การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_50 : ตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อม โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา อบจ.ชัยภูมิ


วันที่ 18 กันยายน 2556 ทีมขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานบน "ขน" ทีมงานไปโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา ต.บ้านเป้า อ.เกษรสมบูรณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินความพร้อมเพื่อรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร.ร.ศรร.ปศพพ.)

โดยมีอาจารย์ศศินี ลิ้มพงษ์ และอาจารย์สุจินดา งามวุฒิพร ผู้จัดการโครงการฯ จากมูลนิธิสยามกัมมาจล และทีม ร.ร.ศรร.ปศพพ. พี่เลี้ยง โรงเรียนกัลยาณวัตร จ.ขอนแก่น ร่วมเป็นทีมประเมิน

ขอแนะนำสำหรับผู้สนใจ ข้อความเห็นและข้อเสนอแนะโดยละเอียดต่อการขับเคลื่อนของโรงเรียนบ้านเป้า ใหติดต่อ อาจารย์ฤทธิชัย อาจารย์แกนนำขับเคลื่อนโดยตรง Facebook ท่านอยู่ที่นี่ครับ  ต่อไปนี้เป็นข้อความเห็นของกระผมเอง ในฐานะผู้ประสานงานจากมหาวิทยาลัย

ท่านสามารถอ่านข้อความเห็นเมื่อครั้งตรวจเยี่ยมครั้งที่แล้วที่นี่ครับ 

จุดเด่นที่ต้องชื่นชม 

    • ความสะอาดเรียบร้อยของอาคารสถานที่ ห้องเรียน และบริเวณโรงเรียน (แม้จะบอกก่อนล่วงหน้า และต่อให้มีการเตรียมการไว้ แต่อย่างไรก็ไม่น่าจะสอาดขนาดนั้นครับ) เมื่อซักถามถอดบทเรียน พบว่าปัจจัยของความสำเร็จ มีดังนี้ครับ
    • นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลทำความสะอาด โดยมีการจัดแบ่งบริเวณให้แต่ละชั้นเรียนรับผิดชอบอย่างชัดเจน 
    • ใช้เวลาตอนเลิกเรียนตอนบ่าย (ก่อนเดินทางกลับบ้าน) ช่วยกันทำความสะอาด ทำให้เป็นไปอย่างพร้อมเพียงกัน ไม่มีมาช้ามาสายที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าทำน้อยทำมาก
    • มีกระบวนการตรวจสอบจากทั้งกรรมการนักเรียน และคณะครูที่รับผิดชอบโครงการ 5ส. ของโรงเรียน...
    • ไม่ประนีประนอมกับความไม่เรียบร้อย.... มีมาตรการให้นักเรียนที่ทำไม่เรียบร้อย มาซ่อมเสริมเพิ่มเติมอีกในตอนเช้า...  (ความจริงทราบว่า ตอนเช้าก็มีการทำความสะอาดอีกครั้งทุกบริเวณ)
    • ฯลฯ  (แม้จะเป็นข้อประทับใจเดิมที่ผมเคยเขียนไว้ แต่ก็อยากให้รู้ว่านี่เป็นวิธีที่ได้ผล เผื่อว่าจะมีคนอ่านนำไปปฏิบัติบ้างครับ)
  • ความมีระเบียบวินัยของนักเรียน อันนี้ก็เขียนไว้ตั้งแต่ครั้งที่แล้วเหมือนกันครับ ยังรักษาความดีไว้ได้ดีครับ 
  • มีการนำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้กันอย่างจริงจังแล้ว แม้จะเห็นเริ่มเฉพาะครูแกนนำไม่หลายคนนัก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความตระหนักในการเปิดโอกาสให้นักเรียน "ฝึกคิด" "ฝึกทำ" และ "ทำงานเป็นทีม"  อ่านข้อความเห็นเรื่อง "ครูฝึกกก" ที่นี่ครับ 


 
ข้อความเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูและโรงเรียน

  • แหล่งเรียนรู้แรกคือห้องสมุดของโรงเรียน สะอาด เรียบร้อยมาก สิ่งที่โดดเด่นคือการจัดหนังสือ สื่อความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "พอเพียง" เป็นหมวดหมู่ชัดเจน และมีจำนวนมาก... หากมีการกระบวนการส่งเสริมการอ่าน "หลักการทรงงาน" ต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะนักเรียนแกนนำทุกคน แล้วนำมาตีความ ถกถอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนั้นๆ ....จากการสอบถาม ท่านอาจารย์ที่รับผิดชอบสะท้อนว่า อยากให้เด็กๆ มาอ่านมากขึ้น.... มีหลากหลายวิธีที่แนะนำครับ เช่น 
    • กำหนดให้เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติม สำหรับรายวิชาสังคมหรือภาษาไทย 
    • จัดให้มีการโต้วาที "หลักการทรงงาน" และ "ปศพพ." ใน "วง" นักเรียนแกนนำ 
    • จัดให้มีการยืมหนังสือในหมวดดังกล่าวได้ง่าย สะดวก และกำหนดให้มีชั่วโมงอ่านหนังสือให้ชัดเจน 
    • ฯลฯ 

 

 
  • ผลงานจากฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์โครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น...เป็นโครงงานประดิษฐ์ ที่พยามยามนำ "คณิต" ไปใช้อธิบายว่า ลำดับลายของผ้าไทย กระโด้งไม้ไผ่ กระติ๊บข้าวเหนียว ประเป๋าถือ หรือเครื่องจักสาน สามารถที่จะอ่านผ่านสมการคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้ความรู้ "คณิต" เรื่อง การแปลงสลับเลขฐาน 2 ฐาน 3 ไปเป็นฐานสิบ... จากการฟังการนำเสนอ เข้าใจขั้นตอนดังนี้ครับ
    • สังเกตรูปลักษณะลาย ว่ามีกี่สี หากมี 2 สี  จะอธิบายด้วยเลขฐาน 2 หากมี 3 สี จะอธิบายด้วยเลขฐาน 3 เป็นต้น 
    • นำกระดาษมาตัดเป็นเหมือน "ตอกไม้ไผ่" นำมาจักสานเลียนแบบ สมมติมี 2 สี จะแทนที่ด้วยเลขฐาน 2 คือ เลข 0 กับ เลข 1 แทนการจัดสานให้อยู่ด้านล่างและบนตามลำดับ 
    • เมื่อทำตามลายเสร็จ จะได้เลขฐาน 2 มาชุดใหญ่ แปลงให้เป็นฐาน 10.... (เข้าใจว่า น่าจะฝึกการแปลงเพื่อใช้ "คณิต" คิดเฉยๆ ...หากผิดอธิบายด้วยครับ)
    • จากนั้นทดลองออกแบบลายต่างๆ ด้วยตนเอง ด้วยการจักสานงาน "ตอกกระดาษ" เมื่อได้แบบแล้วก็ฝึกแปลงเลขฐาน... และนำ "ต้นแบบ" ไปสื่อสารให้ชาวบ้านทดลองทำตาม  จนได้ลวดลายต่างๆ ตามรูป 
 
    • เมื่อเป็นแบบที่เข้าใจนี้ แสดงว่า โครงงานนี้ไม่ได้นำคณิตศาสตร์ไปช่วยออกแบบโดยตรง  แต่เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนสนใจภูมิปัญญาและหัตถกรรมพื้นบ้าน ผ่านการเรียนรูู้คณิตศาสตร์เรื่องการแปลงเลขฐาน ....  
    • ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากผมครับ..
      • แนะนำให้นักเรียนสืบค้นหา ความเชื่อมโยงระหว่างสมการคณิตศาสตร์กับลายต่างๆ ในธรรมชาติจริงๆ  .... ฝากให้เขาไปศึกษาเรื่อง "Chaos equation"
      • แนะนำให้หาความเชื่อมโยงระหว่างสมการคณิตศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ... ทำคนอินเดียถึงเก่งเรื่อง Softwares ที่สุด เพราะพวกเขาเก่งคณิตศาสตร์ที่สุดนั่นเอง  ใครเก่งคณิตจะคิดเขียนโปรแกรมคอมเก่งด้วย ....  
      • แนะนำให้คุณครู ตั้งโจทย์โครงงานเรื่อง "สมการกับธรรมชาติ" .... เพื่อฝึกให้พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยตนเองตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นนำเสนอเอง......   (อันนี้แนะนำวันนี้ครับ)
    • สำหรับข้อแนะนำเรื่องการนำเสนอของนักเรียนนั้น ไม่มีครับ ขอชมเชยว่า เตรียมตัวดีมาก... ถ้าเป็นเรื่องที่พวกเขาเริ่มคิดทำและนำเสนอเองล่ะก็ครับ จะเป็นธรรมชาติและเปี่ยมความสุขกว่านี้แน่ครับ 
  • ห้องแห่งความสำเร็จและเกมปลูกฝังการแบ่งปัน.. (Give and Take)..วันนั้น (18 กันยาฯ) ได้มีโอกาสเล่านเกม "พอเพียง" ของมูลนิธิสยามกัมมาจล .... เล่านกันได้หลายคน... เป็นเกมสร้างสถานการณ์เหมือนที่จะเกิดได้ในชีวิตจริงๆ  อาจเล่นเป็นทีมแล้วปรึกษากัน ...(อ่านต่อเรื่องเกมที่นี่
 
 
    • สังเกตว่าทุกหน้าต่าง จะมีผลการถอดบทเรียนความสำเร็จลงแผ่นฟริปชาร์ท การได้ฝึกคิดพิจารณาว่า "ทำไมถึงสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ" นั้น เป็น "เคล็ดที่ไม่ลับ" แต่เราไม่ค่อยทำกัน 
 
 
    •  ขอชมเชยและชื่นชมครับ นักเรียนทุกคนเล่นเก่งถึงขั้นสอนได้ ... ผมแนะนำว่า นักเรียนจะต้องฝึกออกแบบเกม หรือออกแบบสถานการณ์ที่สอนคล้องกับบริบทของเราเองบ้าง .... 
  • แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก็ยังคง "ไม่พลาด" เรื่องน้ำยาล้างจาน ไปที่โรงเรียนไหน หายากยิ่งนักที่จะไม่พบว่า นักเรียนนำมาเสนอเป็นโครงงาน ....  ผมแนะนำว่าให้ลองใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 8ส. เน้นปัญหาบูรณาการชีวิต ที่ต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้ (ลองอ่านที่นี่ครับ)
  • ส่วนฐานการเรียนรู้เรื่องอาเซียนและมรดกโลกนั้น ผมคิดว่าจะเพิ่งทำกันไม่นาน นักเรียนยังไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้และถอดบทเรียนกันมากนัก เหมือนว่าผู้บริหารจะคิดว่าสามารถเตรียมนักเรียนนำเสนอให้ผ่านได้ ...แต่ไม่ใช่การประเมินเป็น ร.ร.ศรร.ปศพพ. แน่นอนครับ 

ขอเป็นกำลังใจครับ
โทรศัพท์มาคุยได้ที่ 0815499870  ครับ
อ.ต๋อย

หมายเลขบันทึก: 549291เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2013 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2013 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัีสดีครัีบ

-ตามมาให้กำลัีงใจพร้อมกับนำ"ลูกกล้่วยเต่า"มาฝากครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท