การประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคตะวันออกโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.ชลบุรี)


สวัสดีครับ ชาว blog

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2556 ผมเเละทีมงานมาจัดประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคตะวันออก โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.ชลบุรี)  ณ สวนนงนุช

เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย  ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย อุบลราชธานี  ยโสธร สุรินทร์ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์  มุกดาหาร

ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช

ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

ภาคกลางที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับเเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด Deepening Workshop ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                       จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 546060เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2013 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2013 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

สรุปการจัดประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคตะวันออก
วันที่ 20 สิงหาคม 2556
ณ สวนนงนุช จ.ชลบุรี

กล่าวรายงาน
นางสาวแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี
หัวหน้ากลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินการโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการท่องเที่ยวและกีฬาทุกภาคส่วน ให้มีความพร้อมและความตระหนักในการเตรียมความพร้อมในด้านการบริหารจัดการแบบองค์รวม สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในด้านการบริหารการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างโอกาสจากการเปิดประชาคมอาเซียนและได้เชิญมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ และได้จัดประชุมปฏิบัติการ เชิงลึกในคลัสเตอร์ กลุ่มท่องเที่ยวนำร่อง 5 ครั้ง ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก
การประชุม ในวันนี้จะเป็นการอภิปรายสะท้อนแนวคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ และแบ่งกลุ่มระดมความคิดเส้นทางสู่ความสำเร็จเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาไทยกลุ่มภาคตะวันออก ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดภาคตะวันออก รวม 120 คนได้แก่ ผู้แทนจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ททท.ประจำจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด สมาคม/ชมรมธุรกิจท่องเที่ยว/กีฬา เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนและเครือข่ายด้านกีฬา เป็นต้น อีกทั้ง ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านท่องเที่ยวและกีฬา

กล่าวเปิด ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “โอกาสและความท้าทายของท่องเที่ยวและกีฬาไทยในเวทีอาเซียน”
ดร.เสกสรร นาควงศ์
รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ตามที่ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพและกระจายรายได้ ให้แก่ประชาชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้รับการมอบนโยบายจากรัฐบาลในการจัดทำยุทธศาสตร์บูรณาการการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสองล้านล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงการปรับตัวเพื่อรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยวและกีฬาไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้มีการจัดการประชุมปฏิบัติการในวันนี้ขึ้น โดยมุ่งหวัง ให้เป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังวัตถุประสงค์ของโครงการที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ได้กล่าวมาแล้ว
การประชุมในวันนี้ ผมหวังว่าเราจะมาร่วมกันในการรับความรู้ จากมุมมองและทัศนะของท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้เกียรติมาเป็นผู้ร่วมอภิปราย และร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางสร้างโอกาสและกำจัดจุดอ่อนเพื่อความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

สิ่งที่ต้องการคือการสร้างทัศนคติอะไรให้กับคนในประเทศไทยเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา เน้นการนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ๆ ให้เป็นแผน Action Plan จริง ๆ ควรเริ่มอะไร และไปสู่การปฏิบัติตรงไหน แล้วเลือกเป็น Master Piece ที่ปลุกกระแสจริง ๆ ทั้งด้านท่องเที่ยวและด้านกีฬาขอให้เน้นทั้งเศรษฐกิจ และสังคมด้วย
- เด็กรุ่นหลังต้องรู้ไม่น้อยกว่า 3 ภาษา
- อยากให้เน้นในเรื่อง KUSA
1. K- Knowledge องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ประเทศไทยต้องรู้อะไร และประชาคมได้อะไรจากการเปิดประชาคมอาเซียน ถ้าจะได้ต้องมี Competency เพียงพอที่จะไปแข่งขันได้
2. U-Understanding ต้องเข้าใจเรื่อง Process องค์ความรู้ทั้งหมดของการเป็นประชาคมอาเซียน
3. S-Skill เรื่องทักษะ มีทักษะอะไรที่เป็น Core Competency จริง ๆ
ถ้าต้องการให้การท่องเที่ยวสร้างรายได้ มีทักษะตรงนี้หรือไม่
4. A-Attitude ปรับทัศนคติ ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ได้หรือไม่
ทำอย่างไรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะยอมรับการในการเปลี่ยนแปลง และเตรียมตัวการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ภาคเอกชนที่เป็นตัวหลักต้องทำอะไร ขอให้เน้นเรื่องสิ่งที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์

การอภิปราย เรื่อง “องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
“ศักยภาพอาเซียน กับการท่องเที่ยวและกีฬาไทย”
โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
- วัตถุประสงค์ในจังหวัดภาคตะวันออก มี 2 เรื่อง คือการท่องเที่ยวและกีฬาในยุคเปิดเสรีอาเซียนจะทำอะไร
- มีการทำวิจัย ได้พบว่า
1. การลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ – ทรัพยากรธรรมชาติ การเงิน เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์จะเป็นส่วนสำคัญ
ตัวละคร 4 กลุ่ม
1. นักวิชาการ และเยาวชน
2. ผู้ประกอบการ และผู้ทำงานในธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ๆ
3. ผู้นำท้องถิ่น มีนายกอบต. นายกอบจ. เทศบาลต่าง ๆ
4. ภาคประชาชน
สิ่งสำคัญที่ใช้ในโครงการ ได้แก่ 3 ต. คือต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง
โครงการที่ทำ 3 เรื่อง ได้แก่
1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และชุมชน
อยากให้เน้นองค์ความรู้ที่แต่ละคนนำมาพูดในวันนี้ หลักสูตรจะไปนำ เสนอความคิดใหม่ ๆ ให้มีข้อเสนอแนะบางอย่างที่นำไปปรับใช้
Value Added – การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว
Value Creation – การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งใหม่ เงินที่จะเข้ามาในอนาคต
Value Diversity – การสร้างมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย
- องค์ความรู้มาจาก 3 เรื่องใหญ่ ๆ อาจมีการเสนอแนะโปรเจคใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น อยากให้มีการสำรวจตัวเองว่าขณะนี้อยู่ที่ไหน ไปอย่างไร ไปสำเร็จได้อย่างไรและใช้ 3 V เป็นหลัก มีเรื่องสังคม วัฒนธรรม ความมั่นคง
- การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชนไม่ควรเป็นความฝัน ควรเป็นการบริหารจัดการที่ทันสมัย
- องค์ความรู้ต้องเกี่ยวกับ AEC รองรับ AEC แต่กระเด้งไปสู่โลกาภิวัตน์
- AEC คือการทำให้พัทยามีคุณค่ามากขึ้น ต้องทำให้จังหวัดอื่นได้ประโยชน์จากเรา ต้องกระจายนักท่องเที่ยวให้ไปสู่จังหวัดอื่น
- ต้องนึกถึงท่องเที่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การมี AEC ทำให้คิด และวิเคราะห์ร่วมกัน
- ข้อดีของ Project นี้คือ Networking เราได้มีโอกาสคิดร่วมกัน

“ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน อย่างยั่งยืน”
โดย นายพิชัย รักตะสิงห์
ผู้อำนวยการกองตลาดอาเซียนเอเชียใต้และแปซิฟิคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- กล่าวถึงตัวอย่างงาน Consumer Fair ที่สิงคโปร์ พบว่านักท่องเที่ยวเดินทางออกนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 8 ล้านคน นับเป็นงานที่สิงคโปร์ให้ความสนใจอย่างมาก
- ตัวอย่างบริษัท CTC บริษัทนำเที่ยวใหญ่ของสิงคโปร์ ยังมี รายการนำเที่ยวมีการลดราคาสินค้า บุคลากรท่องเที่ยวของแต่ละบริษัท มีผู้นำ ผู้จัดการเข้ามาประชุมต่าง ๆ
- ตัวอย่างเทคนิคการขาย เช่น Buy 1 Get 1 Free , Free & Easy จองโรงแรมเอง
ทิศทางการดำเนินงานด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ปี ๒๕๕๗
1. เพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว
2. เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว
3. รองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
แผนคือ จะวางเป็นกลยุทธ์ เป้าหมายของประเทศไทย บอกว่าจะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงประเทศอาเซียน
- กลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวในภูมิภาค
- กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในภูมิภาค
- กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
- กลยุทธ์ที่ ๔ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดท่องเที่ยว
- โครงการ Experience Drive & Bike to Thailand โดย ททท. สำนักงานคุนหมิง โฮจิมินห์ กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์
- โครงการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน
- โครงการส่งเสริมการขาย Package Tour Thailand Plus Indochina
ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558
กลยุทธ์ 1 : ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้ เป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงทาง การท่องเที่ยวภายในภูมิภาค
• ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยมีภาพของการเป็นประตูสู่การท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนที่จะกระจายการเดินทางท่องเที่ยวให้กับทุกประเทศในภูมิภาค
• สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการท่องเที่ยวของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
กลยุทธ์ 2: ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในภูมิภาค เพื่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวภายในภูมิภาคและนักท่องเที่ยวจากนอกภูมิภาคให้เดินทางเข้ามาในอาเซียน ภายใต้แนวคิด Thailand and Beyond
• ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย กับแหล่งท่องเที่ยวรองของประเทศเพื่อบ้าน และแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศเพื่อนบ้าน กับแหล่งท่องเที่ยวรองของประเทศไทย โดยใช้เส้นทางทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ เพื่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
• สร้างความร่วมมือด้านการตลาดการท่องเที่ยวร่วมกับภาคธุรกิจเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ ASEAN เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์เส้นทาง / สินค้าท่องเที่ยวเชื่อมโยงร่วมกัน
กลยุทธ์ 3 : ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค ภายใต้ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
• ผลักดันการพัฒนาตลาดภายในภูมิภาค ASEAN โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคี (Bi-lateral) และ ระดับพหุภาคี (Multi-lateral) เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT) กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) เพื่อให้เกิดความร่วมมือทั้งในระดับ G to G และ B to B
กลยุทธ์ 4 : เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดท่องเที่ยวไทย
• ผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้ด้านการตลาดให้แก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยว ด้านสินค้าการท่องเที่ยว รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเดินทางเชื่อมโยงและการขยายตัวของการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค
• เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบบูรณาการการทำงานด้านส่งเสริมการตลาดระหว่าง ททท. – องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนจังหวัดและธุรกิจท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อให้หน่วยงานระดับจังหวัดของประเทศไทยเกิดความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค
การเชื่อมโยงแบบไทยเป็นศูนย์กลางจะทำอย่างไร - ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อม CLMTV ได้อย่างไร
CLMTV Connectivity Along Major GMS Corridors
คิดโครงการ Thailand & Beyond
การเชื่อมโยงจะปรับตัวอย่างไร
1. แต่ละหน่วยงานต้องคิดกิจกรรมเชื่อมโยงไปยังอาเซียน
สิ่งที่บุคลากรไทยควรคำนึงถึงคือ Networking ,SWOT ,Connectivity คนในอาเซียนต้องเข้าใจการเชื่อมโยงไปด้วยกัน
การเข้าใจประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ประเทศเพื่อนบ้าน และเราจะเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร
Networking ต้องเข้าหาพันธมิตร เข้าหาเพื่อนบ้านอย่างไร
2. ใช้หลัก SWOT Analysis ติดตามความเคลื่อนไหว สถานการณ์ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสมาชิกอาเซียน
ต้องเรียนรู้ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ข้อจำกัด รวมถึงความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พฤติกรรม ทัศนคติ
3. Win –Win for All
• การแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
• ไทยควรเป็นศูนย์กลางในการนำเข้าและส่งออก Inbound and Out bound Oparater
4. Responsibility โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยว
• Pro Poor Tourism
• Community Based Tourism


การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของบุคคลากรด้านการท่องเที่ยว
 Connectivity
- เข้าใจรูปแบบ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของประชาคมอาเซี่ยน
- เรียนรู้ระหว่างกัน ในทุกด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม
- การเชื่อมโยง ทั้งด้านกายภาพ สังคม วัฒนธรรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์
- การเดินทาง เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
-Networking
• สร้างเครือข่าย พันธมิตร ทั้งในและนอกอาเซี่ยน ผ่าน กิจกรรมต่างๆ เช่น
- การประชุม เช่น กรอบAsean GMS CLMVT
- การเข้าร่วมงานส่งเสริมการขาย Natas ,ITB Asia, Mattas, ATF, MTF
- กิจกรรมสมาคมทางการท่องเที่ยว
- การเดินทางท่องเที่ยว การไปเยื่ยมเยือน
• ใช้เครื่องมือสื่อสาร IT; เพื่อสร้างความมิตรทางธุรกิจ
• -E-mail, Application ,Facebook, Line
-SWOT
• ติดตามความเคลื่อนไหว สถานการณ์ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสมาชิกอาเซียน
• ต้องเรียนรู้ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ข้อจำกัด รวมถึงความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พฤติกรรม ทัศนคติ
- Win – Win
• การแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
• ไทยควรเป็นศูนย์กลางในการนำเข้าและส่งออก Inbound and Out bound Operater
-Responsibility
• Pro Poor Tourism
• Community Based Tourism

“SportsTourism ผสมผสานต่อยอดการพัฒนา”
โดย นายชัย นิมากร
ประธานกรรมการอำนวยการบริษัทในเครือแกรนด์สปอร์ต

แผนกีฬา
1.กีฬาพื้นฐาน, - กีฬาในสถานการศึกษา
2.กีฬามวลชน, - กีฬานันทนาการ ,เล่นกีฬา
3. กีฬาความเป็นเลิศ, เช่น เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์
4. กีฬาอาชีพ
5. กีฬาระดับโลก ,ระดับชาติ - อันไหนเก่งก็เชิญมา
6. Professional Leak

การต่อยอด = More Value เช่นการเอาคนอาเซียนมาเล่นกีฬาร่วมกันมากขึ้น
1. Value added What you do Do More, Do better
2. Value Creation : Do something new, Blue Ocean
3. Value Diversity/ Synergy : Cooperation within province, regional provinces, among ASEAN, for supply and/or Demand

• ทำอย่างไรให้คนไม่เป็นลูกค้ามาเป็นลูกค้าของเรา
• สร้างให้เขาจงรักภักดีในสินค้า
• สร้างให้เป็นทูตการตลาด ให้เอกชนมาบริหาร
• สรุปการทำโครงการต่าง ๆ ต้องดูความพร้อมของทรัพยากร
การคิดโครงการไม่ว่าจะขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่ สิ่งสำคัญคือ การท่องเที่ยวและกีฬาต้องให้คน 2 ฝ่ายมาเจอกัน แล้วโครงการที่คิดขึ้นมาต้องคิดในเชิงธุรกิจ
ระดับอาเซียนน่าจะสร้าง Event ทางกีฬา ให้คนบริโภคมากขึ้น

“ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวและกีฬากลุ่มภาคตะวันออกสู่ AEC”
(กรณีศึกษา จ.ตราด)
โดย นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร
รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
- การพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้เกิดภายในทันทีเช่น ที่ตลาดน้ำอัมพวาก่อนเกิดตลาดน้ำ จัดให้มีการเล่นกีฬามาก่อน ทำอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้คนสนใจเรื่องการท่องเที่ยว สรุปคือ กว่าท่องเที่ยวเป็นที่รู้จัก ต้องมีรอยให้เดิน เป็นคนนำทางคนแรก
- มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว กับการให้ความสำคัญกับโรงแรมไม่ใช่ว่าจะเป็นกี่ดาว สิ่งที่เลือกคือ ต้องสร้างให้เขาทำกันเอง ถ้ามีมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว แล้วรักษาให้การท่องเที่ยวอยู่ดี คนจะมาเที่ยวหรือไม่ก็แล้วแต่ สิ่งนี้เรียกว่าความยั่งยืน
- ประเด็นคือต้องใช้เงินเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ก.ท่องเที่ยวและกีฬาต้องสร้างให้เป็นมาตรฐานและทำอย่างไรให้อยู่อย่างยั่งยืน เพราะการท่องเที่ยวเป็นแหล่งทรัพย์สินของประเทศชาติ
- ตัวอย่างการท่องเที่ยวน่าจะเป็น Session ของการค้าระหว่างประเทศ
1. ระดับผู้ว่าฯ น่าจะเจอกันบ่อยขึ้น
2. คณะทำงานน่าจะเจอบ่อยขึ้น
3. การทำ MOU 3 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม กัมพูชา
4. สินค้าที่ไปเวียดนามไม่จำเป็นต้องแวะกัมพูชาได้หรือไม่

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ยิ้มสยามมีคุณค่ามากสุดสำหรับการท่องเที่ยวของประเทศไทย ควรคงคุณค่าไว้

“ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวและกีฬากลุ่มภาคตะวันออกสู่ AEC”
(กรณีศึกษา เมืองพัทยา)
โดย นางอรวรา กรพินธุ์
ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการท่องเที่ยว เมืองพัทยา

- ในภายหน้าพัทยาจะเป็นพี่เลี้ยงจังหวัดอื่นได้จริงหรือไม่
- เมืองพัทยาทั่วโลกรู้จักว่าเป็นเมืองแห่งสีสัน มีความหลากหลายในบริบททางการท่องเที่ยว มีชายหาดที่สวยงามเป็นหาดโค้งเว้าเป็นวงพระจันทร์
- การท่องเที่ยวเชิงกีฬา คือการนำกีฬามาสู่การท่องเที่ยว เห็นด้วยอย่างยิ่ง
- ทิศทางเมืองพัทยาจะเป็นอย่างไร คาดว่าจะเป็นเมืองท่องเที่ยวของคนในประเทศและคนทั้งโลก มีนโยบายในการนำพาเมืองพัทยาให้พัทยามีความสมดุลคือความยั่งยืนในการท่องเที่ยวภายใต้ 3 ขา คือสร้างความสมดุลใน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืน
- การบริหารจัดการที่ดี ใช้หลัก Good Governance ,คุณธรรม จริยธรรม ,ความรับผิดชอบ ,สร้างศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน เพื่อสร้างความมีส่วนร่วม เน้นการสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ การท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพื่อนำพาพัทยาสู่ระดับโลก
- สร้างคนพัทยาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงบุคลากรทุกภาคส่วนเน้นการรองรับทั่วโลกไม่ใช่แค่อาเซียน
- สร้างความแข็งแกร่งให้กับการประชาสัมพันธ์
- สิ่งแวดล้อมจะทำอย่างไรให้อยู่อย่างสมดุล ทำอย่างไรจะลงหลักปักฐานเป็นพลเมืองเมืองพัทยาได้ในอนาคต
- งบประมาณการท่องเที่ยวเมืองพัทยาเป็นลำดับที่ 2 รองจากสิ่งแวดล้อม
- สังคม การศึกษา และสาธารณสุข ซึ่งรวมการกีฬาด้วย
- ทำอย่างไรให้พัทยาเป็นเมืองกีฬา เช่น กีฬาทางน้ำที่มีชื่อเสียงส่งผลให้นักท่องเที่ยวมาพัทยามานานมาก กีฬาทางบก มีศูนย์กีฬาระดับนานาชาติของภาคตะวันออก 254 ไร่ที่เมืองพัทยา การแข่งพัทยามาราธอน เป็นการจัดแข่งขันที่ยาวนานมาแล้ว 10 ปี เห็นตัวอย่างจากการมีป้ายพัทยามาราธอนที่โตเกียว เป็นตัวอย่างของการนำการท่องเที่ยวสู่ระดับประเทศได้
- การสร้างเครือข่ายจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งรัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ
- การพัฒนาการท่องเที่ยวสามารถทำได้โดยจัด Event ต่าง ๆ ในแต่ละเดือน
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
- สิ่งสำคัญคือลองคิดว่าได้อะไรในตอนเช้าและในวันนี้
- ขาดองค์ความรู้และวิธีการอะไรบ้างนอกจากเสนอโครงการแล้ว
- ทุกเรื่องที่จะพูดให้นึกถึงอาเซียนเป็นหลัก
- อาเซียนเน้น 3 v ให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาใช้ทรัพยากร 3 Vให้เกิดขึ้น
- ตัวอย่าง Diversity อย่าให้เป็น Conflict ให้เป็น Harmony
- Where are We?
- Where do we want to go ?
- How to get there ?
- How to overcome difficulty?
- จุดแข็งคือมี Stakeholder 4 กลุ่ม แล้วทำอย่างต่อเนื่อง
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญสุดสำหรับประเทศไทย
- ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม + ชุมชนมีมาตรฐานหรือไม่
- More for less ต้องเปลี่ยนเป็น Less for More
- อยากให้มองคุณภาพการท่องเที่ยวมากกว่าและรองรับอาเซียน

การบรรยาย เรื่อง จากองค์ความรู้สู่แผนปฏิบัติการและเส้นทางสู่ความสำเร็จ (เรียนรู้การใช้ “Enhancing Capability Template” เพื่อการวางแผนและพัฒนา)
โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
น.ส.พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ
กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
นายประสพสุข พ่วงสาคร
ผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ

การคิดโครงการต่าง ๆ ให้คำนึงถึง
1. Key Success
2. ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ อยู่ตรงไหน
3. ใช้ชื่ออะไรให้ดูน่าสนใจ
4. กิจกรรมหลักในโครงการ
5. การเชื่อมโยงภาคส่วนต่าง ๆ
6. ฯลฯ

คุณพิชญ์ภูรี
Learning how to learn
1. การคิดแบบเครือข่าย
2. การคิดภายใต้ระยะเวลาจำกัด
3. การปรับทัศนคติ แนวคิด ต่าง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท