พระอภิธรรม กับ วิทยาศาสตร์


พอมาศึกษา "พระอภิธรรม" ผมจึงได้ตะหนักว่า "ระบบการศึกษา" ของไทยปัจจุบัน เป็นการบิดเบือนกลไกของธรรมชาติ
สอนแยกเป็นวิชาย่อยๆ จนมองไม่เห็นภาพรวม และใช้งานในองค์รวมไม่ได้ และพยายามอ้างว่า เป็นหลัก "วิทยาศาสตร์"

ทำให้แม้แต่คนและสังคมทั่วไปก็ยังเข้าใจว่า "วิทยาศาสตร์" คือ การหาวิธี "เอาชนะธรรมชาติ" ที่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

เพราะหลักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงก็คือ
การค้นหากฏเกณฑ์ของธรรมชาติ มาตอบสนอง "ความต้องการ" ของคนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเท่านั้นเอง
มิได้สร้างอะไรที่เหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติแต่อย่างใด
แล้วจะเรียกว่า "เอาชนะธรรมชาติ" ได้อย่างไร

แม้แตหลักธรรมะ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มิได้เป็นการเอาชนะธรรมชาติ ในความหมายของ "ธรรมชาติ" จริงๆแต่อย่างใด
เพียงแต่ทำความเข้าใจกฎของธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากความเข้าใจธรรมชาติ มาพัฒนา "จิต" ให้ไปสู่สภาวะที่ดีกว่าเดิม ทั้งวันนี้และวันหน้า ต่อๆไป
ที่เป็นหลัก "เจตนา" เริ่มต้นเดียวกันกับ "หลักวิทยาศาสตร์" ในปัจจุบัน
เพียงแต่ใช้หลักคิดและ "กรอบเวลา" ต่างกันเล็กน้อย
กล่าวคือ "หลักธรรมะ" นั้น ผู้ทำเป็นผู้ได้รับ ใครไม่ทำก็ไม่ได้รับ เพราะไม่สามารถทำแทนกันไม่ได้ และถ้าทำได้เท่ากันก็ได้รับเท่ากัน ไม่มีข้อยกเว้น
แต่ "หลักวิทยาศาสตร์" นั้น สามารถทำให้คนอื่นใช้ได้ คนไม่ต้องทำ รอรับผลงานอย่างเดียวก็ได้ใช้เหมือนๆกัน จึงเป็นที่นิยมชมชอบของสังคมของคนที่ชอบพึ่งคนอื่นมากกว่าที่จะคิดช่วยเหลือตัวเอง

นี่น่าจะเป็นเหตุให้คนทั่วไป และสังคม "หลงไหล" ใน "หลักวิทยาศาสตร์" มากกว่า "หลักธรรมะ"

ทำให้ความสำคัญของ "หลักธรรมะ" ค่อยๆเลือนหายไปจากความรู้สึก และระบบการศึกษาโดยทั่วไป
พร้อมๆกับกับการพัฒนาสาขาต่างๆของ "หลักวิทยาศาสตร์"

แม้แต่วิชา "ศีลธรรม" ที่เคยมี ก็หายไปจากหลักสูตรเสียแล้ว

และแม้จะมีอยู่ก็ผิวเผินจนไม่สามารถทำให้ใครได้ประโยชน์ในระดับที่จะมาเชื่อมและเป็นฐานให้กับการเรียนทางสายวิทยาศาสตร์

เพราะจริงๆแล้ว องค์ความรู้ใน "สภาวะความเป็นจริง" ของธรรมชาตินั้นเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น มิได้แยกจากกันเป็นสาย หรือเป็น "วิชา" แต่อย่างใด

มีแต่ระบบการเรียนที่ผ่านมา และในปัจจุบันเท่านั้นที่ทำให้แยกจากกันเป็น "วิชา"

และหลักของ "ธรรมชาติ" และ "วิชชา" เท่านั้น ละมั้งครับ ที่จะทำให้องค์ความรู้ต่างๆ กลับเข้ามารวมเป็น "หนึ่ง"เดียว ได้อีกครั้งหนึ่ง

นอกนั้นผมยังมองไม่เห็นทางครับ
หมายเลขบันทึก: 547923เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2013 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2013 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบแนวคิดนี้มากครับ อาจารย์

มันลึกเกินกว่าจะมองเห็นใด้ด้วยตาเปล่า

ธรรมะ มองเข้าหาจิต พัฒนาจิตตน แจ่มแจ้งแล้วจึงรู้ภายในและภายนอก

วิทยาศาสตร์ มองออกไปจากจิต ไปสู่ภายนอก ไปเข้าใจภายนอก จน ไม่เข้าใจภายนอก และไม่เข้าใจจิตตน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท