คำซ้อน


                                                            เรื่อง  คำซ้อน

              คำซ้อน เป็นการสร้างคำใหม่วิธีหนึ่ง เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมารวมกัน คำมูลที่นำมารวมกันนี้อาจจะมีความหมายเหมือนกันหรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน หรืออาจจะมีความหมายในลักษณะตรงกันข้าม เมื่อนำคำมูลมารวมกันเป็นคำซ้อน ความหมายของคำซ้อนจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้คำซ้อนมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คำคู่”

การนำคำมูลมาซ้อนกัน ต้องเป็นคำมูลชนิดเดียวกัน เช่น

คำนามกับคำนาม  ได้แก่คำว่า  เรือแพ  เสื่อสาด  หูตา  เนื้อตัว  ลูกหลาน

คำกริยากับคำกริยา  ได้แก่คำว่า  ชดเชย  ทดแทน  เรียกร้อง  ว่ากล่าว

คำวิเศษณ์กับคำวิเศษณ์  ได้แก่คำว่า  เข้มงวด  แข็งแกร่ง  ฉับพลัน  ซีดเซียว

การนำคำมูลมาซ้อนกัน อาจจะเป็นคำที่มาจากภาษาใดก็ได้ เช่น

๑. คำไทยกับคำไทย ได้แก่ ผักปลา อ่อนนุ่ม เลียบเคียง

๒. คำไทยกับคำเขมร ได้แก่ แบบฉบับ หัวสมอง ดอกดวง

๓. คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต ได้แก่ พรรคพวก ศรีสง่า เขตแดน

๔. คำเขมรกับคำเขมร ได้แก่ ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง ดลดาล

๕.คำเขมรกับคำบาลีสันสกฤต ได้แก่ ตรัสประภาษ สรงสนาน เสบียงอาหาร

๖. คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต ได้แก่ เหตุการณ์ กิจการ เขตขัณฑ์

ในการนำคำมูลมาซ้อนกัน มักจะใช้คำมูล ๒ คำ และถ้าจะนำคำมูลมาซ้อนกันมากกว่า ๒ คำ จะใช้คำมูลมาซ้อนเป็นเลขคู่ เช่น คำมูล ๔ คำ หรือคำมูล ๖ คำ  เช่น 

  คำมูล ๒ คำ ได้แก่ ฟ้าฝน หน้าตา ข้าวปลา

    คำมูล ๔ คำ  ได้แก่ ต้อนรับขับสู้  ยากดีมีจน  กู้หนี้ยืมสิน

  คำมูล ๖ คำ  ได้แก่ ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน  คดในข้องงอในกระดูก

คำซ้อนที่เกิดจากหลักการสร้างทั้ง ๓ วิธี ทำให้เกิดคำซ้อนขึ้นใช้มากมาย เมื่อจำแนกชนิดของคำซ้อน สามารถแยกได้ ๒ ชนิด คือ

  ๑. คำซ้อนเพื่อความหมาย  ๒. คำซ้อนเพื่อเสียง

คำซ้อนเพื่อความหมาย

เป็นการนำคำมูลมาซ้อนกัน โดยมีความหมายในทำนองเดียวกันหรือมีความหมายตรงกันข้ามมารวมกัน 

ความหมายทำนองเดียวกัน เช่น กักขัง  ปกป้อง  คัดเลือก  จืดชืด ซักฟอก  เดือดร้อน  ทิ้งขว้าง  บุกรุก  ปิดบัง ปกครอง  เพ่งเล็ง เลือกเฟ้น  สดชื่น 

ความหมายตรงกันข้าม เช่น  ถูกผิด  หนักเบา ยากง่าย  เร็วช้า  ชั่วดี  บาปบุญ  ดีร้าย  เปรี้ยวหวาน  สูงต่ำ  ดำขาว

เท็จจริง  สูงต่ำดำขาว  ชั่วดีถี่ห่าง  ศึกเหนือเสือใต้

คำซ้อนเพื่อเสียง

  เกิดจากการนำพยางค์สองพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้นอย่างเดียวกัน หรือตัวเดียวกัน ส่วนเสียงสระหรือตัวสะกดอาจจะต่างกันก็ได้ เช่น

  ๑. คำซ้อนเพื่อเสียง เกิดจากพยางค์สองพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะเหมือนกันหรือตัวเดียวกัน ได้แก่ เกะกะ ขรุขระ คู่คี่ เงอะงะ ซู่ซ่า

  ๒. คำซ้อนเพื่อเสียง เกิดจากพยางค์สองพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้นและตัวสะกดเหมือนกัน แต่มีเสียงสระต่างกัน ได้แก่ เก้งก้าง ขลุกขลิก คึกคัก จริงจัง

                                                        แบบทดสอบ  เรื่อง คำซ้อน

คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว  แล้วกาเครื่องหมาย  û  ในกระดาษคำตอบ

๑. คำที่มีเสียงและความหมายใกล้เคียงกัน เมื่อนำคำมารวมกันทำให้ความหมายของคำชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นคำชนิดใด

  ก.  คำมูล  ข.  คำซ้ำ  ค.  คำซ้อน  ง. คำสมาส

๒. คำซ้อนในตัวเลือกใด ต่างไปจากตัวเลือกอื่นๆ

  ก.  หนักเบา  ข.  สวยงาม  ค.  ถ้วยชาม  ง.  คำสมาส

๓. ข้อใดมีคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ

ก. ขัดข้อง  ขัดแย้ง  หยาบคาย     ข. กักขัง  เงอะงะ  โคลนตม

ค. สูญหาย  อาจหาญ  หลุกหลิก   ง. จัดจ้าน  มอมแมม  ชั่วช้า

๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคำซ้อน

  ก. คำซ้อนเป็นคำประสมชนิดหนึ่ง 

  ข. เราซ้อนคำเพื่อให้เกิดความหมายใหม่

  ค. คำซ้อนทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่าง ๆ ได้ 

  ง. คำที่นำมาซ้อนจะต้องเป็นคำไทยซ้อนกับคำไทยเท่านั้น

๕. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ

  ก. ระแทะ  ละเลย      ข. โลเล  ฟื้นฟู   

  ค. กระจง  ขัดแย้ง      ง. เพ่งเล็ง  ดาวดับ

๖. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ

  ก. บอกเล่า  พลบค่ำ  ข. รุ่งเช้า  ตรวจตรา

  ค. ขัดขวาง  กว้างขวาง    ง. รอคอย  เรียบร้อย

๗. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียงทุกคำ

  ก. ขึ้งโกรธ  บิดพลิ้ว  ข. เยอะแยะ  ข่มเหง

    ค. วุ้ยว้าย  ลักลั่น  ง. คัดเลือก  บุกรุก

๘. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่ไม่มีความหมายของคำกว้างกว่าคำเดิม

  ก.  ข้าวปลา  ข.  พี่น้อง  ค.  เสื้อผ้า  ง.  เดียวดาย

๙. คำซ้อนในข้อใดเกิดจากการนำคำมาจากภาษาไทยรวมกับบาลีสันสกฤต

  ก.  ซื่อสัตย์    ข.  แบบฟอร์ม 

ค.  เรือแพ    ง.  เสด็จประพาส

๑๐. คำซ้อนในข้อใดเกิดจากการนำคำนามมารวมกับคำนาม

  ก.  สั่งสอน  อดทน  ข.  ร่างกาย  ใกล้ชิด

  ค.  ลูกหลาน  น้าอา  ง.  เข้มงวด  ชมเชย 


หมายเลขบันทึก: 537058เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เฉลยนะคะ


เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่อง คำซ้อน

๑.  ค.

๒.  ก.

๓.  ก.

๔.  ค.

๕.  ก.

๖.  ค.

๗.  ข.

๘.  ง.

๙.  ก.

๑๐.  ค.


 .... ตามมาทดสอบ ..... คำซ้อน ค่ะ .... ขอบคุณ นะคะ

ขอบคุณค่ะคุณหมอที่แวะมาเยี่ยม

ขอถามว่า ที่คุณครูเฉลยที่รร ไม่เห็นตรงกับในเวปเลยคะ ไม่รู้ที่ถูกต้อง ควรเป็นเช่นไร

คิดเอาเองครับอิอิอิิิิอิอิิิิิิอิออิอิ

คือ อยากทราบว่า ข้อ 7 เฉลยผิดรึเปล่าคะ เพราะว่าจากโจทย์ควรจะเป็น ค. มากกว่า เนื่องจากคำซ้อนเพื่อเสียงต้องมีพยัญชนะเสียงเหมือนกันหรือพยัญชนะต้นกับตัวสะกดเหมือนกัน แต่ข้อ ข. คำว่า ข่มเหง กลับไม่อยู่ในเกณฑ์ 2 ข้อนี้เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท