WHAT ABOUT THE TEEN DADS


      

                    

     ตอนนี้ผู้เขียนได้ดูแลลูกศิษย์  เป็นนักศึกษาแพทย์ (นศพ.)  ปี 4 จากคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มาศึกษาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน.....ในช่วงเวลา 18 มิย. – 25 กค. 2556 จำนวน 5 คน เป็น นศพ. ชาย 3 คน หญิง 2 คน ...... ปีนี้ ผู้สอนได้ออกแบบงาน Research ที่จะทำในชุมชน ......  มีการ Design นิดหน่อยว่า จะเป็นข้อมูลจากใคร ... ทำเรื่องอะไร? ..... สรุปได้ว่า ทำเรื่อง  “WHAT ABOUT THE DADS” .....  หรือ.....  YOUNG FATHERS  หรือ TEEN FATHERS โดยผู้เขียนได้ศึกษา  อ่านงานระดับ Dissertation ของคุณ Charles S. Broadfield  ใน Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree Doctor of Philosophy จาก Capella University…… ในปี Augest 2005  และได้อ่านงานระดับ Dissertation ของคุณ Marilyn Faris Scholl A Dissertation Submitted to the George Mason University in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree Doctor of Philosophy Education  ปี 2012 …..  การใช้สถิติ ในการวิเคราะห์ใช้ odd ratio (OR) ซึ่ง สถิติสำหรับงานวิจัยทางการแพทย์มีหลายรูปแบบ ขึ้นกับการวิจัย เช่น

               

           

  1. การวิจัยแบ่งเป็น
      1) เชิงสังเกต (observational) กับ 

      2) เชิงทดลอง (experimental หรือ intervention) 


  2. การวิจัยเชิงสังเกต  ยังแบ่งเป็นสังเกตเชิงพรรณนา (descriptive) และสังเกตเชิงวิเคราะห์ (analytically)


  3. การวิจัยเชิงพรรณนาแบ่งเป็น 2 อย่าง

    1) พรรณนา แบบตัดขวาง (Cross sectional) คือเก็บข้อมูล outcome ครั้งเดียวเพื่อหาความชุกของโรคในชุมชน ได้ผลเป็น prevalence

    2) พรรณนาแบบระยะยาว (Longitudinal) คือเก็บข้อมูลอย่างน้อยสองครั้งหรือมากกว่า เช่นวัดผลตรวจ HIV ครั้งแรกแล้วตามไปวัดอีกสามเดือนถัดไป ได้ผลเป็น sero conversion rate

           

        

4.  การวิจัยสังเกตเชิงวิเคราะห์ (analytical observatory study) แบ่งเป็น

     4.1 cohort study เป็นการวิจัยจากเหตุไปหาโรค คือเลือกกลุ่มที่มีเหตุ (exposure group) กับกลุ่มที่ไม่มีเหตุ (non exposure group) แล้วตามดู (prospective) หรือย้อนดู (retrospective) ว่าแต่ละกลุ่มเป็นโรคมากเพียงใด ผลที่ได้รายงานออกมาเป็น “สัดส่วนของอุบัติการณ์โรคเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงกับเมื่อไม่มี” (relative risk RR)

   RR  = อุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่มีเหตุ /  อุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ไม่มีเหตุ

      4.2  case control study เป็นการวิจัยจากโรคย้อนไปหาเหตุ คือเอาคนไข้ที่เป็นโรคแล้วมาเป็นกลุ่ม cases และหากลุ่มคนคล้ายๆกันที่ไม่มีโรคมาเป็นกลุ่ม controls แล้วย้อนหลังไปหาดูว่าแต่ละกลุ่มมีเหตุมากเพียงใด เอาค่าที่ได้มาหารกันแล้วรายงานเป็น “สัดส่วนของเหตุเมื่อเป็นกับไม่เป็นโรค” odd ratio (OR)

OR  = แต้มต่อของการมีปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มที่เป็นโรค / แต้มต่อของการมีปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มที่ไม่เป็นโรค


5. Risk แปลว่าโอกาสเป็นโรค มีความหมายเดียวกับ probability หมายถึงโอกาสเกิดโรคจากจำนวนคนทั้งหมด เช่นอุบัติการณ์มะเร็งปอด 0.01 หมายความว่าร้อยคนเป็นมะเร็งปอดหนึ่งคน

             ยังมีสถิติตัวอื่นๆอีก  แต่ผู้เขียนขอเล่าแค่นี้ก่อนนะคะ

               

                  

ในการสอน นศพ. ครั้งนี้ ทางอาจารย์ที่ ศิริราช ได้แนะนำ และสอน น้อง นศพ. ให้ใช้ สถิติตัว Odd Ratio (OR) นะคะ ...... แล้วผลการวิจัย(Mini-Research) ออกมาอย่างไร ผู้เขียนจะนำผลมาเล่า นะคะ 

           

        

                    ขอบคุณมากที่ให้เกียรติอ่านบทความนี้ค่ะ


หมายเลขบันทึก: 539982เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2013 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

น่าสนใจมากครับ พี่หมอ เปิ้น



ดูภาพแล้วรู้สึกเลยจ้ะว่า  คุณครูพี่หมอเปิ้น ดูแลลูกศิษย์อย่างอบอุ่น และเป็นกันเองดีจังเลย  

เห็นภาพแล้วมีความสุขมากค่ะ..ยินดีกับน้องๆที่มีครูใส่ใจเช่นนี้

โอ้ได้ความรู้จริงครับ  ขอบคุณครับ

Interesting! But I am quite ignorant of statistics (in medical areas) for example I don't understand what "sero conversion rate" means. I looked up the Net but seroconversion seems to relate to repeated tests for immunity (HIV) over time. (Somehow I have pictures of HIV teendads when I read this.) Can you explain in simple terms so I can understand?

What are statistics on teen dads? How do they support theier 'young families'? (With grandparents' help?) What about the child(ren) of teenparents, are they in good health and developing well when compared with more mature parents? How do teenparents react to/social with their peers (with a baby on their side)?...

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ ดร.

   ขอบคุณมากๆ นะคะ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกท่านที่ให้กำลังใจ นะคะ


   ขอบคุณ ที่ให้กำลังใจนะคะ


   ขอบคุณ ที่ให้กำลังใจนะคะ


  ขอบคุณ ที่ให้กำลังใจนะคะ


  ขอบคุณ ที่ให้กำลังใจนะคะ


  ขอบคุณพี่ใหญ่ ที่ให้กำลังใจนะคะ


 ขอบคุณค่ะ สถิติทางการแพทย์ .... เป็นอีก Definition ที่อาจจะไม่เหมือนกับวิชาชีพอื่น นะคะ  ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ


   ขอบคุณ ที่ให้กำลังใจ นะคะ

น่าสนใจมากเลยครับ ถ้าให้นักศึกษาลงชุมชนมากๆจะได้ปัญหาวิจัยที่น่าสนใจ

ขอบคุณพี่เปิ้นๆมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท