นักศึกษาปริญญาโท
Mr. นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรและการสอน

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น


สัมมนาการนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการศึกษาไทย
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ   การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการศึกษาไทย   ขอบพระคุณมา ณ. โอกาสนี้ 
         
วัตถุประสงค์
     1.  เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาไทยในอนาคต
     2.  เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้จาก Blog ไปปรับใช้ได้
หมายเลขบันทึก: 55509เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ปูค่ะ 

   พี่ๆค่ะ  หนูหาข้อมูลเกี่ยวกับ e-Learning  มาแจมนะค่ะ   ไม่ทราบว่าพอจะเป็นประโยชน์บ้างหรือป่าวหรือบางทีอาจจะเป็นข้อมูลที่พี่ๆมีอยู่แล้วก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ

    การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

  • การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
  • การนำเสนอในลักษณะ E-Learning

     WBI เป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเว็บเพจเป็นสื่อในการนำเสนอ และเป็นรูปแบบที่ ได้รับการพัฒนาอย่างหลากหลายทั้งจากหน่วยงานและส่วนบุคคล ทั้งที่เป็นบุคลากรด้านการศึกษาโดยตรงและบุคลากรที่ไม่ใช่ครูอาจารย์แต่มีความสนใจเป็นส่วนตัว โดยสามารถแบ่งลักษณะของเนื้อหาที่นำเสนอได้ 3 รูปแบบใหญ่ คือ

  • Text Online เป็นลักษณะของเว็บไซต์ WBI ที่นำเสนอด้วยข้อความทั้งที่อยู่ในรูปของ Text หรือเอกสาร PDF หรือ PPT เพื่อให้ดาวน์โหลดไปเรียกดู เช่นเว็บไซต์
  • Low Cost Multimedia Online เป็นลักษณะของเว็บไซต์ WBI ที่นำเสนอด้วยสื่อต่างๆ ทั้งรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว ตลอดจน Flash แต่ยังไม่มีระบบสมาชิก และWeb Programming ควบคุม เช่นเว็บไซต์
  • Full Multimedia Online จัดเป็น WBI ที่ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย รวมทั้งการใช้ Web Programming มาควบคุมการนำเสนอ เช่น ระบบสมาชิก, ระบบทดสอบและรายงานผล แต่ยังขาดระบบติดตาม, ตรวจสอบและรายงานผลการใช้งานและบริหารจัดการเนื้อหา (Course/Learning Management System: CMS/LMS) เช่นเว็บไซต์
  • E-Learning

    เทคโนโลยีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ล่าสุดที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด และหลายๆ หน่วยงานในประเทศไทยต่างก็สนใจที่จะนำมาพัฒนาเป็นระบบการเรียนการสอนของหน่วยงานนั้นๆ โดยเป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI และเพิ่มเติมระบบจัดการ/บริหารหลักสูตรและการเรียนรู้(Course/Learning Management System: CMS/LMS) เข้ามาเพื่อให้สามารถบริหารเนื้อหาและติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน
    สำหรับประเทศไทย มีการพัฒนา e-Learning จากหน่วยงานใหญ่ๆ 3 หน่วยงาน ได้แก่

    • e-Learning ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อโครงการ ChulaOnline มี URL ในการเรียกดูคือ www.chulaonline.com โดยปัจจุบันเปิดบริการให้ความรู้หลากหลายวิชา ทั้งสำหรับนักศึกษาและบุคคลภายนอก

    • e-Learning ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อโครงการ NOLP มี URL ในการเรียกดูคือ www.thai2learn.com ปัจจุบันร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดบริการให้ความรู้ในวิชา English for Office Staff เว็บไซต์โครงการการเรียนรู้แบบออนไลนแห่ง สวทช. (NOLP : NSTDA Online Learning Project) www.thai2learn.com เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) - National Science and Technology Development Agency (NSTDA) โครงการมีหน้าที่ในการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และให้บริการการเรียนรู้รูปแบบใหม่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนจะเรียนผ่าน Web Browser ซึ่งจะเรียกการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ว่า "การเรียนรู้แบบออนไลน" มีความมุ่งหมายที่จะเป็นผู้นำศูนย์บริการทางการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาสื่อการสอนด้วยการนำคอมพิวเตอร์มาพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตและให้บริการ จึงถือเป็นการเรียนแบบออนไลน อีกทั้งยังได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน บุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและต้องการนำเอาความรู้ทั้งทางวิชาการ วิชาชีพและอื่นๆที่มีอยู่ มาพัฒนาและเผยแพร่ในระบบการเรียนแบบออนไลน ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของประชาชนโดยทั่วไป ปัจจุบันให้บริการวิชาภาษาอังกฤษ English for Office Staff และทีมพัฒนาได้ทำการออกแบบและพัฒนาระบบจัดการบริหารหลักสูตร ภายใต้ชื่อ "ระบบบริหารการเรียนแบบออนไลน์ (e-Learning Management System)" ขึ้นมาเอง

     

       และส่วนความคิดของหนูเอง   การใช้  ICT  ควบคู่กับการศึกษาไทยนั้นในยุคการศึกษาปัจจุบันนั้น   มีความจำเป็นอย่างมาก   ดูตัวอย่างที่พวกเรา  C  and I     5   ปฏิบัติ  และติดต่อกันอยู่ในขณะนี้ก็ผ่าน  เทคโนโลยี  ทำให้มีความสะดวกในการศึกษามากขึ้นแม้จะอยู่ห่างกันเพียงใด  แต่ก็สามารถแลกเปลียนเรียนรู้กันผ่านเทคโนโลยีได้  ฟ้ามิอาจกั้นพรมแดนการเรียนรู้ได้

          แต่เราก็ต้องใช้อย่างมีความรู้   มีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างที่สุด    ใช้เพื่อการศึกษาเรียนรู้อย่างแท้จริง

     

    สำหรับผมแล้วถือเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการที่ดีในการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาตลอดจนผู้ที่สนใจมากๆ...เราปฏิเสธเกี่ยวกับICTไม่ได้ ณ ยุคแห่งเทคโนโลยีที่เป็นอยู่นี้...ขอบคุณสำหรับWEBดีๆแบบนี้ที่ต้องการพัฒนาให้คุณภาพการศึกษาของคนไทยดีขึ้นกว่าเดิมแต่อย่างไรก็ดีการนำICTมาใช้ต้องให้เหมาะสมและเป็นไปในเชิงบวก..ขอบคุณครับ

    ร่วมแสดงความคิดเห็น...เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    แสดงความคิดเห็นการสัมมนาเรื่อง  นำ ICT  ไปพัฒนาการศึกษาอย่างไรจึงจะได้ผลรวบรวมและเรียบเรียง  โดย  นางสาวเสริมพร  บุญเลิศ****************************               กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education) คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา พ.ศ.2544-2553  ได้กำหนดไว้ 6  ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย               ยุทธศาสตร์ที่ 1  การบริหารนโยบายและการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ               ยุทธศาสตร์ที่ 2  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา               ยุทธศาสตร์ที่ 3  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์               ยุทธศาสตร์ที่ 4  การพัฒนาสาระทางการศึกษาแลพการสร้างความรู้               ยุทธศาสตร์ที่ 5  การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สาระการศึกษาเพื่อ                                           การเรียนรู้               ยุทธศาสตร์ที่ 6  การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้                 (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ 2544 :48-50)               ยุทธศาสตร์ที่นำเสนอข้างต้นบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลต่อกรบริหารจัดการศึกษามากขึ้น ประกอบกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545  หมวด 9  เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  มาตราที่ 63 ถึง 69  ซึ่งกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอน               (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2545 :10)               เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้กับการศึกษาไทย ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ด้วย(e-Leadership) มีภาวะผู้นำในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในสถานศึกษา ต้องมีความรู้ทางเทคโนโลยีในระดับดี และสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆไปใช้อย่างมีประสิทธิผล  ปัจจุบันการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ถูกนำไปใช้อย่างเพียงพอ และถูกนำไปใช้ตอบสนองความต้องการของสถานศึกษามากขึ้น               ปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยในภาพรวมถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง และปัจจัยที่สำคัญที่มีความชัดเจนคือ การขาดแรงผลักดันจากผู้บริหารของประเทศ (ครรชิต มาลัยวงศ์.2543 :ออนไลน์)  

     

    แลกเปลี่ยนความรู้เพิ่มเติมจ่ะ..

    แสดงความคิดเห็นเรื่อง  การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงเหมาะสมกับการศึกษาไทยโดย  นางสาวเสริมพร  บุญเลิศในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของเรามากขึ้นในทุกด้าน  แม้กระทั่งด้านการศึกษา  ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากเพิ่มขึ้น เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)  การสืบค้นต่างๆด้วยระบบคอมพิวเตอร์  การติดต่อสื่อสารไร้สาย  สิ่งต่างๆเหล่านี้มีประโยชน์ถ้านำมาใช้ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม  และมีโทษเมื่อผู้ใช้ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ตัวอย่างเช่น การนำภาพที่ไม่พึงประสงค์ตัดต่อและนำไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต  ทำให้เกิดความเสียหายในหลายฝ่าย  ถึงแม้มีการป้องกันแต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้การที่สถาบันการศึกษาต่างๆจะนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ทางด้านการศึกษา ต้องมีความพร้อมในหลายๆด้านเพื่อที่จะสามารถรองรับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมาได้  ซึ่งในการที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ต้องมีความพร้อมในด้านความรู้ในเทคโนโลยีนั้นๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง  และสามารถพัฒนาต่อให้เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้ สามารถเผยแพร่ได้  และที่สำคัญต้องมีจรรยาบรรณในการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงจะทำให้การนำเอา ICT มาใช้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่เห็นที่อื่นเขามีก็มีบ้าง แต่เมื่อเรานำมาใช้แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์ก็จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเปล่าๆทั้งนี้การนำเอา ICT มาใช้ในการศึกษาไทยในปัจจุบันมีความสำคัญมากและส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีต่างๆได้เป็นอย่างดี  ซึ่งต่างจากการศึกษาในสมัยก่อนมาก  ดังบทความที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา โดยที่สรุปใจความสำคัญและนำมาให้ทุกท่านได้อ่านดังนี้ บทความ เรื่อง  ในโลกของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากกระดานหิน ถึง Ipod”โดย รศ.ดร.สมศักดิ์  คงเที่ยงอาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มา : วารสารวิทยาจารย์.  ปีที่  105  ฉบับที่  10 ,สิงหาคม  2549, หน้า 40-43.********************************คำว่า  เทคโนโลยี  เป็นคำไทยทับศัพท์ ซึ่งได้ถูกหยิบยืมมาจากภาษาอังกฤษ คือ technologyโดยใช้คำออกเสียงเช่นเดียวกับคำไทย  ความหมายในพจนานุกรมไทยและอังกฤษให้ความหมายของคำนี้อย่างกว้างขวาง แต่มีใจความสำคัญที่ตรงกัน คือ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในอุตสาหกรรม หรือในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการใช้หลักวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตหรือการทำงานเทคโนโลยีนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเลยทีเดียว  เทคโนโลยีเกิดขึ้นจากความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการจะต่อสู้กับปัญหาต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น การศึกษาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของสังคม และการศึกษาเอองก็มีประวัติศาสตร์ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษย์เช่นกันคำว่า  การศึกษา  Education ในภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำที่มีความหมายที่ลึกซึ้งจนสามารถตีความหมายได้หลากหลาย แต่ความหมายของการศึกษาจากนักการศึกษาอย่างแท้จริง  คือการศึกษา  คือ การถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งและส่วนหนึ่งของความรู้ที่กล่าวถึง ก็คือ เทคโนโลยีในด้านต่างๆนั่นเอง  จึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลที่มนุษย์จะรู้จักนำเทคโนโลยีในแง่มุมต่างๆมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ เริ่มจากการที่มนุษย์รู้จักใช้หิน กระดูกสัตว์ หรือเศษวัสดุอื่นๆมาสลักรูปต่างๆบนแผ่นหิน ซึ่งเป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้อย่างพื้นฐาน ด้วยสื่อดังกล่าวมนุษย์ปัจจุบันได้เรียนรู้แนวทางการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตได้จากนั้นเทคโนโลยีการเขียนก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเรียนในระบบห้องเรียนได้เกิดขึ้นในสมัยกรีก(Greek) โดยการถ่ายทอดความรู้จากการสนทนา ถกเถียงกัน และการนำเสนอข้อความรู้ในรูปการวาดและเขียนตัวอักษรบนแผ่นหิน และได้ถูกพัฒนามาเป็นชอล์กบนกระดานดำ (Chalk and Black board) และปากกาหมึกเคมีลบได้บนกระดานขาว (White board and White board pen) จากนั้นปากกาและหมึกสร้างสรรค์ผลงานลงในกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า หนังสือโดยการคัดลอกจากต้นฉบับด้วยมือซึ่งใช้เวลามาก และได้พัฒนาจนเกิดเทคโนโลยีการพิมพ์ใน คริสศวรรษที่ 14-15  โดยกัตเทนเบอร์ก (Gutenberg) ซึ่งเป็นการปฏิวัติรูปแบบการศึกษาและเป็นต้นกำเนิดของการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้างด้วยสื่อ และได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่และทันสมัยที่สุดเสมอ  จากหนังสือเป็นวิทยุ  จากวิทยุเป็นโทรทัศน์  และเพื่อความคล่องตัวเทปเสียงและวีดีโอเทปได้ถูกนำมาใช้บันทึกรายการทางการศึกษาอย่างแพร่หลายช่วงปี ค.ศ.1970-1980  และมาถึง ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงจากโลกสื่อต่อเนื่อง (Analog media) มาเป็นสื่อระบบดิจิตอล(Digital) ด้วยการนำของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปี ค.ศ.1990บทเรียนต่างๆเริ่มถูกนำเสนอโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแผ่นบันทึกแม่เหล็ก(Floppy  disk)หรือแผ่นดิสค์(Disc) และในปี ค.ศ.2000 ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet) มีการสร้างบทเรียนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในรูปแบบการนำเสนอที่สามารถโต้ตอบระหว่างผู้ให้และผู้รับความรู้ได้ในทันที ในรูปแบบหน้าอินเทอร์เน็ต (Website) ที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้จากทุกที่และทุกเวลา  ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนาม “ e-learning ”  แต่ถึงกระนั้นผู้เรียนยังคงถูกจำกัดด้วยคุณสมบัติบางอย่างและขนาดของคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เกินความสะดวกที่จะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลา  ในปัจจุบันขณะที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาอย่างรวดเร็วคอมพิวเตอร์ก็ถูกสร้างให้มีขนาดเล็กลง และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลา  โยมีคุณสมบัติเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป  แต่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพิ่มเติม เช่น ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถทำงานได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเชื่อมต่อ               จากการสรุปประวัติศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างสังเขปข้างต้น  จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการนำเสนอได้ถูกนำมาทดลองใช้ในการศึกษาแทบทั้งสิ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่มีผู้นิยมใช้อยู่แล้วในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านการสื่อสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ เทป แผ่นดิสค์ในด้านการบันเทิง               สำหรับใน 2-3 ปีที่ผ่านมา  เทคโนโลยีเครื่องเล่น MP3 บน Hard disk หรือที่เรานิยมเรียกตามชื่อเครื่องเล่นในรุ่นและแบบที่นิยมที่สุดในชื่อ “ipod” เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการนิยมและการเพิ่มของจำนวนผู้ใช้อย่างสูงสุด  ซึ่งในตอนต้น ipod ถูกออกแบบโดยบริษัท Apple เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บและเล่นเพลงที่มีคุณภาพเสียงที่ดีและมีความจุสูง โดยเน้นที่ความบันเทิงเป็นจุดหลัก หลังจากที่ ipod ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อุปกรณ์และโปรแกรมเสริมต่างๆจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ ipod ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เช่น เทคโนโลยี  Podcast  ที่สามรถสร้างรายการวิทยุ หรือบทเรียนในเชิงสนทนาและเพื่อให้ผู้สนใจดึงข้อมูลมาฟังได้จากอินเทอร์เน็ต โดยจะเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของรายการ  และส่วนเสริมนี้เองที่ทำให้  ipod  ถูกมองว่าสามารถเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาได้เป็นอย่างดีในอนาคต               ในปีที่ผ่านมา  ipod  ที่เคยเป็นเครื่องเล่นเพลงจอขาวดำ ก็ได้พัฒนามาเป็นสามรถบันทึกและแสดงรูปภาพที่เป็นสีที่มีความละเอียดสูงได้ โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Ipod  Photo  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke  University) ประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้ทำการวิจัย โดยแจกเครื่อง Ipod  Photo  ให้กับนักเรียนที่เข้าเรียนใหม่ทั้งหมดเป็นจำนวน  1650  คน เพื่อใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามความสมัครใจและวิธีการของผู้สอนแต่ละคน               หลังจากวัดผลสัมฤทธิ์เมื่อผ่านไป  1  ปีการศึกษา  พบว่า  Ipod  Photo  สามารถใช้ในการเรียนการสอน และช่วยในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ดีในวิชาที่เกี่ยวข้องกับ ดนตรี ภา และศิลปะ และคาดว่าการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆก็จะสามารถนำ Ipod  Photo มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดีเช่นกัน  และในการทดลองประจำปีต่อไปและในปีนี้ได้มีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเดร็กเซล (Drexel University) เริ่มทดลองใช้ Ipod  Photo เพื่อการศึกษาเช่นกัน               ถึงแม้ว่าการใช้ Ipod  เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาจะดูเหมือนสิ่งที่การศึกษารอคอยมานานและน่าจะประสพความสำเร็จในเชิงการใช้งานจริง  จนผู้ให้ความคิดเห็นบางคนถึงกับกล่าวในเชิงที่ว่า   “Ipod  จะปฏิวัติรูปแบบการศึกษาใหม่ให้มีคุณภาพสูงขึ้น               แต่คำพูดและความมุ่งหวังดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามานำเสนอเพื่อช่วยให้การศึกษาดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา  วิทยุในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา  หรือโทรทัศน์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เทป/วีดีโอเทปเมื่อ 10-15 ปี  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องในศตวรรษที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่ เป็นตัวแทนแห่งความหวังที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเพื่อการศึกษาที่ดีกว่า  แต่เทคโนโลยีนั้นต้องการเวลาอยู่มากเพื่อเข้ามามีบทบาทด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายหลังจาก  500  ปีผ่านมา  วิทยุ/โทรทัศน์และสื่อบันทึกเพื่อการศึกษาที่เพิ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับแต่ในวงจำกัด และถึงแม้คอมพิวเตอร์จะถูกใช้อย่างกว้างขวางในวงการศึกษา แต่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเรียนรู้กลับให้ผลที่ด้อยกว่าที่หวังไว้มากนัก               และในวันนี้การเรียนการสอนหลักที่แพร่หลายที่สุด คือ การเรียนในห้องเรียนก็ยังมีลักษณะการเขียนและพูดแสดงเช่นเดียวกับครั้งเริ่มต้นของการเรียนรู้ของมนุษยชาติในอดีตกาล จากข้อมูลดังกล่าว  ถึงแม้เทคโนโลยีทางการศึกษาจะก้าวหน้าต่อไป และมนุษย์ยังคงแสวงหาอุปกรณ์สื่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติการศึกษาอีกครั้ง หลังจากเศษกระดูกและแผ่นหิน จนถึงหนังสือได้ประสพความสำเร็จเป็นตัวอย่างมาแล้ว  แต่ปัญหาหลักที่เราควรถามตัวเราเองก่อนควานหาเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านั้น  คือ  เทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดในยุคดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะสามารถช่วยการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพในวงกว้างได้จริงและเร็วเท่าที่เราต้องการหรือไม่  บางที่เราควรย้อนกลับมาทำความเข้าใจกับระบบการเรียนการสอนแบบเก่าและเริ่มพัฒนาจากความเข้าใจดังกล่าว จะดีกว่าหรือไม่               สรุป การนำเอาเทคโนโลยี Ipod  มาใช้นั้นเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อพัฒนาให้การศึกษาดีขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์ก่อนนำมาใช้ในการเรียนการสอนแทนรูปแบบต่างๆดั้งเดิมที่มีมา  ควรศึกษาถึงผลดีและผลเสีย และผลที่คาดว่าจะได้รับด้วย จะทำให้ระบบการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น   ********************************

     

    ครูน้ำอุ่น(เสริมพร บุญเลิศ)
    สรุป การนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถทำได้ดังนี้1.      ผู้นำต้องมีความสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา2.      ใช้ในการเรียนการสอน ให้ความสำคัญแบบอย่างของการเรียนรู้ และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่ม ทั้งเด็กปกติ และเด็กด้อยโอกาส หรือผุ้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้3.      เน้นความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารในการสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ล่วงละเมิดกฎหมายดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล องค์กรที่เกี่ยวข้อง  และสถาบันการศึกษาต่างๆต้องมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนที่จะขยายสู่เครือข่ายต่อไป  ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียน เป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งบอกถึงการบรรลุความสำเร็จของผู้บริหารและผู้สอน  ดังนั้นผู้บริหารและผู้สอน ตลอดจนผู้ที่มีความรับผิดชอบ ควรจัดหานวัตกรรมในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ในการเข้าถึงเทคโนโลยี เข้าถึงแหล่งความรู้เป็นกิจวัตรปกติ และควรหาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย  และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จ โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรม  เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเกิดขึ้นตามมาหลังจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว      หมายเหตุ   เนื้อความบางส่วนอ้างอิงมาจาก  รายงานการวิจัยเรื่อง  :  ผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leadership) ผู้นำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล   โดย  ดร.นิคม  นาคอ้าย             สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท