"ต้นคอฟฟี่เมต" เรื่องเล่าจากคุณ พงศา ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ


"เมนูอาหารแสนแพง ต้องลงทะเบียนเรียน ป.โท จึง...ได้เห็น แต่อาจไม่ได้กิน หลังจากขึ้นจากเรือไม้ ทวนสายน้ำไปถึงชุมชนคนอยู่ป่ายัง บ้านหลางตาง นักศีกษา ป.โท พร้อมอาจารย์ ป.เอก คณะใหญ่ เดินตามหลังผม เข้ามาศึกษาในพื้นที่เกษตร สี่ชั้น อันอลังการงานสร้างของชาวบ้าน

      ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ผู้เขียนผูกพันธ์ หมั

หมั่นแวะเวียนไปเยี่ยม ไปครั้งแรก เดินป่า

เส้นทางหฤโหด "หลักไก่ต่อ ไปหลางตาง 7 วัน7คืน ประทับธรรมชาติส่วนหนึ่ง แต่

ประทับใจเพื่อนร่วมทางชาวต้นน้ำพะโต๊ะ เป็นสำคัญ  ทริปนั้นมีเรื่องเล่าแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์อย่างสนุกสนาน เรื่องหนึ่งที่หยิบยกมาเล่าคือ เรื่อง ต้น "คอฟฟี่เมต" 

เรื่องนี้ ทุกทริปจะได้รับฟังเรื่องนี้  วันนี้ เข้าไปใน FB นายหัวพงศา กรุณานำมาเล่าเต็ม

รูปแบบ เพื่อเป็นการเรียนรู้จึงขออนุญาติ  นายหัว นำมาแลกเปลี่ยนในบันทึกนี้อีกครั้ง .....


          "เมนูอาหารแสนแพง ต้องลงทะเบียนเรียน ป.โท จึง...ได้เห็น แต่อาจไม่ได้กิน

หลังจากขึ้นจากเรือไม้ ทวนสายน้ำไปถึงชุมชนคนอยู่ป่ายัง บ้านหลางตาง

นักศีกษา ป.โท พร้อมอาจารย์ ป.เอก คณะใหญ่ เดินตามหลังผม เข้ามาศึกษาในพื้นที่

เกษตร สี่ชั้น อันอลังการงานสร้างของชาวบ้าน

"นี่ดอกอะไรค้า...พี่พงศา"

สำเนียงเสียงหวานนัก ถามความ ผมหวามหวั่น เพราะยุคนั้นวัยผมกับนักศืกษายังไม่

กระชากกันมากนัก

"ดอกกาแฟ ครับ มันหอมเหมือนมะลิ เย้ายวนเหมือนราตรี กรุ่นไกลเหมือนจันทร์กระ

พ้อ"

ฟังสำนวนลิเกของผมสมัยนั้น แล้ว ทุกคนก็สูดดมชื่นชมดอกกาแฟ นึกกยาวไกลไปถึง

กลิ่นเม็ดกาแฟ

ใกล้ ๆ กลุ่มต้นกาแฟ มีต้นมังคุดน้อย ๆ อยู่ต้นหนื่งอายุราว สามสี่ปี

"แล้วนี่ต้นอะไรคะ..พี่พงศา" 

เธอคนเดิมฉอเลาะถาม และแอบโอบกอดต้นมังคุดนั้นพร้อมถ่านรูปกับยิ้มหวานกว้าง

"อ๋อ..นี่ต้นคอฟฟี่เมต ครับ"

ผมตอบหน้าตาเรียบ แฝงความรอบรู้ไว้ในแววตาอันเยือกเย็น

"จริงเหลอ...อุ๊ยไม่เคยเห็นต้น คอฟฟี่เมต..จริงเหลอ ไม่เชื่ออ่ะ"

เธอแย้งแบบไม่มั่นใจ จึงเข้าทางโจรอย่างผม ฉวยโอกาสหาทางสอนคนเรียนป.โท 

แบบสอนเซ็น อยู่พอดี

"จริงครับ...ประเทศเราผลิตกาแฟ ปีละหกหมื่นตัน ปลูกที่ชุมพรมากที่สุด

แต่เราไม่มีคอฟฟี่เมต เราต้องนำเข้าปีละ เกือบหกหมื่นตัน"

"เหลอ"

"น้องรู้ไหม เราดื่มกาแฟ หนึ่งช้อน คอฟฟี่เมต สอง สามช้อน "

"อืม..ค่ะ แล้วไงคะ"

"ที่นี่โครงการตามพระราชดำรี เราพยายามนำพืชบางตัวมาทดลองปลูก เรานำพันธุ์ 

คอฟฟี่เมต มาจาก เอกวาดอร์ อเมริกาใต้ มาปลูกเป็นที่แรกของประเทศ หากสำเร็จ 

จะลดการนำเข้า คอฟฟี่เมต ได้ในอนาคตครับ"

ผมเพิ่มดีกรีน่าเชื่อไปกับ ตรรกะ เหตุผลและแววตาท่าทางนักวิชาการผู้เคร่งวิชา

แล้ววันนั้ ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ จึงหันมาทำความเข้าใจเรื่องต้นคอฟฟี่เมตอย่าง

จริงจัง จนขั้น นำเสนอยามค่ำที่ต้นน้ำพะโต๊ะ บนความเงียบงันบนใบหน้าของผมและ

ลูกน้อง

       "บทสรุปนะคะ..ต่อจากนี้ไป มหาลัยของเราน่าจะหาทางส่งเสริมการปลูกคอฟฟี่

เมตกันอย่างจริงจัง เพื่อเศรษฐกิจชองประเทศ"

เป็นบทสรุปของการนำเสนอค่ำนั้น

แล้วซาตานพงศา ก็เริ่มงานสอนเซ็นโดยขออนุญาตสรุปผลการศึกษา

"ผมต้องขอโทษทุกคนที่เชื่อแบบนั้น..ขอโทษจริง ๆ นั่นไม่ใช่ต้นคอฟฟี่เมต..มัน

เป็นต้นมังคุด"

ได้เรื่องครับคราวนี้ ทุกคนโกรธเคืองผมอย่างแรง เพราะทำให้เกิดการเสียหน้าครั้ง

ใหญ่ทั้งสถาบัน

"คุณโกหกอย่างนี้ได้อย่างไร คุณพงศา คุณ เป็นคนน่าเชื่อถือ ทำไมใช้นิสัยอย่างนี้ 

หลอกกันทำไม.......(สารพัดจะด่า) "

"ผมไม่ได้โกหกนะ พวกคุณรู้ไหม คุณจะเป็นมหาบัณฑิต อีกไม่กี่วัน คุณกำลังจะบอก

สังคมด้วยความเขื่ืองว่าคุณคือผู้รู้ กว่าคนอื่น ๆ .......

        .โดยบอกว่าคุณสืบค้นความรู้เป็นองค์ความรู้...คุณเป็นคนกรุงเทพ คุณไม่ถาม

ผิดหรอกที่ไม่รู้จักต้นกาแฟ ไม่รู้จักต้นมังคุด..แต่ฐานะนักสืบค้น คุณดื่มกาแฟ คุณกิน

คอฟฟี่เมตทุกวัน คุณไม่เคยสืบค้นเลยหรือว่ามันทำมาจากอะไร"

...................... ทุกคนเงียบด้วยความโกรธที่คลายลง...

แล้วผมก็ตอกย้ำอีกว่า....ตกลงคอฟฟี่เมต ทำมาจากอะไร.....(ฮา) 

( ขอบคุณ นายหัว พงศา ชูแนม  ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ)

หมายเลขบันทึก: 539943เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

หัวหน้าพงศา  ชูแนม  มักมีเรื่องสนุก ๆ มาเล่าให้ผู้เข้าอบรมฟังเสมอ  โดย

เฉพาะเรื่องราวต่าง ๆ ที่คนในเมืองรู้เรื่อง  แต่ไม่รู้จัก  อย่างเช่น  บอกว่าเด็ก

ในเมืองเจริญกลุ่มหนึ่งมาเข้าค่ายที่พะโต๊ะ  ไม่รู้จักผักอะไร นอกจาก  มะเขือ

กับแตงกวา  ดังนั้น เจอต้นผัก ก็ไม่รู้จัก นึกว่าเป็นต้นแตงกวา  ต้นมะเขือ 

อะไรทำนองนั้นแหละจ้ะ

สวัสดีน้องมะเดื่อ 

หากใครได้สัมผัสกับทีม ป่าต้นน้ำ จะเป็นได้ คิด ระแวง ระวังในการสนทนา 

7-7 คืนที่เดินป่ามาด้วยกัน เพิ่มทักษะชีวิตขึ้นมาทันที

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า...ขอบคุณเรื่องราวดีๆนะคะ

.... ได้ความรู้ใหม่ๆ ดีจังเลย....ขอบคุณค่ะ


          


สวัสดีค่ะบังวอญ่าฯ

ได้เวลาแวะเข้ามาทักทายค่ะบังวอฯ  หลังจากห่างหายไปชั่วขณะ    อืมม์..เห็นชื่อบันทึกครั้งแรกก็ ชวนอ่านซะแล้ว  เอ..ต้นคอฟพี่เมท.. หน้าตายังไงละเนี่ย ??   ..เลยได้เป็นอุทหรณ์เรื่องเล่าที่แฝงสาระชวนคิด  ... 

ยังไม่เคยขึ้นไปเดินที่ป่าต้นน้ำที่พะโต๊ะค่ะ ..    คิดไว้ว่าสักวันจะไปให้ถึงชีวิตรอนแรนในป่าที่นี่บ้าง..เพราะตั้งแต่เด็กๆได้ยินพ่อ/น้า/ลุง..ไปเดินป่าที่พะโต๊ะกัน   แม้กระนั้นในเพียงช่วงชีวิต..ไม่กี่สิบปีที่มีอายุจนปัจจุบันนี้ เห็นการเปลี่ยนแปลงของป่าที่ถูกทำลายส่งผลกระทบมากมาย   เมื่อกล่าวถึง ป่าพะโต๊ะที่เคยอุดมสมบูรณ์ .. หวายเส้นใหญ่ๆ สวยๆ  ล่องเรือลงมาขายตามแม่น้ำหลังสวน   (บ้านเกิดเมืองนอน)  เมื่อก่อนเป็นตลาดค้าหวาย ที่มีชื่อ  ต่อมาป่าถูกแผ้วถางเพราะการทำไร่... กาแฟ...กาแฟๆๆ อาหารสำำหรับคนที่ชอบรสชาติ  แต่เมื่อปริมาณความต้องการกาแฟระบาด ผืนป่าพะโต๊ะก็ถูกทำลาย  เพราะเข้าไปลักลอบปลูกกาแฟ 

 ปัจจุบันนี้ได้มีโอกาสขึ้นไปดูที่ป่าต้นน้ำ  มีต้นค้างคาวดำ และพืชป่าหายากชนิด ต่างๆ  ในเส้นทาง  ที่น่าเสียใจ คือ ป่าถูกแซมไปด้วย สวนยาง  สวนผลไม้  โดยเฉพาะยาพารา  การเปลี่ยนแปลงระลอกที่สอง ..ถัดมาจากกาแฟ ที่ชาวบ้านจากต่างถิ่นมา เปิดหน้าดินไว้    แม้กระทั่งเราเข้าไป เวลาเดินทางชันมาก  แต่ก็ยังจะมีการซื้อขายที่   ที่ดินหลายแปลงมีป้ายติดให้เห็นว่า อยู่ในระหว่างการยึดคืน ดำเนินคดี   เฮ้ิอ!!!   ..หลังสวนซึ่งเป็นพื้่นที่ปลายน้ำ ก่อนสายน้ำจะไหลลงสู่ทะเล   กลับจะได้รับผลกระทบ น้ำท่วมหลังสวน หลายต่อหลายครั้ง อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน   หลายคนบอกว่า เพราะป่าต้นน้ำ ป่าที่พะโต๊ะถูกทำลาย    ไม่มีระบบชลอน้ำตามธรรมชาติ   ฝนตกก็ไหลท่วมเมืองปลายน้ำอย่างรวดเร็ว  ภาพอย่างนี้ดูเหมือนจะเป็นกันทุกที่ ...นะคะบังวอฯ..น่าเศร้าใจ ป่าถูกทำลาย..

 แต่ก็ได้ชื่นชมหัวหัวพงศา และทีมฯ   ที่ท่านก็ทำหน้าที่ ปลูกจิตสำนึก สร้างความตระหนักให้รักษ์ป่า  ทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อรักษาป่าส่วนที่ยังมีอยู่ค่ะ 

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ การเรียนรู้จากวิถีป่า  ที่นำมาแบ่งปัน และทำให้คิดถึงป่าพะโต๊ะแห่งความอุดมสมบูรณ์..

 เรียนคุณ พ. หากมีโอกาสมาทางชุมพร แวะเยี่ยม แวะคุย กับคุณ พงศา จะได้ความคิดที่ดีในการจัดการป่า และเรื่องเล่าทักษะ คนอยู่ ป่ายัง

ขอบคุณท่าน ดร.พจนา ธรรมชาติ หลักการแนวคิด และการปลูกฝังพิทักษ์ ป่า ของคนต้นน้ำพะโต๊ะ  ได้แลกเปลี่ยนแล้ว กลับทางกับความคิดเจ้ากระทรวง

เรียนคุณหมอเปิ้น ผมฟังครั้งแรกก็คล้อยตาม  เออน่ะ น่าจะมีต้นคอฟฟี่เมท

ต่อไปจะไม่เชื่อคนง่ายอีกแล้วค่ะ.. 

โดยเฉพาะกับคนที่ดูแล้วน่าเชื่อถือที่สุด ฮุฮุ

เรียนอาจารย์ ขวัญ....

ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ  มีโอกาสขอเรียนเชิญสัมผัส 

ยิ่งเส้นทางหลักไก่ต่อ ถึงหลางตาง เดินสุดป่าต้นน้ำแล้วตัดแพลอ่งแม่น้ำหลังสวน มาขึ้รที่หลางตาง โดมอหังการ์ ที่พักพอเพียง เหมาะแก่การเรียนรู้ครับ

เรียนอาจารย์ขวัญ ป่าต้นน้ำ มีโอกาสมีเวลา เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติอีกแห่งหนึ่ง  ที่ผมมักแวะไปนอนไปพัก

การเดินทางเส้นทางหลักไก่ต่อ ถึงหลางตาง ถือว่าสุดยอด เดินขึ้นไปถึงยอดต้นน้ำ้ ตั้งตัดแพล่องลงมาที่บ้านหลางตาง

โดมอหังการ์ที่พักแห่งการเรียนรู้ที่ประทับใจ

เรียนอาจารย์ขวัญ ป่าต้นน้ำ มีโอกาสมีเวลา เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติอีกแห่งหนึ่ง  ที่ผมมักแวะไปนอนไปพัก

การเดินทางเส้นทางหลักไก่ต่อ ถึงหลางตาง ถือว่าสุดยอด เดินขึ้นไปถึงยอดต้นน้ำ้ ตั้งตัดแพล่องลงมาที่บ้านหลางตาง

โดมอหังการ์ที่พักแห่งการเรียนรู้ที่ประทับใจ

อิอิอิ....ทำให้อยากเห็นต้นคอมฟี่เมต จริงๆ แล้วครับ...ของมันคู่กัน 

ไหนๆเมื่อมีต้นกาแฟแล้วก็ต้องมีต้นคอมฟี่เมต ปกติธรรมชาติจะสร้างสิ่งที่คู่กันเสมอ..ครับ

สวัสดีครับคุณ ยง ประสบการณ์ ชีวิต  คนยังป่าอยู่ เป็นแนวคิด อนุรักษ์คน ก่อนอนุรักษ์ป่า

ต้นคอฟฟี่เมท จึงเป็นเรื่อง อำ เล่ากันมาให้ ผู้มาเยือนฟัง ให้ตระหนักถึงการเรียนรู้ อย่าเชื่อเพราะความน่าเชื่อถือ

เคยฟังคุณพงศาบรรยาย แต่ไม่ใช่เรื่องนี้ แต่ชื่นชมบังที่นำมาเล่า และเขียนได้อรรถรส เหมือนกำลังอ่านเรื่องสั้น   ชอบ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท