช้หินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (Zeo Platinum PumishSulpher) จะช่วยทำให้ต้นยางได้รับธาตุฟอสฟอรัส ธาตุรองและธาตุเสริม อีกทั้งยังมีแร่ธาตุซิลิก้าทำให้เซลล์ของหน้ายางแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานในการเข้าทำลายของเชื้อรา

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555647เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท