Smart Farmer


Smart Farmer และ Smart Officer เป็นนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     กระทรวงเกษตรฯ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเกษตรกรที่จะเป็น smart farmer จะต้องมีรายได้เท่ากับหรือมากกว่า แรงงานขั้นต่ำ  โครงการ smart farmer จะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท หรือเทียบเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของผู้เรียนจบปริญญาตรี เพื่อช่วยยกระดับชีวิตให้เกษตรกร และเป็นการจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจประกอบอาชีพในภาคการเกษตรมากขึ้น

     สำหรับคำว่า “smart farmer” หมายถึงว่า เกษตรกรปราดเปรื่อง คำว่า ปราด คือคนที่มีความรวดเร็ว เปรื่อง คือคนที่รู้จักใช้ความคิด ดังนั้น smart farmer หมายถึง ตัวเกษตรกรที่มีความรู้ในการประกอบอาชีพของตัวเองอย่างดีและสามารถแก้ไขปัญหาได้ มีความคิด รู้จักการวางแผน, การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยรู้จักการใช้ข้อมูลต่างๆ ประกอบการตัดสินใจ และเป็นคนที่รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อลดปัญหาเรื่องของแรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นคนที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โครงการ smart farmer จะเป็นการพัฒนาคน พัฒนาตัวเกษตรกร ให้เป็นคนมีคุณภาพ เข้าใจงานที่ตัวเองทำ สามารถแก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

     เกษตรกรไทยเป็น Smart Farmer โดยมี Smart Officer เป็นเพื่อนคู่คิด

 smart Farmer  

  • =  มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่
  • =  มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
  • =  มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • =  มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม
  • =  มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร


    Smart Officer  

  • มีความรักเกษตรกรเหมือนญาติ
  • มีความรอบรู้ทางวิชาการและนโยบาย
  • ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือเกษตรกร
  • สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
  • มุ่งนำเกษตรกรสู่ Green Economy และ Zero waste agriculture
  • มีความภาคภูมิใจในองค์กรและความเป็นข้าราชการ


    •   กระทรวงเกษตรฯ ตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตร มีข้อมูลทั้งแหล่งผลิต ฤดูกาลที่ผลผลิตออก ปริมาณผลผลิต สภาพภูมิอากาศ ราคาสินค้า การตลาดทั้งในและนอกประเทศ ปัจจัยการผลิต  การเตือนภัย
    •   ทุกจังหวัด มีข้อมูล Zoning สินค้าเกษตรทุกชนิดในจังหวัด มีทะเบียนเกษตรกร ที่ตั้งฟาร์ม แหล่งรวบรวมผลผลิต และกระจายสินค้าการตลาดภายในภายนอกจังหวัด แหล่งแปรรูป ต้นทุน ราคา การตลาด สภาพดิน แหล่งน้ำ ฤดูกาล ฯลฯ
    •   ทุกหน่วยงานที่ทำงานส่งเสริม สร้างอาสาพัฒนาการเกษตร เพื่อเข้าพบหาเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการเกษตรในรูป Green Economy และ Zero waste agriculture ทำงานแบบบูรณาการ และทำแผนเชิงรุก
    •   ให้ทุกหน่วยงานสร้างยุวเกษตรกร เพื่อรองรับการขาดแคลนเกษตรกรที่มีอายุสูงขึ้น และขาดแคลนแรงงานเกษตรและผลักดันให้เป็น Smart Famer
    •  สร้างความภาคภูมิใจและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม โดยเชิดชูผู้นำเกษตรกร ที่มีความรู้ เป็นปราชญ์ชาวบ้าน
    •     ขณะนี้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดได้มอบหมายให้อำเภอ สำรวจข้อมูลเพื่อคัดเลือก Smart Farmer ระดับอำเภอ ด้านปาล์มน้ำมันและยางพารา อย่างละ 1 ราย ประกอบด้วย

    1. ข้อมูลทั่วไป
    2. ความรู้เฉพาะสาขา
    3. การจัดการปัจจัยการผลิต
    4. การผลิต/การปลูก/การเลี้ยง
    5. การแปรรูป/การเพิ่มมูลค่า
    6. การตลาด
    7. อื่น ๆ

                                                     ชัยพร  นุภักดิ์

    หมายเลขบันทึก: 539387เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (3)

    เป็นนโยบายที่มองเห็นได้ชัดเลยนะครับ อาจารย์หนุ่่ม 

    รอดูผลงาน ของ  smart famer ที่สุราษฎร์ฯนะครับ

    เยี่ยมเลยนะคะ ถ้าปฏิบัติได้จริงๆในทุกพื้นที่ นโยบายดีๆแบบนี้ใครริเริ่มคะนี่ น่าชื่นชมจริงๆ เอาใจช่วยให้ทำได้เต็มที่อย่างจริงจังนะคะ

    สวัสดีครับ ขอรบกวนถามนะครับ ผมทำฟาร์มจระเข้อยู่ครับ ผมจะเข้าสู้smart farm ได้ยังงัยครั

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท