เทคนิคปวารณาในการจัดการความรู้


ในทางการจัดการความรู้ก็อาจจะทำให้คุณกิจ หรือเพื่อนคุณอำนวย หรือคุณเอื้อไม่สบายกายไม่สบายใจในการทำงานหนึ่งงานใดได้ ก็น่าจะได้นำหลักการนี้มาปรับใช้นะครับ ใจกว้างเปิดโอกาสให้เขาเตือนได้บ้าง และคนเตือนก็เตือนด้วยเมตตานะครับ อาจจะเรียกเทคนิคนี้ว่า เทคนิคปวารณา ก็ได้

            วันนี้แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันตักบาตรเทโว (เมื่อวานขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 วันออกพรรษา) ประเพณีปักษ์ใต้บ้านเราก็ต้องไปวัดทำบุญ นำขนมต้นไปถวายพระ ขนมต้นนี้ทำจากข้าวเหนียวผัดน้ำกะทิ เสร็จแล้วนำมาห่อด้วยใบกะพ้อ นึ่งจนสุกดี วัดบางวัดก็จัดให้มีการชักพระ(ลากพระ)ด้วย ก็ต้องนำขนมต้มไปแขวนที่เรือพระด้วย....ขนมต้มนี้อร่อยนะครับ นอกจากใช้กินแล้ว ขนมต้มบางวัดเขาใช้เป็นอุปกรณ์กีฬาได้ด้วย คือกีฬาซัดต้มครับ ชายหนุ่ม..หรืออาจะแก่ด้วยก็ได้ อยากจะลองความแม่น ก็ยืนกันคนละฝั่ง ถือขนมต้มในมือ ปาขนมต้มไปให้โดนฝ่ายตรงข้าม ใครปาแล้วโดนฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าชนะ กีฬานี้มีกรรมการด้วยนะครับ  หากไม่มีกรรมการคงวุ่นวายน่าดู

         ผมก็พาแม่ไปวัดตามปรกติ ได้เข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับวันออกพรรษา วันตักบาตรเทโวจากพระพอสมควร บวกกับที่เคยรู้บ้างแล้ว รู้เท่านี้คิดว่าไม่พอ อยากจะรู้เพิ่มเติม เมื่อกลับถึงบ้านจึงค้นไปที่ google ก็ได้รู้ละเอียดชัดขึ้นว่าวันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือเมื่อพระภิกษุได้อธิฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (หรือเดือน ๙ กรณี เข้าพรรษาหลัง) หลังจากนี้ก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้           วันออกพรรษานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ฟังหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

             ปวารณา แปลว่า 1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ 2.ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้ “สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย; ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,..... ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.......” แปลวว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณกะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดี, เอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไขแม้ครั้งที่สอง.........แม้ครั้งที่สาม.......” (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)

           ผมมานั่งนึกดูหลักการการเปิดโอกาสให้ขอ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ และที่พระสงฆ์ปฏิบัติสืบต่อกันมา มันเป็นหลักการสร้างความสามัคคี สร้างสมานฉันท์ ลดความขัดแย้งอึมครึมที่อยู่ในใจ พระท่านจำพรรษาๆหนึ่งก็ 3 เดือน พระท่านยังเปิดโอกาสให้พระรูปอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้เลย เพราะในระหว่างเวลานั้นอาจจะได้ทำอะไรที่กระทบถึงเขาแล้วเขาเสียหายไม่สบายการสบายใจ เราเองที่ทำงานร่วมกันอยู่กับหลายๆคน ทั้งเพื่อนๆที่อยู่ในระดับเดียวกัน กับเจ้านาย อาจจะไปสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจให้แก่คนอื่นในช่วงขณะหนึ่งขณะใดก็ได้ ในทางการจัดการความรู้ก็อาจจะทำให้คุณกิจ หรือเพื่อนคุณอำนวย หรือคุณเอื้อไม่สบายกายไม่สบายใจในการทำงานหนึ่งงานใดได้ ก็น่าจะได้นำหลักการนี้มาปรับใช้นะครับ ใจกว้างเปิดโอกาสให้เขาเตือนได้บ้าง และคนเตือนก็เตือนด้วยเมตตานะครับ อาจจะเรียกเทคนิคนี้ว่า เทคนิคปวารณา ก็ได้

หมายเลขบันทึก: 53766เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2006 06:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตื่นเช้าจังเลยค่ะ ตื่นมาอิ่มบุญค่ะ
  • เป็นข้อมูลและสิ่งที่มีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ ทั้งสำหรับเรื่องของขนมต้มและเรื่องของการปวารนา รวมถึงเกร็ดธรรมมะที่ครูนงเมืองคอนนำมาฝากครับ
  • ขอบพระคุณสำหรับเทคนิคและบันทึกดี ๆ ที่มีมาให้พวกเราเสมอครับ
หิวแล้วละค่ะ ... กับได้หนทางในการเข้าใกล้ธรรมะ กับการจัดการความรู้ ... ช่างคิดจัง

         หากเป็นชาวบ้านอย่างพวกเราน่าจะเทียบได้กับการ "เปิด" เพื่อการพัฒนานะครับ

เรียน ทั้ง คุณ Bright Lily อ.ปภังกร คุณหมอนนทลี จากเพื่อนร่วมทาง และคุณสิงห์ป่าสัก

ขอบคุณที่เข้ามาร่วมทักทายและให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท