งานวิจัยและอาจารย์วิจารณ์ กับการเรียนรู้ต่อยอดของโรงเรียนเพลินพัฒนา (๓)



อาจารย์ให้ความเห็นว่า  key factor ที่ทำให้ทีมคณิตศาสตร์เป็นทีมที่ดี คือ ครูกลุ่มนี้มีทักษะการเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้น  เป็นการเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครู  วงนี้มีความเป็น learning community ที่สมาชิกความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เชื่อใจกัน พูดคุยกันในเรื่องลึกซึ้งได้ ฟังกัน  ทำให้แต่ละคนตัวเล็กลง ใจใหญ่ขึ้น ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ของ learning community  ที่มีการ synergy แล้วเกิด energy


ประเด็นคำถามต่อมาของอาจารย์คือ Open Class เป็นกลไกในการ facilitate แค่ไหน


ในช่วงพักรับประทานอาหารว่าง อาจารย์แนะนำว่า คนที่จะประสบความสำเร็จในยุคนี้ได้ต้อง

·  สามารถทำงานภายใต้แรงกดดัน (work under pressure)

·  สามารถทำงานได้หลากหลาย (multi-task)

·  มีทักษะในการจัดการเวลาที่ดี (time management)


จากนั้น  อาจารย์ได้ไปชมนิทรรศการจัดการความรู้ “ ก้าวพอดี ๑๐ ปีเพลินพัฒนา” ณ ห้องจัดแสดง  ชุดนิทรรศการประกอบไปด้วย


จากแบบร่าง...สู่ความจริง 


แสดงความเป็นมาแนวคิด และเป้าหมายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพลินพัฒนา



นวัตกรรมการเรียนรู้





แสดงแนวคิด และพัฒนาการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่ประกอบไปด้วยโครงการเด็กพิเศษเรียนร่วม  การจัดการศึกษาในช่วงชั้นอนุบาล ช่วงชั้นประถมที่จัดแสดงแยกตามกลุ่มวิชา  ได้แก่


·  กลุ่มวิชาแม่บท  (หน่วยวิชาแสนภาษา  หน่วยวิชาดนตรีชีวิต  หน่วยวิชากีฬา) 


·  กลุ่มวิชาพื้นฐาน  (หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย  หน่วยวิชาคณิตศาสตร์  หน่วยวิชาจินตทัศน์  หน่วยวิชา ESL- English as a Second Language)


·  กลุ่มวิชาประยุกต์  (หน่วยวิชามานุษกับโลก –ประถมต้น  / หน่วยวิชาธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา และ หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา – ประถมปลาย)  การจัดกระบวนการเรียนรู้ภาคสนาม  และการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานของช่วงชั้นมัธยม 



การประกันคุณภาพ


แสดงเส้นทางการพัฒนาครูให้กลับมาเป็นนักเรียน(รู้)  สร้างชุมชนการเรียนรู้ครู (PLC) โดยอาศัยเครื่องมือ คือการจัดการความรู้  กระบวนการจิตตปัญญา และการทำวง Lesson Study  


งานประกันคุณภาพภายในของฝ่ายมาตรฐานการศึกษาและเทียบโอน และการทำงานของคณะวิจัยฯ ที่มาจากตัวแทนจากสภาครอบครัวโรงเรียนเพลินพัฒนา ๑๕ คน  และตัวแทนจากฝ่ายวิชาการของโรงเรียนอีก ๓ คน  ที่เข้ามาร่วมทำงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการผลักดันนโยบายให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน 



การวัดและประเมินผล


การสร้างแบบทดสอบของโรงเรียน ( Plearnpattana Test)  ที่มีขึ้นเพื่อใช้ประเมินศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และเพื่อนำผลที่ได้จากแบบทดสอบมาใช้ในการพัฒนาครูและผู้เรียนไปพร้อมๆ กัน 


การประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียน (SAT – Scholastic Aptitude Test)



ส่วนสนับสนุน 


การพัฒนาโปรแกรมเพื่อสนับสนุนงานฐานข้อมูลนักเรียน  งานประเมินผล  งานโภชนาการ  และงานห้องสมุด 


การพัฒนางานการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับประเภทของงานในโรงเรียน ได้แก่ การจัดทำผังโครงสร้างบัญชี  การเปลี่ยนรอบบัญชี  การออกพันธบัตรเงินกู้  การจ่ายค่าเทอมล่วงหน้า การทำงานของคณะกรรมาธิการค่าเทอม  และการตั้งกองทุนขยะ



ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ของกลุ่มโรงเรียนทางเลือก


การรวมตัวกันเรียนรู้ของโรงเรียนทอสี  รุ่งอรุณ  เพลินพัฒนา  และปัญญาประทีป เพื่อการแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาโรงเรียน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เป็นปัญหาร่วมกัน


...........................................................................


“เป็นครูนี่สนุกนะ”


ระหว่างชมนิทรรศการอาจารย์ได้หยุดพิจารณาแฟ้มแผนการสอนที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างการเรียนรู้ตามแนวทาง “Open Approach” และแผนการใช้กระดานอยู่ครู่หนึ่ง  แล้วเปรยขึ้นว่า “เป็นครูนี่สนุกนะ”



การทำ PBL ให้สำเร็จ


อาจารย์ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำ PBL ให้สำเร็จ ว่าต้องประกอบไปด้วย

๑.  ตัว project และ product

๒.  การทำ self reflection ผ่านการเขียนบันทึกที่ได้ทบทวนตนเองตลอดทาง

๓.  การนำเสนอผลการทำงานและการเรียนรู้ ซึ่งรวมไปถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นด้วย

๔.  การทำ group reflection เพื่อพูดคุยสะท้อนกัน เพื่อให้แต่ละคนมีโอกาสได้นำเสนอแนวคิด และความคิดเห็นที่มีต่อโครงงานนั้นๆ เมื่อจบโครงการ

ส่วนใหญ่แล้วจะทำกันแค่ข้อที่ ๑  แต่ที่จริงข้อที่ ๒ - ๔ มีความสำคัญมาก ครูจึงต้องให้ผู้เรียนได้ทำเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ ( mastery) ในเรื่องที่ศึกษา



สร้างเด็กให้เป็น Active Contributor


เรื่องการสร้างผู้เรียนให้เป็น Active Contributor เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่โรงเรียนเพลินพัฒนากำลังเรียนรู้ อาจารย์แนะนำว่าเรื่องนี้ทำได้ไม่ยากถ้าใช้สื่อเข้ามาช่วย เช่น เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดของตัวเองผ่านสื่อ เช่น youtube ที่เผยแพร่ไปได้ทั่วโลก และได้รับรู้ว่าความคิดของเขามีคนสนใจ

(ปัจจุบันนี้เขามีโอกาสแสดงความคิดต่อเรื่องต่างๆ ที่จะนำสู่การเรียนรู้ และนำสู่ข้อสรุปร่วมกันในชั้นเรียนเท่านั้น)



ชื่นชม


·  ความพยายามในการสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิตให้กับเด็ก

·  ความเข้าใจในเรื่องลึกๆ ที่ก่อให้เกิดการบูรณาการวิชาต่างๆ อย่างมีความหมาย มีคำอธิบาย ที่นำสู่การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการที่ซับซ้อน  เรื่องนี้ทำได้ดีมาก รู้สึกชื่นชมมาก

·  การมีหน่วยงานแปลงสิ่งที่โรงเรียนทำ (การบูรณาการสาระวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน) ให้หน่วยงานภายนอก เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เข้าใจได้ง่าย

·  การสร้าง PLC ชุมชนการเรียนรู้ของครู จากการทำกิจกรรมเปิดชั้นเรียน เริ่มขยับไปได้ และมี success story ของกลุ่มครูคณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ ๒ ให้เห็น



ก้าวต่อไป

การพัฒนาครู


ตอนนี้อยู่ในขั้น “ทำได้ แต่ต้องใช้เวลา” เริ่มมองเห็นความสำเร็จ  เมื่อไหร่ที่ทำได้อย่างเป็นอัติโนมัติ พลังงานที่ต้องใช้จะลดลง จากประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เคยพบ จะต้องใช้เวลาประมาณ ๓ ปี  อีก ๒ ปีข้างหน้าจะเหนื่อยน้อยกว่านี้มาก


ส่งเสริมบทบาทของพ่อแม่


บทบาทของพ่อแม่ยังน้อย ยังไม่ explicit  หากต้องการให้พ่อแม่กลายมาเป็น partner ของโรงเรียนต้องทำในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น


พ่อแม่ของเพลินพัฒนาเป็นชนชั้นกลางที่ลูกยังเล็ก ยังต้องสร้างเนื้อสร้างตัว ต้องหาบทบาทของพ่อแม่ที่เราคาดหวัง แล้วเขาทำได้


การพัฒนาคนของพ่อแม่ชนชั้นกลางระดับบนน่าจะสอดคล้องกับโรงเรียน เพราะเขามีทางเลือกมาก  เราจะให้พ่อแม่เป็นทุนของการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ให้เขาเป็นทุนที่ชัดเจนขึ้น ก่อผลได้ชัดเจนขึ้นแค่ไหน


วัดทักษะที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก


หาทางประเมิน key skills  และ knowledge skills ของ 21st Century Skills  ต้องหาทางประเมิน skills แท้ ๆ ให้ได้ ต้องหาเครื่องมือที่วัดแล้วเกิดความเชื่อมั่น  เพื่อให้ครู ๒๐๐ คน และพ่อแม่ ๒,๐๐๐ คน เกิดความมั่นใจ


การวัดทักษะที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก (formative assessment) เป็นเรื่องสำคัญ


หาพลังที่จะสร้างแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจในทำ Lesson Study เพื่อสร้าง learning community และ learning skills ให้เด่นชัด


ในสายตาของพ่อแม่เพลินพัฒนามีหน้าที่ตอกเสาเข็มของความมั่นใจ เรื่องนี้ต้องทำงานวิจัยต่อไปในระยะยาว อยู่กับเพลินพัฒนากี่ปี ชีวิตเป็นอย่างไร เทียบกันระยะยาว


ในสังคมไทย เพลินพัฒนากับโรงเรียนทางเลือกอีกไม่กี่โรงเรียนเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วเป็น minority  แต่ต้อง maintain minority ได้อย่างองอาจผึ่งผาย มั่นใจในตัวเอง และทำให้พ่อแม่เห็นด้วย


จึงต้องทำทั้งการปรับปรุงวิธีจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ และต้องทำ impact study ของตัวนักเรียนควบคู่กันไป


สังคมต้องการการวัดและการแสดงผล  การวัดที่น่าสนใจ เช่น การวัด personal mastery และ การวัด critical thinking จะช่วยยืนยันผลการเรียนตามแนวทางของ Open Approach ได้ เช่น ผู้เรียนจะเป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ


เรื่องประเมิน...  ถ้าผมยังหนุ่มกว่านี้ ผมจะทำให้ดู

รู้จริง แปลว่าต้องลงมือทำ และหาตัวอย่างมายืนยันได้






หมายเลขบันทึก: 541438เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2013 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

....  ดีใจด้วยนะคะ  ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา...มีนวัตกรรมการเรียนรู้...ที่ดีดี นะคะ .... ขอบคุณค่ะ...


          

ขอบคุณ Dr.Ple ที่ช่วยเป็นกำลังใจในเส้นทางของการเรียนรู้ค่ะ :)

ผมเขียนบันทึกเรื่องความประทับใจในการมาเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนเพลินพัฒนาในคราวนี่ ไว้ที่ http://www.gotoknow.org/posts/541384 

วิจารณ์

เรียน อาจารย์วิจารณ์ที่เคารพ


หนูคิดว่าโครงการ KM Intern ที่อาจารย์คิดขึ้น เป็นคุณูปการที่สำคัญต่อโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่ช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนาตัวเองไปสู่ความงอกงามดังเช่นที่อาจารย์ได้เห็นในวันนี้ค่ะ


ด้วยความเคารพ

ครูใหม่


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท