คัมภีร์ที่เรียนรู้


คัมภีร์คืออะไร มีคำว่า"คัมภีร์"หลายคำที่มีความหมายตรงกับภาษาไทย เช่น

 religious text,  holy writ,  holy books,  scripture, scriptures

 

ในพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ไทย-ไทย ได้ให้ความหมายคัมภีร์ ไว้ว่า

(มค. คมฺภีร = ลึกซึ้ง) น. หนังสือบันทึกคำสอนของ ศาสนา; ใช้เรียกตำราชั้นสูงของแต่ละศาสนาเช่น คัมภีร์พระไตรปิฎก (พุทธ) คัมภีร์ไบเบิล (คริสต์) คัมภีร์อัลกุรอาน (อิสลาม)คัมภีร์พระเวท (ฮินดู) คัมภีร์อาทิคันถะ (ซิกข์). 
อ้างอิง : พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ.นคร
 
คัมภีร-, คัมภีร์ : [คําพีระ-, คําพี] น. หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์เป็นต้น; ลักษณนามเรียกหนังสือตําราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์. ว. ลึกซึ้ง. (ป.). 

แล้วจะใช้คำไหนดีที่จะตรงกับคัมภีร์ยาแผนโบราณ

แต่เมื่อนึกถึงคัมภีร์ที่เรียนกับพระอาจารย์แบบรีบเร่งและต้องใช้เวลากลับมาทบทวนเรียนรู้เพิ่มเติมก็...บางทีก็ยากนะ

ยากที่ต้องจดจำให้ได้ บางทีก็คุ้นมากเพราะเห็นมาตั้งแต่เด็กๆ แต่เป็นการเห็นที่ผ่านตาซ้ายไปที ตาขวาไปทีเท่านั้นเอง

แค่ทำให้ดีใจขึ้นมาว่าเออ..ไอ้นี่เรารู้จักรสเอียนๆ ไอ้ตัวนั้นก็เคยแอบชิมรสเฝือดๆ  ไอ้ตัวนี้ก็เคยเห็น รสฝาดแถมจืดชืดอีกต่างหาก

เจ้าตัวนี้ซิมันขมปี๋ ตัวนี้หวานดี  อะไรทำนองนี้

ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวยาในคัมภีร์ที่เกี่ยวกับธาตุลม เช่นคัมภีร์ชวดาร

แต่ก็มายากตรงที่ถูกใช้ให้หยิบใส่ตาชั่งนี่ไม่ชอบเลย ถูกฝึกให้คำนวนยาก็รู้สึกไม่สนุกแต่ก็ทำ

เมื่อใจไม่ชอบทำไปก็ผิดพลาดบ่อย สุดท้ายผู้ใหญ่ก็จะบอกว่า วางไว้อย่างนั้น เดี๋ยวปู่ทำเอง

แม้ว่ายาแต่ละตัวจะหอมแต่มันก็ทำให้ช่วงเวลาที่สนุกแบบเด็กๆหายไป

 ด้วยลูกพี่ลูกน้อง ที่มารอเกาะหน้าต่างข้างบ้านเรียกรวมพลเร่งให้ออกมาเร็วๆ

เพื่อไปขี่จักรยานเล่นจากปากซอย ทะลุ ท้ายซอย หกล้มมาก็วิ่งไปร้องเสียงดังหลังบ้าน

ให้คุณปู่หยิบใบไม้มาขยี้ๆๆจนมีน้ำเขียวๆ ดำๆออกมาแล้วก็ทำปากขมุบขมิบอึมอัมเป่าเพี้ยง"หาย"ก่อนจะวางบนแผล

ห้ามโดนน้ำ นั่งเฉยๆสักพักหนึ่งพอรู้สึกสบายก็ค่อยๆเลี่ยงเมืองออกจากการคุมเข้มตรงเก้าอี้ตัวนั้น

เวลาผ่านไปนานมากแล้วกว่าจะหวลกลับมาดั่งลมหนาว แล้วรวบรวมความรู้ได้ 13 คัมภีร์ซึ่งก็ต้องเอามาเทียบเคียงกับการเรียนรู้ใหม่

ดังรายการต่อไปนี้

1. คัมภีร์กระษัย เป็นคำภีร์ที่กล่าวถึงความเสื่อมของร่างกาย

ร่างกายทรุดโทรมจากสาเหตุต่างๆทั้งที่เกิดจากภายในตัวเอง และภายนอกเป็นปัจจัย                                                    

2. คัมภีร์ชาดาร ชวดาร เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึง ลมบังเกิดโทษแก่มนุษย์ทั้งหลายโดยอาศัยโลหิต

และลมอาจถึงตายได้ง่ายๆเหมือนกัน

3. คัมภีร์ธาตุบรรจบ คัมภีร์นี้อ่านไม่ค่อนรู้เรื่อง ตัวหนังสือเลือนๆ กล่าวถึงเรื่องอุจจาระธาตุ นี่คล้ายตำราอึของญี่ปุ่นเลย

รวมทั้งยังกล่าวถึงมหาภูตรูป โบราณว่ากินอะไรเข้าไปเข้าไปอย่างไร ก็จะมีผลอย่างนั้น ถ่ายออกมาอย่างนั้น

4. คัมภีร์ทิพย์มาลา กล่าวถึงเรื่องของฝีภายใน(วัณโรค) 19 ประการ

5. คัมภีร์ไพจิตรมหาวงค์ ชื่อเพราะหูและดูศักดิ์สิทธิ์ และให้ความรู้สึกถึงภูมิอันสูงค่าของคัมภีร์นี้

กล่าวถึงลักษณะและประเภทของฝีต่างๆนานา

6.คัมภีร์บัญชุสาระวิเชียร นี่ก็กล่าวถึงลม 10 ประการ  โรคปัสสาวะ 20 ประการ

7. คัมภีร์มุขโรค เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงโโรคในปาก 19 โรค 

8. คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงทุราวสา 12 จำพวก และปะระเมหะ อีก 20 จำพวก

9. คัมภีร์วิถีกุกฐโรค ต่างๆที่มีแหล่งที่เกิดต่างๆกัน 7 ประการ

10. คัมภีร์เวชศึกษา ว่าด้วยเรื่องเวชกรรม ให้รู้จัก 4 ประการคือ คือ

10.1 ที่ตั้งแรกเกิดโรค

10.2 ชื่อของโรค

10.3 ยาแก้

10.4 ยาใดแก้โรคใด(เฉพาะเจาะจง)

11. คัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยโรคเกี่ยวกับตาทุกชนิด แต่ยายก็เป็นได้ไม่ใช่ ..ล้อเล่น โรคเกี่ยวกับลูกตามนุษย์เรานี่แหละ

12.คัมภีร์อติสาร กล่าวถึงลักษณะอติสาร 2 จำพวก  ปัจจุบันกรรมอติสาร 6 จำพวก และโบราณกรรมอติสาร 5 จำพวก

13.คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงมานทั้ง 18 ก็ประกอบด้วยมานน้ำ 4 ประการ มานลม 4 ประการ มานหิน 4 ประการ  

มานโลหิต 4 ประการ และมานเกิดแต่ดาน อีก 2 ประการ

 

 

ได้เวลาอาหารกลางวัน แล้ว ทานข้าวกับ สาหร่ายดำผัดผักรวมมิตร ด้วยกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 550411เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2013 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากทุกท่านนะคะ

  วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- กำลังเรียนรู้ค่ะน้องบาว เป็นอะไรที่ยากเพราะไม่คุ้นหู แม้จะผ่านมานานหลายเดือนแล้ว
 นาง นงนาท สนธิสุวรรณ ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ ดอกไม้กำลังใจสวยและงดงามมากค่ะ
 บุษยมาศ ขอบคุณค่ะ มีกำลังใจเรียนขึ้นมากเลยนะคะ
 คุณมะเดื่อ ขอบคุณค่ะน้องมะเดื่อ ตอนนี้ต้องพกบันทึกเล่มเล็กๆ จิ๋วๆติดตัว เอาไว้ยามว่างก็หยิบมาอ่านๆๆ
ขอบคุณดอกไม้กำลังใจค่ะ อ. ชยันต์ เพชรศรีจันทร์ 
 
 

ขอบคุณค่ะ ดร.พจนา แย้มนัยนาค่ะ

บันทึกนี้เป็นบันทึกทบทวนก่อนจะลุยทบทวนรายละเอียดของคัมภีร์ต่างๆ

เมื่อวานได้บันทึกแล้วแต่สุดท้ายง่วงมากกดผิดบันทึกหายแว๊บไปตามลีลาคนง่วงค่ะ ขอบคุณค่ะ

Very Interesting collection of "ancient med text". Are they available online?

 

What are the meaning of ชาดาร ,  ทุราวสา ? (I looked up in my collection of dictionarries and could not find them).

From my dictionaries: It appears that 98 rogas have been known (and named) in the Buddha's time.

...kucchi: the belly or womb; interior. (m.) kuk.th?
 Roga [Vedic roga: ruj (see rujati), cp. Sk. rujā breakage, illness] illness, disease. -- The defn of roga at J ii.437 is "roga rujana -- sabhāvattaŋ." There are many diff enumerations of rogas and sets of standard combns, of which the foll. may be mentioned. At sn 311 (cp D iii.75) it is said that in old times there were only 3 diseases, viz. icchā, anasanaŋ, jarā, which gradually through slaughtering of animals, increased to 98 Bdhgh at SnA 324 hints at these 98 with "cakkhu -- rog adinā -- bhedena." Beginning with this (cakkhuroga affection of the eye) we have a list of 34 rogas at Nd1 13 (under pākaṭa -- parissayā or open dangers=Nd1 360 Nd2 420) & Nd;2 3041 B, viz. cakkhu˚ & the other 4 senses, sīsa˚, kaṇṇa˚, mukha˚, danta˚; kāsa, sāsa pināsa, ḍāha, jara; kucchiroga, mucchā, pakkhandikā sūlā, visūcikā; kuṭṭhaŋ, gaṇḍo, kilāso, soso, apamāro daddu, kaṇḍu, kacchu, rakhasā, vitacchikā, lohita<-> pittaŋ, madhumeho, aŋsā, piḷakā, bhagandalā. This list is followed by list of 10 ābādhas & under "dukkha goes on with var. other "ills," which however do not make up the number 98. The same list is found at A v.110. The 10 ābādhas (Nd2 3041 C.) occur at A ii.87 & Miln 308 (as āgantuka -- rogā). The 4 "rogas of the Sun (miln 273, cp. Vin ii.295) are: abbha, mahikā megha, Rāhu. -- Another mention of roga together with plagues which attack the corn in the field is given at J v.401, viz. visa -- vāta; mūsika -- salabha -- suka -- pāṇaka setaṭṭhika -- roga etc., i. e. hurtful winds, mice, moths parrots, mildew. -- The comb;n roga, gaṇḍa, salla is sometimes found, e. g. M ii.230; Vism 335. Of other single rogas we mention: kucchi˚ (stomach -- ache) J i.243 ahivātaka˚ Vin i.78; J ii.79; iv.200; DhA i.231 paṇḍu˚ jaundice Vin i.206; J ii.102; DhA i.25; tiṇapupphaka˚ hay -- fever Miln 216. -- See also ātanka ābādha;. On roga in similes see J.P.T.S. 1907, 130. <-> D i.11, 73; iii.182; S iii.32; iv.64; A ii.128, 142 sq. iv.289,; Nd1 486; Vism 236 (as cause of death), 512 (in simile); VbhA 88 (in sim. of dukkha etc.); ThA 288 VvA 6 (rogena phuṭṭha), 75 (sarīre r. uppajji); PvA 86 (kacchu˚), 212 (rogena abhibhūta). -- Opp. aroga health: see sep.
-- ātanka affliction by illness A ii.174 sq.; v.169, 318 -- niḍḍha the nest or seat of disease Dh 148 (cp. DhA iii.110); as ˚nīḷa at It 37. -- mūla the root of disease Sn 530. -- vyasana distress or misfortune of disease D iii.235 (one of the 5 vyasanāni: ñāti˚, bhoga˚, roga˚ sīla˚, diṭṭhi˚); Miln 196 (id.). ...

Cheer!

ขอบคุณค่ะ่ท่านSr.

ดิฉันแก้ไขให้ถูกต้องแล้วและขออภัยที่พิมพ์โดยไม่ได้ตรวจสอบ

สำหรับทุราวสา 12 จำพวก แบ่งเป็น

1.ทุราวสา 4 จำพวก

2.มุ๖ฆาด 4 จำพวก

3.มุคกิต 4 จำพวก

ทุราวสา โบราณกล่าวถึงปัสสาวะชั่ว 4 จำพวก คือ

1. ปัสสาวะที่ออกมาเป็นสีขาว เปรียบไว้ว่าขุ่นดังน้ำขาวเช็ด

2. ปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลือง เปรียบไว้ว่า ดุจดังน้ำขมิ้นสด

3. ปัสสาวะออกมาเป็นโลหิตสดๆ

4. ปัสสาวะออกมาเป็นสีดำ เปรียบไว้ว่า ดังน้ำคราม

I confess that the messages are delivered, it is beyond my ability to understand.

 

ฺI hope that it may be helpful to have a scholars others.

I appreciate the value of this record. Thank you.

 

Thank you for the extra info.

I looked at ชวดาร ( jaca-taara : speedy star ; shooting star -- meteorite--) and failed to see a connection to health problems, but odten the "title" of a book does not reflect its content ;-)

As for ทุราวสา I could not find a Pali word for it yet. The nearest I could come up with is "du(r) + vyasana" [du/dura = bad; vyasana = misfortune; ruin; destruction. (nt.)] -- it needs a lot of stretching the last syllable ;-)

Perhaps, a Pali monk and help here.

เรียนท่านSr.

2.มุ๖ฆาด 4 จำพวก

ที่ถูกคือมุตฆาตค่ะ

About ทุราวสา I think so. Maybe a Pali monk can help you to understand it I can be.

Thank you.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท