จากข่าว "ศธ.เร่งวางแผนทำไอทีเพื่อการศึกษา" ที่ลงไว้ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ หน้า http://www.dailynews.co.th/education/228757
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ศธ.เร่งวางแผนทำไอทีเพื่อการศึกษา
ศธ.เตรียมทำแผนระยะยาวปรับปรุงการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมผลักดันจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นองค์กรกลางในการกำหนดทิศทางนโยบายการใช้สื่อเทคโนโลยีพื่อการเรียนการสอน
วันนี้ (26 ส.ค.56) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.กำลังเตรียมทำแผนระยะยาวเพื่อปรับปรุงการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นกระแสทั้งโลก ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากกระแสนี้ และจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ศธ. ได้มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณากันต่อไป คือ เรื่องของสื่อที่จะนำมาใช้กับแท็บเล็ต โดยปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีสื่อที่ผลิตแล้ว 2 รูปแบบ คือ แบบออฟไลน์ 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 2,310 บทเรียน ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และม.3 มี 1,020 บทเรียน และยังมีแอพพลิเคชั่นสำหรับแท็บเล็ต ชั้น ป.2 วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 400 เรื่อง และที่กำลังพัฒนาของชั้น ป.2 ป.3 ใน 5 วิชาหลัก อีก 1,100 เรื่อง
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อไปว่า สพฐ. ได้ทำวิจัยผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ใช้แท็บเล็ตในปี 2554-2555 พบว่า นักเรียน ป.1 ในวิชาภาษาไทย มีคะแนนเพิ่มขึ้น 56.82 % คณิตศาสตร์ 55.45 % วิทยาศาสตร์ 56.14 % สังคม 52.95% วิชาศิลปะ 53.64 % การอาชีพ 54.55% สุขศึกษา 57.27% ส่วนภาษาอังกฤษ 62.05 และยังพบว่า การใช้แท็บเล็ตมีข้อดี คือ เด็กสนุกสนาน มีแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้เด็กที่เรียนรู้ช้า หรือเด็กพิเศษมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหา คือ เนื้อหาในแท็บแล็ตส่วนใหญ่ยังเหมือนในหนังสือเรียน มีปัญหาทางเทคนิค เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว เครื่องร้อน เป็นต้น และหลายพื้นที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น ภาคใต้ และปัญหาที่ครูบางส่วนยังไม่มีแท็บแล็ต และไม่มีทักษะด้านไอซีทีทำให้ไม่สามารถสอนนักเรียนได้
“ขณะนี้ทราบว่า มีการผลิตครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไว้แล้วจำนวนมาก แต่ยังติดปัญหาเรื่องอัตราบรรจุ และที่สำคัญติดเรื่องใบประกอบวิชาชีพ เพราะฉะนั้นจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจนว่าต่อไปจะต้องมีครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนละ 1 คน ดังนั้นต่อไปจะต้องมีครูเทคโนโลยีฯ เพิ่มกว่าหมื่นคน“ นายจาตุรนต์กล่าว
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การพัฒนาครูมีส่วนสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาขาดครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งหากมีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมแล้ว แนวคิดการใช้ครู 1 คนต่อนักเรียน 25 คน ก็อาจปรับเปลี่ยนไป โดยอาจใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งสามารถใช้ครู 1 คนต่อนักเรียน 1,000 คนได้ โดยศธ.จะต้องกำกับดูแลการเรียนการสอนทางไกลให้บรรลุผลอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการเสนอให้จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นองค์กรกลางในการกำหนดทิศทางนโยบายการใช้สื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอน แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เพราะการจัดตั้งสถาบันดังกล่าวจะเป็นการรวมหน่วยงานหลายแห่งเข้าด้วยกันเป็นองค์การมหาชน ดังนั้นภารกิจหลักของศธ.จะต้องเร่งผลักดันจัดตั้งสถาบันนี้ขึ้นมาให้ได้ เพื่อให้การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เดินหน้าต่อไปได้
....................................................................................................................................
อยากบอกว่า ... เป็นข่าวที่คนอยู่ในวงการเทคโนโลยีการศึกษารอคอยมานาน กับการให้ความสำคัญกับศาสตร์ทางด้านนี้ เวลาเปิดสอบบรรจุครูทีไร ก็แทบไม่มีเอก "เทคโนโลยีการศึกษา" เลย ใครก็ไม่รู้ไปตีความว่า ให้รับศาสตร์ทาง "คอมพิวเตอร์ศึกษา" ก็พอ เพราะเหมือนกัน
เรื่องนี้ต้องโต้แย้งว่า คนละศาสตร์ คนละเรื่อง เทคโนโลยีการศึกษา เรามีวิธีการออกแบบสื่อให้เป็นไปตามการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมีการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น คอมพิวเตอร์ หลักสูตร จิตวิทยา ฯลฯ ไม่ได้ออกแบบทื่อ ๆ แล้วเรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ e-Learning เท่านั้น
ส่วน คอมพิวเตอร์ศึกษา จะออกไปทาง Programing ทางวิศวกรรมศาสตร์มากกว่า
ผู้บริหารโรงเรียนที่ไ่ม่เข้าใจว่า ก็ไปเหมารวมกว่า รับครูคอมฯ ทำได้ทุึกอย่าง อันนี้ต้องบอกว่า ท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนเสียแล้ว
ข่าวนี้ทำให้การผลิตครูเทคโนโลยีการศึกษาตื่นตัวมากขึ้น ขอให้มันเป็นจริงตามข่าวนั้นเถิด ไม่ใช่ ผลิตไปก็เป็นครูไม่ได้ อันนี้เซ็ง ศธ. มาหลายปีเต็มทีแล้ว
อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและไม่ยอมตีกับใครอย่างแน่นอน
บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...
...................................................................................................................................
รอกันจนเหงือกแห้งครับ นางฟ้า ชาดา ~natadee ;)...
"งบประมาณ" ไม่สำคัญเท่า "วิธีคิด" ครับพี่ บุษยมาศ ;)...
วิธีคิดที่ไม่ดี ไม่รู้จริง มันทำลายศาสตร์หลายศาสตร์ให้ตายจากโลกนี้ไปอย่างง่ายดายครับ
ขอบคุณครับพี่ ;)...
นอกจากจะมีครูทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาแล้วหลักสูตรสาขาการศึกษาวิชาเอกต่าง ๆก็ต้องบรรจุเรื่องการใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนวิชานั้นๆเป็นการเฉพาะด้วย
เรียน ท่านอาจารย์ GD ;)...
วิชากลางที่เปิดให้เด็กทุกเอกได้เรียน
พูดตรง ๆ คือ "ไม่ได้ช่วยสร้างทักษะให้เด็กได้จริง"
แค่สอนเพราะต้องสอนเท่านั้นเองครับอาจารย์
หากมีความเป็นครูอยู่บ้าง เขาจะรู้ว่า ควรทำอย่างไรให้เด็กได้ประโยชน์มากกว่าที่เป็น
ความคิดเห็นส่วนตัวครับ ;)...
ตามมาเชียร์เทคโนโลยีการศึกษา
ผมได้ความรู้จากวิชานี้มาก
รู้แบบนี้เรียนเทคโนฯดีกว่า
รอกันต่อไป...
กลับไปเรียน ป.ตรี ตอนนี้ยังทันนะครับอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง 555
รอด้วยคนครับ ;)...
เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะว่าวิชากลางที่เปิดให้เด็กทุกเอกได้เรียนไม่ได้ช่วยสร้างทักษะให้เด็กได้จริง แต่ก็มีประโยชน์ไม่น้อย ขาดไม่ได้เหมือนกัน เนื้อหาเช่นสื่อชนิดต่าง ๆ ประสิทธภาพของสื่อ การผลิต การใช้ การออกแบบการสอน เป็นต้นมีประโยชน์มาก วิชาเดียวทำให้เกิดความซาบซึ้ง มีทักษะเล็กน้อย จะเก่งกาจเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว( แต่ถ้ามีอาจารย์แบบที่ สอนเพราะต้องสอน ก็น่าเสียดายโอกาสที่ นศ. จะได้วิชา) โรงเรียนจึงต้องมีผู้ที่เรียนลึกและมีทักษะแท้จริงในแต่ละโรงเรียน ก็คือผู้ที่จบสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยตรงด้วย น่าจะมีทางเป็นไปได้คราวนี้
แต่ในหลักสูตรของวิชาเอกที่คอมพิวเตอร์ และ ไอซีทีสามารถช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ควรมีอีกหนึ่งรายวิชาเพื่อการสอนเฉพาะสาขาวิชาเอกนั้น เช่น ไอซีทีในการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเอกคณิตศาสตร์ สาขาอื่น ๆอาจมีความจำเป็นน้อยลงก็มีเพียงเป็นหัวข้อหนึ่งในวิชาวิธีสอน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ
ผมชอบฟังอาจารย์ GD ให้ความคิดเห็นครับ ;)...
เวลาเขียนหลักสูตรด้วยความไ่ม่มั่นใจในวิชากลางที่บังเอิญไปเจอ "สอนเพราะต้องสอน" นี่
ทำให้เราต้องกลับเข้ามาดูหลักสูตรตัวเองใช่ไหมครับว่า หากวิชากลางไม่ได้ช่วยอะไร
วิชาเอกของเราจะช่วยลูกศิษย์ของเราได้ไหม แบบนี้อาจจะพอช่วยได้อย่างดีครับอาจารย์
หลักสูตร ๕๓ ของเทคโนฯ ผมเป็นคนเขียน ก็พยายามใส่วิชาลักษณะนี้ลงไปครับ
เมื่อตอนนี้ ปี ๕๖ แล้ว ยังรู้สึกว่า ยัง ยังไม่ทันโลกพอ จะพยายามสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้นักเทคโนฯ ครับ
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ;)...
เน้นโรงเรียนประถมหรือมัธยมคะ..หรืออุดมศึกษา
จำได้ว่า ได้เรียนเทคโนโลยีทางการศึกษาตอนเรียนป.ตรี ป. 1 ค่ะ
ชอบวิชานี้มากค่ะ..^_^
..."ครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา"โรงเรียนละ 1 คน ...ไม่สำคัญเท่า...ครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะทำอะไรได้บ้างในโรงเรียน
พี่สี สีตะวัน ครับ
น่าจะเป็นทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครับ ;)...
ดังนั้น เมื่อมีแนวโน้มแบบนี้แล้ว ผู้ิผลิตครูจึงต้องกลับมาจัดการกับหลักสูตรของตัวเองให้ตามโลกทันไงครับ ท่านอาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา ;)...
ขอบคุณมากครับ ;)...
ขอเพิ่มเติมเรื่องการมีวิชาเฉพาะในวิชาเอก เช่นคณิตศาสตร์มีความจำเป็นไม่ใช่แค่เสริมวิชากลาง แต่เป็นเพราะมันสามารถช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้จจจอย่างยิ่งถ้าครูใช้เป็นนะ ไม่ใช่เอาไปแค่ให้นักเรียนสร้างสรรค์แค่เกม ในคณิตศาสตร์สามารถช่วยให้เกิดการค้นพบ ช่วยทดลองจนนักเรียนเกิดการสร้างความคิดรวบยอดที่ยากและซับซ้อน เกิดการตั้งข้อคาดเดา/สมมุตฺิฐานและพร้อมจะทดสอบกลายเป็นทฤษฏีใหม่ ๆ ช่วยแก้ปัญหาที่ยากกว่าระดับชั้นที่เรียน เช่นเอาโจทย์ ปีหนึ่งลงมาในชั้น ม4. ได้อย่างไม่ยาก บางเรื่องที่เคยสาธิตโดยการใช้กระดาษกว่าจะจบได้ใช้เวลาทั้งคาบ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใน 1 คาบอาจเปลี่ยนได้ทั้งขนาด ตัวแปร หมุน ยืด ยุบ สารพัดทั้ง สีสันน่าตื่นตาตื่นใจ สร้างคอนเซ็บที่แสนนามธรรมต่าง ๆได้อย่างดี
ในฮ่องกง หลักสูตรวิชาเอกคณิตศาสตร์ต้องผ่านการเรียนวิชานี้ นอกจากนี้ครูคณิตศาสตร์ต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำของความรู้มทางด้านไอทีเพื่อการสอนคณิตศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกามีวิชา _ไอทีเพื่อคณิตศาสตร์มีมานานพอ ๆกับ การมี พีซี เลย แต่ครูจะเอามาใช้แพร่หลายก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของ รร. บางคนเรียนมาเพียบแต่มาเจอสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานทั้งทางกายภาพและเชิงสังคมจิตวิทยาเข้าก็ต้องทำใจ คนรู้ไม่ได้ทำ คนทำไม่รู้ การไม่ใช้คน ให้ถูกกับงานเป็นความสูญเสียไม่รู้จบ การแก้ปัญหาด้วยการบริหารโดยไม่คำนึงถึงหลักวิชาก็เห็นผลเสียครั้งแล้วครั้งเล่า ---(พูดมากเนอะ)
ชอบ ๆ ครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...
มันให้เราทราบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแตกฉาน
มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนอย่างไร
ขอบคุณมากครับ ;)...
ป.ล. แวะมาอีกนะครับ
ครูดาหลาไม่ได้เรียนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แต่เป็นครูสอนภาษาไทย และสุขศึกษา ขอไปอบรมการใช้สื่อ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และบังเอิญได้รู้จัก Gotoknow ที่ได้รับคำแนะนำจากสมาชิกหลายๆท่าน จึงนำมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง จนทุกวันนี้ผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถติดตามการพัฒนาของลูกๆจากผลงานนักเรียนที่ครูนำขึ้นเว๊บไซต์ นักเรียนส่งงานครูทางอินเทอร์เน็ต อย่างนี้เรียกว่าครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้ไหมคะ เพราะทั้งโรงเรียนก็มีครูดาหลาคนเดียวที่ทำอย่างนี้ค่ะ และก็จะเกษียณแล้วค่ะ
...กลับมาอ่านอีกครั้งนะคะอาจารย์..."ครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา"โรงเรียนละ 1 คน ไม่สำคัญเท่า...ครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะทำอะไรได้บ้างในโรงเรียน ...หมายถึงเมื่อมาในตำแหน่งครู...ก็ต้องมีชั่วโมงสอนตามที่กำหนด...สมัยก่อนยุ่งยากมากเรื่องการกำหนดตำแหน่งเพราะจะเกี่ยวข้องกับชั่วโมงสอนมาตำแหน่งครูธุรการ ครูการเงินก็ต้องมีชั่วโมงสอน ก็ต้องสอนในวิชาที่มีให้สอนในหลักสูตรบางคนก็ไปสอนวิชาศิลปะก็มี ...จึงสงสัยถามว่าครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะทำอะไรได้บ้าง? ก็คือจะสอนเด็กได้อย่างไร? ถ้าไม่ได้สอนก็ทำผลงานวิชาการไม่ได้ ไม่มีความก้าวทางอาชีพครู...เพราะเทคโนโลยี่ทางการศึกษา...เป็นเรื่องของการผลิต การใช้วัสดุอุปกรณ์ การใช้เทคโนโลยี่ใหม่ที่ทันสมัย ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน... ที่ครูจะต้องนำไปใช้กับเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ถูกต้อง ทันสมัย และรวดเร็ว มากกว่าที่ครูจะใช้สื่อการสอนเดิมๆ ...ซึ่งครูทุกคนจะต้องเรียนรู้ในเทคโนโลยี่เพื่อการศึกษา...จึงสงสัยว่ามีครูเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเข้ามา 1 คน เพื่อดูแลเก็บรักษาและการผลิตสื่อ วัสดุอุปกรณ์ให้ครูในโรงเรียนใช้ หรือครูเทคโนโลยี่จะมาสอนเด็กให้ใช้แท็บเล็ตเป็น ทั้งโรงเรียน ?...ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยยังพอมองเห็นภาพอาจารย์เทคโนโลยี่เพื่อการศึกษา เพราะเป็นวิชาหนึ่งที่ต้องเรียนนะคะ...ขอบคุณค่ะ...
พี่ครู KRUDALA ถือเป็นคุณครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่าครับ ;)...
เรียน ท่านอาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา ;)...
การวางระบบที่จะต้องมีครูเทคโนฯ นั้น หากไม่ชัดเจนอย่างอาจารย์ว่า ก็จะทำให้ขาดความก้าวหน้าจริงครับ ศธ.ต้องมีวิธีคิดที่รัดกุมและภาระงานอื่นที่สามารถทดแทนการขอผลงานทางวิชาการได้ มิฉะนั้นก็ไม่ต่างจาก "เจ้าหน้าที๋โสตทัศนูปกรณ์" เท่านั้น
ส่วนเทคโนโลยีการศึกษาเป็นมาตรฐานหนึ่งในการขอใบประกอบวิชาชีพครูในปัจจุบัน นักศึกษาถูกบังคับให้ต้องเรียนแน่นอน ส่วนรายวิชาอื่น ๆ ที่สาขาเทคโนฯ จะสอนก็มีอีกมากมาย เช่น การสร้างจัดทำนวัตกรรมการศึกษาที่ถูกต้อง ไม่ใช่ ทำผิดบ้าง ถูกบ้าง ในปัจจุบัน เพราะขาดความเชี่ยวชาญไป
แถมยังยุึคปัจจุบัน นวัตกรรมพื้นฐานถึงอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นเครื่องสำคัญในการทำผลงานฯ อีกด้วย
ดังนั้น ขอให้ระบบเอื้ออำนวยกับครูเทคโนฯ ตัวจริง ด้วยเถอะครับ เพี้ยง
ขอบคุณครับอาจารย์ ;)...
ครูเทคโนโลยีทางการศึกษาโรงเรียนละ 1 คน น่าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งนักเทคโนโลยีทางการศึกษาโรงเรียนละ 1 คน ที่มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของตนเองทำนองเดียวกับตำแหน่งนักวิชาการการศึกษา อาจไปสู่ตำแหน่งบริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการได้ ถ้าเป็นในคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยก็มีการเรียนการสอน แต่ในโรงเรียนจะไม่มีการเรียนการสอน
งานของนักเทคโนโลยีทางการศึกษาในโรงเรียนก็คือส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา วางแผนการใช้ การจัดหา การผลิต การให้บริการแก่ครูในการจัดหาและการผลิต มีเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคเป็นผู้ช่วย โรงเรียนใหญ่ ๆ มีคนเดียวอาจไม่พอ
มีครูจำนวนมากอยากใช่สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยากทำบทเรียน _อี เลอร์นิง อยากทำสื่อมัลติมีเดีย แต่อาจทำเองไม่เป็นและไม่มีเวลาพอต้องสอนแทบทั้งวัน ไหนจะกิจกรรมอื่น ๆ นักเทคโนจะช่วยได้ว่าครูจะต้องทำอะไร แล้วส่วนใดส่งมาที่ฝ่ายเทคโนให้ผลิต เช่นครูส่งเนื้อหามาให้ ครูและนักเทคโนร่วมกันเขียนสคริปต์ ทำสตอรีบอร์ด จากนั้นนักเทคโนโลยีผลิตเป็นสื่อให้ บางเรื่องไม่ต้องทำเองมีในท้องตลาด หน่วยนี้ก็สามารถให้ข้อมูลแก่ครูพิจารณา เมื่อตกลงใช้ก็เป็นฝ่ายจัดหาและให้บริการยืมใช้ นอกจาก นี้มีเทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ ๆที่เข้ามา นักเทคโนโลยีของโรงเรียนจะต้องเป็นผู้จัดอบรมภายในแก่ครูในโรงเรียนให้ตามทันความก้าวหน้า
ขอเชียร์ให้มีตำแหน่งนี้ในโรงเรียนพร้อมงบประมาณในการดำเนินงานที่เหมาะสม
ชัดเจนมากมายครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...
คิดถึง "นักเทคโนฯ" เหมือน "น้ำมันหล่อลื่น" ที่ทำให้กระบวนการเรียนการสอนของครูคล่องตัวมากขึ้น
มีทางเลือกมากขึ้น ไม่ใช่ เลือกที่จะจ้างร้านด้านนอกทำให้เหมือนสมัยนี้ เนื่องจากไม่ีมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ใกล้ตัว
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ;)...
สนับสนุนความความคิดของอาจารย์ครับ ครูเทคโนโลยี ควรเป็นนักออกแบบระบบการสอน จากการประยุกต์ใช้สื่อ วิธีการ กระบวนการ ทักษะการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่ครูคอมพิวเตอร์ที่มาจากวิศวกร ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ หรืออะไรประมาณนั้น ซึ่งเห็นอยู่หลายแห่ง ที่เป็นครูเก่งแต่สอนไม่เป็น เด็กเก่งก็เก่งไป เด็กอ่อนก็ยังอ่อน คงลืมไปว่า ครูมืออาชีพคือนักออกแบบการสอน
ตรงประเด็นเป๊ะครับ ท่าน สมาน เขียว ;)...
ขอบคุณมากครับ ;)...
ผมเรียน ป.โท ทางด้าน คอมพิวเตอร์ศึกษา เพื่อการนี้แหละ :P
แต่........ยังไม่มีวุฒิครูเลยครับ 555