ถอดบทเรียนเกษตรกรผู้นำการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรได้ตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

            ถอดบทเรียนเกษตรกรผู้นำการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ผมและทีมงานได้ตั้งใจไปถอดบทเรียนของเกษตรกรผู้นำ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ หากจะพูดง่ายๆก็คือมืออาชีพในการปลูกข้าวโพดนั่นเอง ความจริงแล้วหากจะพิจารณาให้ดี ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ที่สำคัญในประเทศ

 

            การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรได้ตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ทางทีมงานได้ไปค้นหาผู้รู้ ผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ โดยทีมงานได้พบกับเกษตรกรที่ชื่อ คุณณรินทร์ เจียระวาปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๓๕ หมู่ ๔ บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ  อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีอายุ ๔๗ ปี

              

              

           คุณณรินทร์ ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองและครอบครัว มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาแล้วประมาณ ๗-๘ ปี โดยในรอบ ๑ ปีจะปลูกประมาณ ๓ ครั้ง( ๓ รุ่น ) สภาพพื้นที่การปลูกข้าวโพดของตนเอง จะมีสภาพเป็นที่นาดอน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่เหมาะสมในการทำนาเลย จึงได้ตัดสินใจนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาปลูกซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสม ของบริษัทเอกชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด  เมื่อทำการปลูกแล้วพบว่าได้ผลผลิตดี เฉลี่ยต่อไร่จะได้ผลผลิตอยู่ประมาณ ๗๕๐ ,๒๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อจำหน่ายเมล็ดข้าวโพด ในปีที่ผ่านมา จะจำหน่ายได้ราคา กิโลกรัมละ ๕ บาท โดยเฉลี่ยแล้วในพื้นที่ปลูก ๑ ไร่ จะมีรายได้ประมาณ ๓,๗๕๐-,๐๐๐ บาท โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด รวมทั้งสิ้น ๑๕ ไร่

 

          คุณณรินทร์ ยังได้เล่าต่อไปอีกว่า เมื่อทำการบันทึกรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่อไร่ จะอยู่ประมาณ ๒,๖๖๓ บาท การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หากมีการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีมาปลูก มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำและดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคและแมลงก็ไม่มารบกวนเช่นกัน สำหรับวิธีการปลูกและขั้นตอนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพพื้นที่นาดอน ของตนเองในรอบ ๑ ปี ทำการปลูก ๓ ครั้งได้แก่

        ครั้งที่ ๑ ปลูกช่วงเดือน พฤษภาคม

        ครั้งที่ ๒ ปลูกช่วงเดือน สิงหาคม

        ครั้งที่ ๓ ปลูกช่วงเดือน ธันวาคม

วิธีการปลูก ขั้นตอน ๑ การเตรียมดิน จะมีการไถดะและแปร จำนวน ๒ ครั้ง จากนั้นที่ทำการยกร่องปลูก จากนั้นก็หยอดเมล็ดพันธุ์ ไปตามร่อง โดยมีระยะห่างระหว่างแถว  ๗๐ เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น ๑๐-๒๐ เซนติเมตร โดยใช้เครื่องหยอดเมล็ด

               ขั้นตอนที่ ๒ เมื่อต้นข้าวโพดที่หยอด มีอายุประมาณ ๑ เดือน ก็ทำการกำจัดวัชพืช ๑ ครั้ง

               ขั้นตอนที่ ๓ การให้น้ำ ในช่วงฤดูแล้ง การให้น้ำจะสังเกตต้นข้าวโพด เริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ก็ทำการสูบน้ำเข้าแปลงปลูกข้าวโพด ใน ๑ ฤดูการจะสูบน้ำใส่ประมาณ ๓ ครั้งก็เพียงพอ หากช่วงของการปลูกในฤดูฝน ก็ไม่ต้องทำการสูบน้ำใส่ข้าวโพดเลย

 

              ขั้นตอนที่ ๔ การใส่ปุ๋ย ในกรณีการใส่ปุ๋ยรองพื้น สำหรับดินปลูกข้าวโพดลักษณะดินเป็นดินเหนียว ก็จะใช้ปุ๋ยสูตร ๑๖-๒๐-๐ หากพื้นที่ใดมีลักษณะเป็นดินร่วน ก็จะใช้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕  อัตราที่ใช้ ๑๐-๑๒ กิโลกรัมต่อไร่ และจะทำการใส่ปุ๋ยอีกครั้งจะใส่ก่อนข้าวโพดจะออกฝัก จะใช้ปุ๋ยสูตร ๔๖--๐ อตัราที่ใช้ ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่

 

              ขั้นตอนที่๕ การเก็บเกี่ยว จะทำการเก็บเกี่ยวได้ ช่วงข้าวโพดมีอายุประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน ปัจจุบันจะใช้รถรับจ้างเกี่ยว

ข้าวโพดโดยเฉพาะ พร้อมสี(แยกเมล็ดออกจากฝัก)  อัตราจ้าง เมล็ดข้าวโพด จำนวน ๑ ตันจะเสียค่าจ้างสี ๗๐๐ บาท สำหรับค่าขนส่ง ปัจจุบันจะตกประมาณ ๑๕๐ บาทต่อไร่ เพื่อนำไปขายส่งที่ลานรับซื้อพืชไร่ในท้องถิ่นหรือท้องถิ่นใกล้เคียงต่อไป

 

 

เขียวมรกต

 

๑๑ ก.. ๕๖

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 547925เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2013 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2013 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณการถอดบทเรียนดีๆที่นำมาแบ่งปันกันเสมอค่ะ

มาแสดงความชื่นชมนักวิชาการเกษตรผู้แข้งแกร่ง

ช่วยเติมแรงใจ..ในการทำงาน

ชื่นชมการทำงานของเกษตรกร เก่งจริงๆครับ

-สวัสดีครับ..

-ตามมาร่วมถอดบทเรียนครับ..

-"คุณณรินทร์ ยังได้เล่าต่อไปอีกว่า เมื่อทำการบันทึกรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่อไร่ จะอยู่ประมาณ ๒,๖๖๓ บาท การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หากมีการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีมาปลูก มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำและดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคและแมลงก็ไม่มารบกวนเช่นกัน" 

ขอบคุณ "บันทึก แห่งการ เรียนรู้" จากแดนไกล ... อยากให้  ข้อมูล เหล่านี้

ไปถึง ชาวไร่ ชาวสวน ณ ต่างแดน  อื่นๆ ...ได้เกิดการแลกเปลี่ยน  ทดลอง  ปลูก ...คงจะดีนะคะ

ขอบคุณ ที่แบ่งปันค่ะ

 

ขอขอบคุณครับ พี่ใหญ่ ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจเสมอมา

ขอขอบคุณ ครูหยินที่กรุณาแวะมาแลกเปลี่ยนและให้กำลังใจครับ

ขอขอบคุณ ท่านพ.แจ่มจำรัส ที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจกันครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ Dr.Joy ที่กรุณาแวะมาแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดดีๆครับ

ขอขอบคุณ เพชรน้ำหนึ่งครับ ที่แวะมาแลกเปลี่ยน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท