การสร้างเสริมสุขภาพ และ เยาวชน (TH vs AU)


[I'll let you make your own analysis and opinions - here are the data --in full--.]

“ประกาศผลสุดยอดเด็กเฮ้วไอเดียแจ่ม”
  Thai Post/X-cite เรื่องปก 15 June 2556 http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/150613/75038
 สุดยอดเด็กเฮ้วไอเดียแจ่ม : ใช้สื่อสร้างแรงบันดาลใจ "เลิกเหล้า-สร้างจิตอาสาสำนึกพลเมือง"

หลังจากที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย เปิดโอกาสให้แก่เยาวชนไทยรุ่นใหม่ผู้มีอายุระหว่าง 15-25 ปี กับโครงการโชว์ไอเดีย “เด็กเฮ้ว โปรเจ็กต์ 100 เรื่องเล่าแห่งแรงบันดาลใจ (เด็กเฮ้ว)” ร่วมกันรังสรรค์เรื่องราวจาก 3 หัวข้อ ได้แก่ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, บุหรี่คือยาเสพติด และจิตอาสาสำนึกพลเมือง ถ่ายทอดผ่านเรื่องสั้น หนังสารคดี และสื่อใหม่ โดยปิดรับผลงานไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา
  ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ซอยงามดูพลี ได้มีการประกาศผลและมอบรางวัลพร้อมทั้งจัดแสดงผลงานสื่อเยาวชนโครงการ "เด็กเฮ้ว" โดยมีผลงานที่ได้รับการผลิตกว่า 100 ผลงาน ซึ่งในส่วนของการประกวดสื่อประเด็น "บุหรี่คือยาเสพติด" ทั้งสื่อสารคดีสั้นและสื่อใหม่ ผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบเพื่อนำไปตัดสินและประกาศผลอีกครั้งในวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ภายใน "กิจกรรมเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม มหกรรมสื่อสร้างสรรค์เยาวชน บุหรี่เท่ากับยาเสพติด" บริเวณชั้น 2 สยามพารากอน และได้มีการตัดสินพร้อมเผยแพร่ข่าวไปแล้วเรียบร้อย
  นางเบญจมาภรณ์ จันทร์พัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการเรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) เผยว่า โครงการเด็กเฮ้วจะช่วยให้น้องๆ เยาวชนรุ่นใหม่เข้าถึงกับปัญหาและเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้จากประสบการณ์จริง ได้พัฒนาขีดความสามารถในการทำงานได้เต็มที่ สำคัญที่สุดอยากให้คนไทยทุกคนมีสุขภาวะที่ดี และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่อยากเลิกอบายมุขได้ฉุกคิด
  ด้าน นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสขภาพ สสส. กล่าวว่า โครงการเด็กเฮ้วทั้ง 3 หัวข้อได้รับความสนใจจากเยาวชนเป็นจำนวนมาก ประมาณ 300 ทีม จาก 45 สถาบันทั่วประเทศ โดยสารคดีสั้นที่น้องๆ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้รับความสนใจจากสื่อฟรีทีวี โดยจะนำมาร้อยเรียงออกอากาศ และเรื่องสั้นก็ได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์จะตีพิมพ์จัดจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้  
  สำหรับสื่อสารคดีสั้นประเด็นรณรงค์งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มี 5 ผลงานที่ได้รับรางวัล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมผู้ดีบางปะกอก สารคดี "Reality เมาแล้วขับ", รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมแอ่น แอน แอ๊น สารคดีเรื่อง "100 วัน" และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Moving Image จากสารคดีเรื่อง "Forced (ยัดเยียด)" รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ทีม Sergery สารคดีเรื่อง "Dog eye's (ปฏิบัติการเจาะลึกสังคม)", ทีม I Smile สารคดีเรื่อง "In My Room", ทีมไม่เด่นไม่ดังจะไม่หันหลังกลับไป สารคดีเรื่อง "เหล้าจ้าง"
  ผลงานในสื่อสารคดีสั้นประเด็นจิตอาสา "สำนึกพลเมือง" (ACTIVECITIZEN) มี 3 ผลงานที่ได้รับรางวัล ซึ่งรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมเฟี้ยว จากสารคดีเรื่อง "แม่", รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม What the film จากสารคดีเรื่อง Little voices และรางวัลชมเชยเป็นของทีม ป.4 จากสารคดีเรื่องบีบอย
  ประเด็นเรื่องสั้นและภาพประกอบประเด็นจิตอาสา "สำนึกพลเมือง" (ACTIVECITIZEN) แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ส่วน คือเรื่องสั้นและภาพประกอบ ซึ่งในส่วนเรื่องสั้น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวสิริ จิตตรีกวีผล เรื่องมรสุมกลุ่มควัน, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายอาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เรื่องไก่ไม่มีกระดูก, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวนลิน สินธุประมา จากผลงานเรื่องเก้าอี้ว่าง และทีมที่ได้รับรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ นางสาวชนาพร รัตนสะอาด จากผลงานเรื่องมือที่เอื้อมไม่ถึง และนางสาวนุชชา ประพิณ จากผลงานเรื่องปัน โดยผลงานเรื่องสั้นจะได้รับการรวบรวมผลงานตีพิมพ์และจัดจำหน่าย
  ส่วนที่สองคือภาพประกอบ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวศิริวรรณ สินเพ็ง จากเรื่อง Blind Butterfly, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายพงษ์พัฒน์ อภิวัฒนาชัย จากเรื่องคาถายายจันทร์, และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวศุภลักษณ์  กมลทกาภัย จากเรื่องมีแต่ให้กับไห้
  ทุกๆ สื่อผู้ที่ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล โดยรางวัลชนะเลิศได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท และรางวัลชมเชยจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท
  สำหรับผู้ที่สนใจและอยากแสดงฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ เร็วๆ นี้ทางแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จะมีโครงการที่น่าสนใจอีกหลายโครงการ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.artculture4health.com

http://bigpondnews.com/articles/Health/2013/06/15/An_un-bee-lievable_cure_for_MRSA_879956.html 15 Jun 2013 - 12:05am

A young Australian whizzkid is sweetening hopes for further cures using Aussie and Kiwi honey.

Thousands die each year after exposure to the drug-resistant bacteria - with cases on both sides of the Tasman said to be on the rise.

But Melbourne high school student, Zaynab Sheriffdeen, 14, has offered new hope for a cure, with research proving that manuka honey destroys MRSA.

Through a series of tests at Victoria's Infectious Disease Reference Laboratory, Zaynab found that manuka honey mixed with a penicillin antibiotic stops MRSA (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus)dead in its tracks.

Manuka honey is made by bees feeding on the manuka tree, which grows across New Zealand and parts of Australia, and it's said to be effective treating MRSA because it stops the bacteria attaching itself to tissue.

There's been previous evidence that medical grade manuka honey kills MRSA - including a recent study at the University of Technology Sydney, which found the substance can also prevent MRSA bacteria from becoming resistant to antibiotics.

But the research area is still developing and Zaynab's study appears to back up earlier findings.

The teenage prodigy, who lists Thomas Edison and Albert Einstein among his idols, is now turning his attention to other cures using honey.

'Many other diseases may be treated with the same treatment,' he said.

'For example eczema is cured much faster with honey than cream. All of these diseases have cures, we just need to find them.'

Zaynab's research has earned him a place among 90 finalists in Google's prestige annual Science Fair event, with the winner to be announced in California on June 27.

Just three other Australians were named as finalists.

Ethan Butson, 17, from Wollongong was named as a finalist for his research into ways to cut skin cancer rates by developing a new tool to measure UV exposure.

Viney Kumar, 14, from Sydney came up with a way to help emergency vehicles battle their way through heavy traffic.

His idea involved sending an alert to smartphones in the cars ahead of the emergency vehicle, warning them to get out of the way.

And Yaya Lu, 17, from Hobart invented a computerised system to help quadriplegics achieve greater mobility.

คำสำคัญ (Tags): #healthcare#youth development
หมายเลขบันทึก: 539382เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 05:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Ironic?

I see that there are solutions to one same goal (to promote health and youth development).

It is less important to rate which is the better but to ask which works for us.

Perhaps, for researchers (and *-to-be), the dimensions and the horizons of our future society should be visualized and planned --now--. (you and I know it takes years to make things happen ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท