ประเพณี "การทำบุญ เพื่อสั่งสมบุญ" กำลังกัดกร่อนศาสนาพุทธ อย่างรุนแรง


มีเพื่อนในเวบ มาแย้งการนำเสนอเรื่อง "การทำบุญ" ที่ไม่ถูกต้องที่ผมเสนอไป ทำนองว่า.........
"คนทำบุญแล้วมีความสุข" ก็ดีแล้ว ไปกังวลทำไมอีก??????
แสดงว่าเขายังอ่านวัตถุประสงค์ในการเขียนนำเสนอของผมไม่ออก ผมจึงต้อง "แจงสีเบี้ย" เพิ่มเติม ดังนี้.....................

"ความสุข" ของคนมีหลายระดับครับ ขึ้นอยู่กับระดับของ "จิต" ของแต่ละคน

"ทำทาน" ได้ช่วยผู้อื่น (หวังผลบุญ สร้างการยอมรับในสังคม ฯลฯ ที่สะสมกิเลสอย่างหนึ่ง) ก็อาจจะใช่ สำหรับบางคน

"ทำบุญ" สะสมกิเลสแบบละเอียด บางคนก็คิดว่าใช่

ที่ทั้งสองแบบนี้ กำลังกลายเป็น "เหยื่อ" ของระบบการ "สะสมทรัพย์" ให้กับ "ระบบธุรกิจ" ที่ปะปนในวงการศาสนา

และกำลังกัดกร่อนศรัทธา เกิดความเสื่อมสลายอย่างรุนแรงในวงการศาสนาพุทธ ในปัจจุบัน

ดังนั้น..........

ผมจึงพยายามชี้ตรงนี้เป็นเจตนา (ที่จริงคือ "วัตถุประสงคฺ์) แฝง ที่ท่านคงจะพออ่านออกนะครับ

ผมจึงพยายาม "แจงประเด็น" หลักพุทธให้ชัด คนจะได้ไม่หลงประเด็น "ของแท้" และ "ของเทียม"

พยายามทำหน้าที่ในฐานะ "พุทธศาสนิกชน" ที่จะชลอความรุนแรงของการกัดกร่อนตรงนี้ลงครับ

ทั้งหมดก็มีประมาณนี้ เท่านั้นครับ

และ เพราะความสุข (แท้จริงแล้ว = ความไม่ทุกข์)ของตัวผมเองนั้น ก็คือ.......

ได้ทำสิ่งที่ "ถูกต้อง" ให้กับตัวเอง สังคม และโลกครับ

และ ดังนั้น.....ทั้งชีวิตที่ผ่านมา และชีวิตที่เหลือ ผมก็ทำอยู่แค่นี้ครับ

"จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด" ครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 549461เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2013 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ทำบุญ หรือทำอะไรที่ไม่เบียดเบียนชีวิตตัวเอง และชีวิตอื่น แล้วสบายใจ  นั่นคือบุญใช่ไหมค่ะ

 

นั่นคือทำทานครับ ยังไม่ได้ทำบุญครับ

อาจารย์ครับ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์...สมมุติว่าถ้าพระพุทธองค์มาเห็นเข้าท่านก็คงงง...เหมือนกันว่า "นี้มันศาสนาอะไร" กระมังครับผมว่า...

From พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
บุญ

บุญ: เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม
     ที่กล่าวนั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า "กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด", "สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา", "การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ", ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกายวาจาใจ, กุศล (มักหมายถึงโลกียกุศล หรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ); บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่นในพุทธพจน์ (ที.ปา.๑๑/๓๓/๖๒) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้", และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๐/๒๔๐) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์นี้ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต), พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ ("ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๐/๒๔๑; ๒๓๘/๒๗๐) คือฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี
     ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.๑๕/๑๔๖/๔๖) ที่ว่า "ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์", คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอันมาก เช่น (ชา.อ.๑/๒๙๙) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล
     พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.๒๕/๒๓๘/๒๗๐) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ.๒๐๘); ตรงข้ามกับ บาป, เทียบ กุศล, ดู บุญกิริยาวัตถุ, อุปธิ

From พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
บุญกิริยาวัตถุ

บุญกิริยาวัตถุ: สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี, หมวด ๓ คือ
     ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
     ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
     ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา;
หมวด ๑๐ คือ
     ๑. ทานมัย
     ๒. สีลมัย
     ๓. ภาวนามัย
     ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
     ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
     ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
     ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดีความดีของผู้อื่น
     ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
     ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
     ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

And to explain ภาวนา

From คำไทยและความหมาย(ตัวอย่าง)
ภาวนา

ภาวนา: [พาวะ-] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ.      ก. สำรวมใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่งภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).


From พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ภาวนา

ภาวนา: การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา
     ๑) การฝึกอบรม หรือการเจริญพัฒนา มี ๒ อย่าง คือ
          ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ
          ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง,
          อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ
          ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
          ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์; ดู กัมมัฏฐาน
     ๒) การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ
          ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน
          ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ
          ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน
     ๓) ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็นการท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

From PTS Pali Dictionary

Puñña (nt.) [cp. (late) Vedic puṇya favourable, good; etym. not clear, it may be dialectical. The word is expld by Dhammapāla as "santānaŋ punāti visodheti, i. e. cleaning the continuation (of life) VvA 19, thus taken to pu. The expln is of course fanciful] merit meritorious action, virtue. Always represented as foundation and condition of heavenly rebirth & a future blissful state, the enjoyment (& duration) of which depends on the amount of merit accumulated in a former existence. With ref. to this life there are esp. 3 qualities contributing to merit, viz., dāna, sīla & bhāvanā or liberality, good conduct & contemplation These are the puñña -- kiriya -- vatthūni (see below) Another set of ;ten consists of these 3 and apaciti, veyyāvacca patti -- anuppadāna, abbhanumodanā, desanā savana, diṭṭh' ujjuka -- kamma. The opp. of puñña is either apuñña (D iii.119; S i.114; ii.82; A i.154; iii.412 Sdhp 54, 75) or pāpa (Sn 520; Dh 39; Nett 96; PvA 5) The true Arahant is above both (Pv ii.615).

 

Sadhu ;-)

ดีใจมากๆที่ได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดมาเสมอตั้งแต่เริ่มคิดได้เกี่ยวกับศาสนาพุทธที่เรานับถือมาตั้งแต่จำความได้นั้นมีคนคิดเหมือนกันจากการที่ได้อ่านข้อคิดความเห็นของอาจารย์ ติดใจสงสัยหลายๆเรื่องที่รู้สึกว่าพูดกับใครไม่ได้ เราเป็นตัวประหลาด เหมือนคนนอกศาสนามากกว่า แต่เชื่อเสมอว่าตัวเองรักษาศีลห้าได้จริง นับถือศรัทธาหลักคำสอนสั้นๆง่ายๆทั้งหลายที่ได้รับรู้และรับรู้ถึงผลดีที่เกิดขึ้นเมื่อเราปฏิบัติได้จริงๆ แต่ไม่เคยเข้าใจการทำบุญแบบทำไปขอโน่นนี่นั่นไปเลยสักที ทำใจยอมรับไม่ได้เลยค่ะ 

ขอบคุณที่อาจารย์จะ"แน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด" แต่สำหรับตัวเองก็เชื่อว่า บางครั้งก็ยากจะตัดสินนะคะว่าอะไรผิด อะไรถูก ทุกคนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง 

"ความสุข" ของคนมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับระดับของ "จิต" ของแต่ละคน

- ขอบพระคุณ อาจารย์ ที่ทำให้กันกลับมาเพ่งมอง "จิตที่เป็นสุข"  แห่งตน ในแบบของตน....

นายฤทธิกร ชอบทำทาน

ถ้าจะเรียนแบบท่องจำคงต้องใช้เวลาท่อง จงเรียนแบบความเข้าใจ งง งง งง งงพูดไม่ถูกอธิบายไม่ออก เอาเป็นว่า เอาแก่นแท้เลยละกัน ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ พระองค์ทรงตรัสว่าใบไม้ที่อยู่ในป่าพวกท่านสามารถนับใด้หมดหรือเปล่า มันก็เหมือนความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่นับไม่หมด แต่พระองค์ทรงกำใบไม้ขึ้นมาในมือแล้วบอกว่าความรู้ที่มากมายนับไม่ถ้วนคนเราก็ใช้เท่านี้เอง พูดแล้วงง เพราะไปจำในหนังสือมา อิอิอิอิอิอิขอบคุณครับ

ก็ "หันมาทำบุญ" แทน "ชอบทำทาน" และ "ทำความเข้าใจ" แทน "ชอบท่องจำ" ก็จะเข้าใจมากกว่านี้ครับ อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

จุฑาทิพย์ ประสานทอง

ก็ถูกคะอาจารย์แต่ถ้าเราไม่ทําทานดิฉันก็คงไม่รู้หรอกว่ากรรมกําลังเล่นงานครอบครัวดิฉันอยู่พ่ออยู่ท้างแม่อยู่ท้างลูกอยู่ท้างเข้าใจคะพุทธพาณิชย์มีเยอะแต่บ้างสถานที่ก็ควรเว้นบ้างนะคะอาจารย์หรือดิฉันอาจจะเข้าใจผิดถ้าไม่ได้อ่านคําสอนของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติได้ก็คงเส้นโลหิตแตกแน่ณ.ขณะนี้สาหัสมากกําลังสวดมนต์ช่วยตัวเองก่อนๆฝึกดูจิตเพราะจิตมันฟุ้งซ่านมาก    ขอคําแนะนําจากอาจารย์ด้วยนะคะ   ขอบคุณคะ

ผมก็รู้นิดหน่อย ลองหาอ่านดู สงสัยอะไรมาคุยกันได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท