กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย


"กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย" นี้เกิดจากการรวมกลุ่มกันของกลุ่วิจัยสถาบันของคณะทันตแพทยศาสตร์ มข. ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด บอกเล่าถึงปัญหา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข สกัดได้เป็นบทเรียน "งานวิจัยสร้างสรรค์" เพื่อการพัฒนากระบวนงาน ดังต่อไปนี้ 

ปัญหาและอุปสรรค

1. ไม่มีเวลาทำวิจัย เนื่องจากภารงานประจำมาก
2. ความรู้และแนวทางที่ได้รับจากวิทยากรช่วงจุดประกายแนวคิดให้เริ่มทำวิจัยสถาบัน ไม่ตรงกับวิทยากรที่หน่วยงานเจ้าของทุนให้ความรู้ทำให้นักวิจัยเกิดความสับสน และท้อไม่อยากทำวิจัย 
3. หน่วยงานเจ้าของทุนมีขั้นตอนกระบวนการทำงานที่นานเกินไป จนงานวิจัยบางชิ้นเลยกำหนดระยะเวลามี่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
4. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย อยู่ต่างหน่วยงาน ทำให้เป็นอุปสรรค์ต่อการขอรับคำปรึกษาและแนะนำ 

แนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practic
1. นักวิจัยต้องไม่เลิกล้มความตั้งใจในการทำวิจัย ควรวางแผนเพื่อเริ่มต้นใหม่ในปีต่อไป 
2. เสนอให้ปรับกระบวนการทำงานของหน่วยงานเจ้าของทุน เนื่องจากโครงการวิจัยสถาบันของมหาวิทยาลัยมีจำนวนมาก จึงเห็นควรให้แบ่งช่วงการพิจารณาทุนเป็นงวดๆ ไม่ควรรอพิจารณาพร้อมกันทีเดียว
3. ให้นักวิจัยที่ได้รับทุนช่วยกันแชร์ข้อมูล เช่น หากเป็นการทบทวนวรรณกรรมเรื่องคล้ายๆ กัน ก็ให้แชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน
4. จัดประชุมกลุ่มเพื่่อเป็นเวทีที่ใช้เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน และช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน  

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 
1. เชิญวิทยากรประจำกลุ่มที่หน่วยงานเจ้าของทุน ได้ประสานงานไว้แล้วมาเป็นวิทยากรหรือพี่เลี้ยงให้กับนักวิจัยต่อไป
2. จัดเวทีให้นักวิจัยได้พบปะกันบ่อยขึ้นเพื่อจะได้มีโอกาสช่วยเลือซึ่งกันและกัน 

   

หมายเลขบันทึก: 546924เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท