สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.6/1


สวัสดีค่ะ นักเรียนชั้น ม.6/1 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม
     การเรียนการสอนวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้น ม.6 นักเรียนปฏิบัติโครงงาน ตามแนวคิด บันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งในขั้นที่ 5 นักเรียนต้องมีการบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯในเรื่องที่นักเรียนจัดทำโครงงาน พร้อมใส่ภาพประกอบให้สวยงาม เป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ อันเป็นการช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่คู่เมืองอุทัยธานีต่อไป

 

ดังตัวอย่าง นักเรียนทำโครงงานเรื่อง "งานประเพณีตักบาตเทโว" ให้นักเรียนบันทึกส่งดังนี้ค่ะ
1. เขียนสรุปองค์ความรู้เป็นความคิดรวบยอดบอกลักษณะสำคัญ/กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ส่งภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนจัดทำ 1 ภาพ
3. พิมพ์ชื่อกลุ่ม ชื่อ-สกุล เลขที่ ของสมาชิกทุกคน  ที่ด้านล่างของภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เช่น

งานประเพณีตักบาตรเทโว วัดสังกัสรัตนคีรี ถือเป็นประเพณีที่สำคัญในวันออกพรรษาของจังหวัดอุทัยธานี จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ตุลาคม) ของทุกปี พระสงฆ์ที่จะพรรษาในอำเภอเมืองอุทัยธานี ประมาณ 500 รูป จะเดินลงบันได 499 ขั้น เป็นแถวลงมาจากยอดเขาสะแกกรัง นำด้วยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ลงมารับบิณฑบาตรข้าวสารอาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชนที่ลานวัด และรวมไปถึงการตักบาตรด้วยขาวต้มลูกโยนด้วย ในวันนั้นประชาชนจะมาร่วมทำบุญกันตักบาตรอย่างพร้อมเพียง นับเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมจาก นักท่องเที่ยวทุกปี ในวันนี้คหบดีของจังหวัดอุทัยธานี จะนำงาช้างเก่าแก่ที่สะสมไว้มาจัดโต๊ะหมู่บูชา เพื่อรำลึกถึงคุณค่าที่ช้างมีต่อชาวอุทัยธานีซึ่งแต่ก่อนมีอาชีพทำไม้ นักท่องเที่ยวจะมาชมและถ่ายภาพ เป็นที่ระลึกไว้ด้วย

ประเพณีตักบาตรเทโว

สมาชิกกลุ่ม 61_group7  
    1. นายศุภสิทธิ์ ศรีเฉลียว       เลขที่ 8
    2. นางสาวนภัสสร งามขำ     เลขที่ 22
    3. นางสาววริศรา กางกรณ์    เลขที่ 32
    4. นางสาวอังคณา ดิษเจริญ   เลขที่ 42

หมายเลขบันทึก: 546918เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

    

ดีมากๆ ค่ะ ...... สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงาน...เด็กๆจะได้บทสรุป ที่เกิดคุณค่า นะคะ .... ขอบคุณบันทึกดีดี นี้ค่ะ

        สุ่มไก่คุณตา พบว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เนื่องจากสมัยก่อนนั้นนิยมเลี้ยงไก่ชนกันอย่างแพร่หลายรวมถึงในยุคปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ จนถึงผู้ใหญ่สุ่มไก่คุณตาก็ยังเป็นที่นิยมของลูกๆค้าในวัยต่างๆมากมาย และกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวต่างๆของสุ่มไก่คุณตา มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดอุทัยธานีเพื่อที่จะเป็นการอนุรักษ์และเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านนี้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไปจากแบบการประเมินระดับความพึงพอใจบอกได้ว่าสุ่มไก่คุณตา เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีสมควรที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นเหมาะแก่การประกอบอาชีพเสริมเนื่องจากสุ่มไก่ มีความคงทนวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นดีแต่ควรที่จะปรับปรุงรูปแบบให้แปลกใหม่เพราะรูปแบบเป็นรูปแบบดั้งเดิม

สุ่มไก่คุณตา

 

 สมาชิกกลุ่ม  61group4

1.นายจิรพัฒน์  แดงดีมาก  เลขที่1

2.นายธนพล    เทพรัตน์   เลขที่  7

3.นางสาวสุนัดดา  เกตุเส็ง  เลขที่  35

4.นางสาวอุษา    มากอง   เลขที่  37

ที่อยู่เว็บไซต์  http://202.143.169.20/utw2556/5661group4/index.html

นายณัฐกานต์ จั่นหนู

     จากการศึกษาค้นคว้า “แพลูกบวบ” เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าแพลูกบวบเป็นยานพาหนะที่ใช้ขนสิ่งของและสินค้าทางเกษตรกรรม เพื่อค้าขายในสมัยก่อน เป็นที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเป็นกระชังเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำเพื่อเลี้ยงชีพและค้าขายเนื่องจากสมัยก่อนเส้นทางการเดินทางโดยถนนมีความยากลำบากและมีระยะทางไกลใช้เวลามาก  ผู้คนในสมัยนั้นจึงนิยมเดินทางทางน้ำด้วยเรือและแพลูกบวบเพราะมีความสะดวกกว่าการใช้ถนน กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของแพลูกบวบของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

แพลูกบวบ

สมาชิกลุ่ม  61group12
1.  นายณัฐกานต์       จั่นหนู         เลขที่   14
2.  นางสาวดวงกมล   จำเนียลพล    เลขที่   19
3.  นางสาววริศรา      บุญศรี         เลขที่   29
4.  นางสาวสุภาณีย์    สงัด           เลขที่   44

นายอาสาฬห์ นุกูลอุดมพานิชย์ เลขที่ 12

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาภูมิปัญญา ร้านน้ำปั่นพี่ปลา เป็นร้านน้ำปั่นที่คนนิยมไปซื้อกันซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่งของจังหวัดอุทัยธานี
เพราะร้านพี่ปลาน้ำปั่นเป็นร้านน้ำปั่นที่เกิดจากความชอบของเจ้าของร้านที่ลองทำด้วยตนเองภายหลังได้มีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำน้ำปั่น
และคิดค้นสูตรน้ำปั่นให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มรสชาติและความอร่อยมากขึ้นกว่าเดิม โดยปัจจุบันมีผู้จำหน่ายน้ำปั่นจำนวนมา กกลุ่มของข้าพเจ้าจึนำความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำปั่น มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อที่จะเป็นการส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ให้กับร้านพี่ปลาน้ำปั่น

พี่ปลาน้ำปั่น

สมาชิกกลุ่ม  61group10

1.นายศุภณัฐ  วิโนทัย เลขที่ 10

2.นายอาสาฬห์  นุกูลอุดมพานิชย์     เลขที่ 12

3.นางสาวพัชราภรณ์  ตรุโนภาส  เลขที่ 23

4.นางสาวสุหรรษา ศักดิ์ศิริโกศล เลขที่ 36

ที่อยู่เว็บไซต์  http://202.143.169.20/utw2556/5661group10/index.html

นายวันชนะ โสตถิพันธ์

        เรื่อง  ข้าวต้มลูกโยนหลากหลายไส้  พบว่ามีวิธีขั้นตอนการทำที่ไม่สับซ้อน  สามารถศึกษาได้จากหนังสือ  เว็บไซต์  และรายงานเล่มนี้  แล้วสามารถนำไปศึกษาและไปประดิษฐ์เป็นของใช้ด้วยตัวเอง  โดยนำวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  เช่น  เผือก  มันเทศ  กล้วยและอื่นๆ  มาประดิษฐ์เป็นเป็นไส้ของข้าวต้มลูกโยน  เพื่อที่จะใช้สิ่งของที่มีอยู่รอบตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอีกทั้งยังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย  จากแบบประเมินความพึงพอใจพบว่า ลักษณะที่แปลกใหม่ของข้าวต้มลูกโยนเป็นที่น่าสนใจและเป็นจุดขายของสินค้า อีกทั้งรสชาติยังเป็นที่ต้องกรของผู้บริโภคในการประเมินครั้งแรกทางคณะผู้จัดทำได้รับข้อเสนอแนะในเรื่องของความสวยงามของการห่อควรจะมีการพัฒนาให้เรียบร้อยกว่าเดิม ทางคณะผู้จัดทำจึงได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นแนวทางในการปรับปรุงข้าวต้มลูกโยนและได้ทำแบบประเมินในชุดที่สองพบว่าข้าวต้มลูกโยนมีความสวยงามรสชาติอร่อยขึ้นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและยังส่งเสริมแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

ข้าวต้มลูกโยน

สมาชิกลุ่ม  61group5
1.  นายวันชนะ  โสตถิพันธ์                 เลขที่   15
2.  นางสาวนฤมล  จันทร์วิบูลย์          เลขที่   20
3.  นางสาวพัชรินทร์  เทียมใหม่         เลขที่   24
4.  นางสาวชุติกาญจน์  ไวเชิงค้า       เลขที่   39

ที่อยู่เว็บไซต์  ::  http://202.143.169.20/utw2556/5661group5/

นางสาวณัฐริกานต์ พัฒนาภรณ์ เลขที่ 17

 

จากการทำเรื่องบะหมี่มีนาทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับ

การทำบะหมี่อย่างถูกต้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้

ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าได้

ร้านบะหมี่มีนามีประสบการณ์ในการทำบะหมี่มากกว่า 30 ปี

จึงมั่นใจได้ว่าบะหมี่มีนามีความดั้งเดิมและ

สามารถหารับประทานได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว

สำหรับคนที่ชอบทานอาหารจานด่วนหันมาทานบะหมี่เพื่อเปลี่ยนรสชาติ

กับบรรยากาศเพื่อความรื่นรมย์ในการทานอาหารนะค่

สมาชิกกลุ่ม  61group11

1. นายวิรุฬห์ ลีลาชัย เลขที่ 7

 

2.นางสาวณัฐริกานต์ พัฒนาภรณ์ เลขที่ 17

 

3.นางสาวมิลรัตน์ ยิ้มรอด เลขที่ 28

4.นางสาวสรัญญา ชีวะคำนวณ เลขที่ 33

 

 

 

 

 

 

นายณัฐพร เสิบกลิ่น

จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง ปลาแรดทอด พบว่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่มีมาช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เนื่องจากสมัยก่อนนั้นมีผู้คนอาศัยอยู่บนแพในแม่น้ำสะแกกรังและได้ประกอบอาชีพ
เลี้ยงปลาแรดในกระชัง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผุ้คนนิยมนำปลาแรดประกอบอาหาร
หลายประเภทหนึ่งในนั้นคือ ปลาแรดทอด และกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำข้อมูลต่างๆของ
ปลาแรดทอด มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อที่จะเป็นการสืบสานประเพณีด้านอาหารของจังหวัดอุทัยธานีและเป็นส่วนหนึ่ง
ที่จะทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านนี้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไป จากแบบการประเมินระดับความพึงพอใจบอกได้ว่าปลาแรดทอดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่ดีสมควรที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นเหมาะแก่การประกอบอาชีพเสริมเนื่องจาก
ปลาแรดทอดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีก้างน้อย สามารถบริโภคกันได้หลายคนจึง
ทำให้ในการบริโภคแต่ละครั้งเราก็จะสูญเสียปลาแค่ 1 ตัว ดังนั้นเราจึงไม่ต้องกังวล
เกี่ยวกับปัญหาการสูญพันธุ์ของปลาแรด

สมาชิกกลุ่ม  61group6

1.นายจิรวัฒน์  โคกพูน

2.นายณัฐพร  เสิบกลิ่น

3.นางสาวศริลรา  น้อยวงศ์

4.นางสาวศิริวรรณ  สุระดม

ที่อยู่เว็บไซต์  http://202.143.169.20/utw2556/5661group6/index.html

นางสาวกัญญาณัฐ ปิ่นทอง

      ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานีเพลงพื้นบ้านท่าโพ พบว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ เนื่องจากในอดีตบ้านท่าโพเคยเป็นจุดค้างแรมของขบวนค้าขายหรือกองทัพ ชาวบ้านจึงได้มีการร้องรำทำเพลงสืบทอดมาเป็นเพลงพื้นบ้านท่าโพจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้เพลงพื้นบ้านท่าโพได้มีการสืบสานและอนุรักษ์เผยแพร่โดยคณะกลุ่มอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี
         กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวต่างๆของเพลงพื้นบ้านท่าโพ มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมของชาวบ้านท่าโพสืบต่อไป

 

นางสาวกัญญาณัฐ   ปิ่นทอง ม.6/1 เลขที่ 38

นางสาวธนิกา   พัฒโนทัย   ม.6/1 เลขที่40

นางสาวนฤมล  รักสัตย์  ม.6/1 เลขที่ 41

นางสาวสมพร   แสนแก้ว ม.6/1 เลขที่ 43

นางสาวพัสสุ สีแก้วน้ำใส

กาแฟโบราณร้านป้าทองเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีที่มีมา 42 ปีแล้วสมัยก่อนคนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกาแฟโบราณเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันนี้ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับกาแฟสมัยใหม่ขึ้นแต่ร้านกาแฟโบราณก็ยังเป็นที่นิยมกับกลุ่มวัยต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุโดยคณะผู้จัดทำได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับประวติความเป็นมาต่างๆมาเผยแพร่งเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีเพื่อให้คนรุ่นหลังหันมานิยมรับประทานกาแฟโบราณมากขึ้น

กาแฟโบราณป้าทอง

สมาชิกกลุ่ม  61group9

1.นายนุชากร  นิโรจน์

2.นางสาวนฤมล  อ้นแพ

3.นางสาวพัสสุ  สีแก้วน้ำใส

4.นางสาววริศรา  โตวิวัฒน์

 

ที่อยู่เว็บไซต์  http://202.143.169.20/utw2556/5661group9/index.html

นางสาวกัญญาณัฐ ปิ่นทอง

        ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานีเพลงพื้นบ้านท่าโพ พบว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ เนื่องจากในอดีตบ้านท่าโพเคยเป็นจุดค้างแรมของขบวนค้าขายหรือกองทัพ ชาวบ้านจึงได้มีการร้องรำทำเพลงสืบทอดมาเป็นเพลงพื้นบ้านท่าโพจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้เพลงพื้นบ้านท่าโพได้มีการสืบสานและอนุรักษ์เผยแพร่โดยคณะกลุ่มอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี
         กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวต่างๆของเพลงพื้นบ้านท่าโพ มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมของชาวบ้านท่าโพสืบต่อไป

เพลงพื้นบ้านท่าโพ

นางสาวกัญญาณัฐ   ปิ่นทอง ม.6/1 เลขที่ 38

นางสาวธนิกา   พัฒโนทัย   ม.6/1 เลขที่40

นางสาวนฤมล  รักสัตย์  ม.6/1 เลขที่ 41

 

นางสาวสมพร   แสนแก้ว ม.6/1 เลขที่ 43

ที่อยู่เว็บไซต์ : http://202.143.169.20/utw2556/5661group3/

นางสาวจริยาพร ฟักผล

แม่น้ำสะแกกรังเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญกับชาวอุทัยธานีเป็นอย่างมากโดยเป็นทั้งที่อยู่อาศัย
แหล่งประกอบอาชีพ ตลอดจนเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาต่างๆอาทิเช่น
การแข่งเรือยาว โดยสิ่งที่มีชื่อเสียงของแม่น้ำสะแกกรังนั่นก็คือปลาแรดที่มีเนื้อนุ่ม
หอมหวาน หลายคนเชื่อว่าที่เป็นแบบนี้เพราะแม่น้ำสะแกกรังมีแร่ธาตุไหลเวียนดี นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้แม่น้ำสะแกกรังก็ยังมีความสำคัญกับชาวอุทัยธานีเหมือนเดิม เรือนแพที่ลอยข้างฝั่งแม่น้ำสะแกกรังก็ยังคงอยู่มีกระชังปลาที่เป็นแหล่งทำมาหากิน
ของชาวเรือนแพ ตลอดจนวัดโบสถ์ที่เป็นที่พึ่ึงพิงทางจิตใจของชาวบ้านมาช้านาน

แม่น้ำสะแกกรัง

 

1. นาย ตุลชัย เขียวชอุ้ม เลขที่ 6

 

 

ที่อยู่เว็บไซต์ : http://202.143.169.20/utw2556/5661group11/index.html

นางสาวจริยาพร ฟักผล

แม่น้ำสะแกกรังเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญกับชาวอุทัยธานีเป็นอย่างมากโดยเป็นทั้งที่อยู่อาศัย
แหล่งประกอบอาชีพ ตลอดจนเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาต่างๆอาทิเช่น
การแข่งเรือยาว โดยสิ่งที่มีชื่อเสียงของแม่น้ำสะแกกรังนั่นก็คือปลาแรดที่มีเนื้อนุ่ม
หอมหวาน หลายคนเชื่อว่าที่เป็นแบบนี้เพราะแม่น้ำสะแกกรังมีแร่ธาตุไหลเวียนดี นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้แม่น้ำสะแกกรังก็ยังมีความสำคัญกับชาวอุทัยธานีเหมือนเดิม เรือนแพที่ลอยข้างฝั่งแม่น้ำสะแกกรังก็ยังคงอยู่มีกระชังปลาที่เป็นแหล่งทำมาหากิน
ของชาวเรือนแพ ตลอดจนวัดโบสถ์ที่เป็นที่พึ่ึงพิงทางจิตใจของชาวบ้านมาช้านาน

แม่น้ำสะแกกรัง

 

1. นาย ตุลชัย เขียวชอุ้ม เลขที่ 6

 

 

ที่อยู่เว็บไซต์ : http://202.143.169.20/utw2556/5661group11/index.html

นางสาวพีรดา ขันติวงษ์

            จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานีเรื่องตามรอยเสด็จประพาสต้น รัชกาลที่ 5 พบว่าการเสด็จประพาสต้นแม้จะเกิดขึ้นเมื่อนานมามากแล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 แต่ยังคงมีร่องรอยหลักฐานสำคัญไว้ให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เข้าไปรับชมศึกษาประวัติความเป็นมาอยู่หลายอย่าง อาทิเช่น บาตรฝาประดับมุข ย่าม ตะเกียงและพระแสงราชศัตราวุธ อีกทั้งยังมีผู้รู้อย่างคุณปราโมช  เลาหะวรรณธนะที่สามารถให้ความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์เมืองอุทัยธานีทั้งในเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆได้อีกด้วยกลุ่มของข้าพเจ้าจึงเลือกนำข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่ในจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อให้ผู้ที่สนใจและเยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของจังหวัดอุมัยธานีและเพื่อเป็นการร่วมกันอนุรักษ์และเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุทัยยังคงอยู่คู่กับเราชาวจังหวัดอุทัยธานีสืบไป

นางสาวนัทกานต์  ลือทุกข์สิ้น เลขที่ 22

นางสาวพีรดา     ขันติวงษ์    เลขที่ 26

นางสาวมาริสา    สุไทย       เลขที่ 27

นางสาวสิริวิมล    บัววัฒน์     เลขที่  34

ที่อยู่เว็บไซต์: http://202.143.169.20/utw2556/5661group1/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท