การออกกำลังกาย


ออกกำลังกายอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยทอง

วัยทอง ถือเป็นช่วงแห่งความสำเร็จของชีวิต เป็นช่วงที่สตรีมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีฐานะ
มั่นคง มีครอบครัวที่สมบูรณ์ แต่วัยทอง ก็เป็นช่วงวัยแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการลดระดับของฮอร์โมนในร่างกายสตรี ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านสรีระร่างกาย อารมณ์และสภาพจิตใจ เพื่อให้สตรียังคงดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพและมีความสุข การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงถือเป็นเรื่องควรปฏิบัติ

ท่าทางการออกกำลังกาย สำหรับสตรี (ใกล้) วัยทอง เพื่อปฏิบัติประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

    1. บริหารไหล่ ยืนตรง หมุนหัวไหล่ ข้อศอกและแขน ท่าละ 20 ครั้ง
    2. บริหารลำตัว ไหล่ และขา ยืนตรง เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วโน้มตัวลง งอเข่าเล็กน้อย พยามยามให้ปลายนิ้วแตะพื้น ทำติดต่อกัน 20 ครั้ง
    3. บริหารลำตัวและหลัง ยืนตรง แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว เอียงไปด้านข้างของลำตัวจนสุดตัว พยายามให้ปลายนิ้วแตะเข่าสลับซ้ายและขวา รวมแล้ว 20 ครั้ง
    4. บริหารเอว และต้นขา ยืนหันข้างจับพนักเก้าอี้ แกว่งขาคล้ายลูกตุ้ม 20 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง
    5. บริหารน่อง ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้า ย่อเข่าหน้า เหยียดขาหลังให้ตึง พร้อมทั้งทิ้งน้ำหนักตัวไปยังผนังห้อง โดยใช้ฝ่ามือสองข้างยันไว้ ทำสลับข้างรวมแล้ว 20 ครั้ง
    6. บริหารสะโพก และต้นขา นั่งเหยียดขา โน้มตัวไปข้างหน้า พยายามยืดแขนให้ปลายนิ้วแตะข้อเท้า ทำติดต่อกัน 20 ครั้ง

นอกจากนี้กำออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินเร็ว ๆ 45 นาที หรือการวิ่งเหยาะ ๆ การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน อย่างน้อย 15-30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ และปอด จึงควรปฏิบัติเป็นประจำ สำหรับสตรีที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ถึงท่าทาง และวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย

คำสำคัญ (Tags): #การดูแลสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 55024เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท