ฐานราก "มนุษย์กับสังคม"


...การสอนนิสิต นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ...เปรียบเสมือน...ฐานราก...แห่งการสอนให้ "คิดได้ ไปเป็น"....สำหรับการเปิดโลกทัศน์ การเรียนรู้...สอนให้เค้าคิดเป็น....คิดถูก...ตามบริบท...ของมนุษย์กับสังคม..........เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการเรียนรู้ ที่ละเอียดลึกซึ้งเฉพาะทาง มากขึ้น ในชี้นปีที่ 2-3-4 จนจบเป็นบัณฑิตที่สง่างาม.......

..."ความท้าทาย" ...มาพร้อมๆ  กับ  "ความวิตกกังวล" บททดลอง หรือ บทพิสูจน์ ....การได้เริ่มทำงานใน ความแตกต่าง จากบริบท ที่ไม่คุ้นชิน...เข้าสู่ ...ความหลากของวัฒนธรรมการเรียนการสอน ที่เปิดใจรับเข้ามา...เป็นปฐมบท.....

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Google

.... การสอนหนังสือ ในเด็กประถมต้น หรือการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเรียน ในเด็กเล็ก...นอกจาก...ผู้เป็นครู จะต้องเตรียมการสอนเพื่อพัฒนาการด้าน ทักษะต่างๆ ให้กับเด็กเล็กๆ แล้ว...เราคงคุ้นชินกับ...วลีที่ว่า ..."อ่านออก เขียนได้".....ที่ครูชั้นประถม...ในสมัย เกือบ 40 ปีที่แล้ว จำต้องสอนทุกรายวิชา ให้กับเด็ก ในปกครอง ทุกคน....ที่สำคัญคือ  สอนให้ อ่านออกเขียนได้ ก่อน.....ที่จะเด็กถูกประนามว่า จบชั้นประถมหก แล้ว  ยังอ่านหนังสือไม่ออก ... โดยเฉพาะในโรงเรียนประชาบาล.....

.....ข้อความข้างต้น  จะเป็นจริงหรือไม่....ผู้เขียน  เขียนด้วยการระลึกนึกจำจากประสบการณ์ เมื่อครั้งวัยเยาว์...ที่ตนเอง ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง มาแต่เก่าก่อน..........กล่าวคือ.... เด็กวัยประถมต้น ... การอ่านออกเขียนได้ เป็นสิ่งเริ่มต้น  เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือ หรือ เป็นต้นทุน สำคัญในการศึกษาหาความรู้ต่อไป .... ตลอดชีวิต...

วันนี้ ผู้เขียน ได้รับเชิญ จาก ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ (ประสานมิตร) ในการเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ภาคปลาย ปีการศึกษา 2556 โดยเข้าอบรมเรื่อง Problem-based Learning (PBL) //----- เนื่องจาก ผู้เขียน ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ สอนรายวิชา "มนุษย์กับสังคม"  สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 /////   จึงเดินทางออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เช้า เพื่อไปเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ที่ มศว (ประสานมิตร) ......

...บันทึกนี้ ผู้เขียนไม่ตั้งใจจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับ Problem-based Learning (PBL) เพราะเป็นเรื่อง ที่อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ จะทราบแนวทาง หลักการ กันพอสมควรแล้ว ... อีกทั้ง ผู้เขียน ทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มานานกว่า สองทศวรรษ  และ ได้เคยร่วมเป็นกรรมการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จึงเข้าใจเรื่องของ  Problem-based Learning (PBL) เป็นอย่างดี ... เพราะ โรงเรียนแพทย์ ส่วนใหญ่จะใช้การเรียนการสอนแบบ  Problem-based Learning (PBL) กันทั้งสิ้น.......

.... สิ่งที่ผู้เขียน ได้ปรารภไว้ในช่วงแรก คือ ความสำคัญของการ "อ่านออกเขียนได้".....คงมิต่างอะไร จากการสอน นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน ประมาณ 229 คน ในวิชาที่แสนท้าทายและ Classic คือ "มนุษย์กับสังคม"........ความท้าทาย ...ของการสอนหนังสือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน "ยิ่ง - ใหญ่ - เยอะ" พร้อม มีคณาจารย์ผู้รับผิดชอบ รายวิชา จัดทำเอกสารการสอนให้เสร็จเรียบร้อย ทุกประการ........

 คงจะแตกต่างกับการสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวนเพียง Class ละ 40 คน...และก็คงจะแตกต่างอย่างยิ่ง ในการสอน นักศึกษา ปริญญาเอก และปริญญาโท ที่มีจำนวน Class ละ ไม่เกิน 10 คน.....เฉกเช่นที่ผู้เขียน...เคยสอน และจัดเตรียมเอกสารการสอน จัดทำ มคอ 3 /มคอ 5  เอง ทุกสิ่งอย่าง..........ความท้ายทาย....กำลังรออยู่ภายหน้า ในอีก สองสัปดาห์ที่จะมาถึงนี้ (เปิดเทอมใหม่)......

.....ผู้เขียน....ได้รับความเมตตาได้ฟัง แนวคิด และ เห็นถึงความตั้งใจในการทำงาน  จากท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ใจดีท่านหนึ่ง ที่ท่านกรุณา เป็นพี่เลี้ยง แนะนำ สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับรายวิชา ...อย่างตั้งใจดีเยี่ยม....ทำให้ผู้เขียน...เข้าใจได้ว่า.....ความท้าทาย ...ที่ทรงคุณค่านี้  ....คือการสอน ให้นิสิตนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ...ที่เปรียบเสมือน...ฐานราก...แห่งการ "คิดได้ไปเป็น"....สำหรับการเปิดโลกทัศน์ การเรียนรู้...สอนให้เค้าคิดเป็น....คิดถูก...ตามบริบท...ของมนุษย์กับสังคม..........เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการเรียนรู้ ที่ละเอียดลึกซึ้งเฉพาะทางมากขึ้น ในชี้นปีที่ 2-3-4  จนจบเป็นบัณฑิตที่สง่างาม.......

......บันทึกนี้ เกิดขึ้น จากแรงบันดาลใจ .... จากหัวใจที่ กำลังพยายามจะเข้มแข็ง อดทน กับความบอบช้ำ...กล้ำกลืน....ฝืนทน.////.เพื่อมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม....เพื่อตอบแทนคุณค่าของแผ่นดิน...ตามปณิธาน ที่ผู้เขียนได้ร่ำเรียนวิชาความรู้มาจาก สถาบันอันทรงเกียรติ...และได้ลั่นวาจา ปฏิญาณตนไว้ต่อหน้าพระภักดิ์...ในพิธีพีระราชทานปริญญาบัตร......ว่าจะถ่ายทอด ...ความรู้.... จะทรงไว้ซึ่ง เกียรติ และศักดิ์ศรี สร้างสรรค์คุณงามความดี เพื่อเป็นวิทยาทาน... สืบไป....

สวัสดีด้วยรอยยิ้ม สำหรับกัลยาณมิตรทุกท่าน
จอย  ทองกล่อมสี
๑๕  ตุลาคม ๒๕๕๖ ; ๒๓.๐๐ น.

หมายเลขบันทึก: 551041เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • เป็นครูต้องอดทนเพื่อศิษย์ครับ
  • เด็กเดี๋ยวนี้ ติดเนท
  • เด็กไทย สองล้านกว่า กำลังติดงอมแงม
  • สองวันที่ผ่านมาได้ตรวจ US ครูหลายสิบท่าน ลองถามเกือบทุกท่าน เกือยร้อยละร้อย Tablet ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์ แถม ครูก็ไม่มี ต้องไปใช้กับเด็กๆ
  • ผู้ใหญ่ และ กำนัน ก็ติดอยู่ใน "สังคมก้มหน้า" ไม่รู้ว่าไผเป็นไผ ครับ

ชื่นชมในความมุ่งมั่นทำงานของอาจารย์ค่ะ

...เมื่อไร..จะ..คิดเป็น...(ก็..ไม่เคย...คิด..เองเลย..อ้ะ...มีแม่บท..ตั้งแต่..ต้น..จน..จบ..ครูก็เป็นคนเขียน..หลักการ..นะอ้ะ)...

มี ฝรั่งที่รู้จัก..เขาเล่าให้ฟังว่า..เรียนเภสัช..จบ..มา..ไม่เคยเห็นหน้าคนสอน..จนวัน..สอบ..และเขาก็สอบได้..เปิดร้าน..ขายยา..มี..ใบประกอบ..อาชีพ..ตามแบบแผนทุกอย่าง...ที่น่าทึ่ง..คือ..อิฉันเป็นคนไทย..อ้ะ...ถ้าไม่เรียนอย่างที่สอนไว้..ก็ไม่ต้องจบอ้ะ...เรียนดีมีฝีมือ..มาสายไปห้านาที..ถูกตัด..คะแนนจนไม่เหลือสอบ..ไล่ออก..ไม่มีการถามไถ่อ้ะที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้ยังเป็นแบบนี้หรือเปล่าไม่ทราบ..เห็นแต่เรื่อง"รับน้องใหม่..ทารุณกันจนตายก็มี.."..มันเริ่มมาตั้งแต่..มีหมาลัยอยู่สองสามแห่งจนเดี๋ยวนี้..พืดๆๆเต็มไปหมด...(ขอโทษที่เขียนซะยาว...ด้วยความเห็นใจ..คุณ จอย..เจ้าค่ะ..)

 

มาทักทายและให้กำลังใจอาจารย์จอยจ้าาา

งานครู...คุรุ...ค่ะ  เป็นกำลังใจค่ะอาจารย์จอย

...ชื่นชม และเป็นกำลังใจนะคะอาจารย์จอย...

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์หมอ จิต

ที่กรุณา  มาให้ข้อคำสอน ที่มีคุณค่ายิ่ง ค่ะ

อาจารย์ ดูแล สุขภาพด้วยนะคะ

ขอขอบคุณ คุณอร  // ที่กรุณา มาติดตาม ร่วมเรียนรู้ ไปด้วยกันนะคะ

ดูแลสุขภาพ ยามฝนฟ้าโปรยปราย นะคะ

ขอขอบพระคุณ  ครูมะเดื่อ / คุณพิชัย/ ครูนก  และท่าน ดร.พจนา

ที่กรุณา  มาร่วมเป็นพลังใจ ต่อกัน  เสมอมาค่ะ

ขอบคุณด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจนะคะ

ขอขอบพระคุณ กำลังใจ ทุกกำลังใจ  ที่ส่งมาให้ 

เป็นพลังศรัทธา...ให้มุ่งมั่น...ตั้งหน้า สร้างสรร ศรัทธา  เพื่อสังคม สืบไป...

ขอขอบพระคุณ ท่าน อาจารย์ชยันต์

ที่ยังคง มี "คำคม ให้แง่คิด คำสอน"... เสมอมาค่ะ

ขอขอบพระคุณ  คุณยายธี

ที่กรุณา  มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกัน

ว่าด้วยเรื่อง"การศึกษาไทย"  มีทั้ง ข้อเด่น ข้อด้อย แล้วแต่บริบท...ค่ะ คุณยายธี....น่าจะจัดเป็น "อมตะวรรณกรรมการศึกษาไทย"  เลยก็เป็นได้....55555....

คุณยายธี  ดูแลสุขภาพ  ด้วยนะคะ

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-วันนี้มาชวนอาจารย์ไป"ตานก๋วยสลาก"ครับ..

งานหนักไม่เคยฆ่าคน

การมีชีวิตอยู่เพื่อต่อสู้

เรียนรู้ความหมายหลาย ๆ อย่าง

ยังมีสิ่งแสวงหาบนเส้นทาง

ทะเลกว้างยังแคบคับกับสองมือ

เป็นโซ่....(หลายห่วง)

 

 

อ่านแล้วได้แรงใจ...
เพื่อมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม....เพื่อตอบแทนคุณค่าของแผ่นดิน...ตามปณิธาน ที่ผู้เขียนได้ร่ำเรียนวิชาความรู้มาจาก สถาบันอันทรงเกียรติ...และได้ลั่นวาจา ปฏิญาณตนไว้ต่อหน้าพระภักดิ์...ในพิธีพีระราชทานปริญญาบัตร......ว่าจะถ่ายทอด ...ความรู้.... จะทรงไว้ซึ่ง เกียรติ และศักดิ์ศรี สร้างสรรค์คุณงามความดี เพื่อเป็นวิทยาทาน... สืบไป....

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท