554. พัฒนาองค์กรด้วยกระดาษแผ่นเดียว


Theory U ตอนที่ 14

 

เมื่อตอนที่แล้ว ผมพูดถึงเครื่องมือที่เป็นทางเลือกตัวหนึ่งคือ Balance of Advocacy and Inquiry ... ที่จะช่วยเราแก้ปัญหาเวลาไม่สามารถใช้ Theory U ได้ วันนี้จะแนะนำอีกตัวคือ Left hand Column (LHC)... เอาเป็นว่าในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน คุณยอมรับไหมว่าหลายครั้งคุณเคยคิดผิด เพราะคุณเคยเชื่ออะไรผิดๆ คุณอาจเคยเสียเพื่อน ด้วยเพราะคุณมีอคติในใจ และก็ทำอะไรบางอย่างที่คุณย้อนกลับไปคิดแล้ว คุณรู้สึกเสียใจและเสียดาย  ... นั่นหมายความว่า มีอะไรบางอย่างที่คอยบงการวิถีการคิด การกระทำของคุณอยู่ ทางบริหารเราเรียกว่ารูปแบบความคิด หรือความฝังใจ (Mental Model)

ลองดูภาพนี้ไหมครับ เห็นอะไรไหม...

                                     

 

 

ดูคนในภาพสิครับ คู่หนึ่งเต้นรำแบบไม่สนใจอะไรในโลก อีกสองคนกลับทำอะไรที่แตกต่างออกไป  ดูเหมือนจังหวะ หรือความสนใจของคนแต่กลุ่มดูไปคนละทาง...แน่นอนบางครั้งความกดดัน หน้าที่ความรับผิดชอบ ทำให้เราต้องคิดต้องทำอะไรกัน ไปคนละทิศทาง เป็นไปได้ไหม ว่าที่เราคิดคนละอย่างอยู่คนละมุม ในองค์กร เพราะเรากำลังให้ความสนใจ ใส่ใจในอะไรบางอย่าง ที่แน่นอนต่างกัน ด้วยเพราะปัจจัยแวดล้อม ความกกดัน ความเชื่อ อคติมันไปคนละทาง  เป็นไปได้ไหมว่าตอนนี้ทุกคนมี Mental Model ไม่เหมือนกัน เราจึงเต้นไม่เหมือนกัน หรือไม่เต้นพร้อมๆ กัน  

ว่ากันตามทฤษฎี มนุษย์ทำอะไรบางอย่างลงไป มักมีแรงผลักดันมาจาก Mental Model ที่หลายครั้งมาจากความเชื่อ อคติ อะไรบางอย่าง ที่อาจจะพัฒนาขึ้นมาในตัวคุณอย่างเงียบงัน จากห้วงเวลาที่นานแสนนานมาแล้ว มันยากที่จะเห็น ถึงเวลา เราถูกระตุ้น เราจะมีปฏิกิริยาอัตโนมัติเกิดขึ้น กลายเป็นการกระทำออกไป  นี่แหละที่ Christ Argyris ปรมาจารย์ด้าน OD ของโลก บอกว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ และการพัฒนาองค์กร เรียกว่านี่แหละที่ทำให้คนเต้นในจังหวะที่ต่างกัน   

Christ Argyris เลยเสนอเครื่องมือหนึ่ง เรียกว่า Left Hand Column (LHC) ทำง่ายๆครับ เวลาคุณไปมีเรื่องกับใคร หรือไปคุยกับใครมา เรียกว่า ทุกครั้งที่ปากกับใจไม่ตรงกัน คุณอาจทักทายนายของคุณ แต่ในใจคุณด่าเขาซะเละ  นี่แหละ ถึงเวลาแล้ว ที่คุณจะเริ่มทำ LHC

เริ่มจากเอากระดาษเปล่ามา... เอาปากกาลากเส้นแบ่งหน้าออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นคอลัมภ์ด้านขวา (Right Hand Colum) และคอลัมภ์ด้านซ้าย (Left Hand Column) ระลึกถึงเรื่องราวที่คุณได้คุยกับคู่สนทนาไป... คำต่อคำเป็นอย่างไร..บันทึกลงข้างขวาก่อน..

เช่นวันนี้สมมติผมเจออาจารย์คนหนึ่งที่ผมไม่ชอบหน้า ผมก็ทัก... “อาจารย์ครับ สบายดีนะครับ อาจารย์พึ่งสอบนักศึกษามาเหรอครับ” อาจารย์ท่านนั้น บอก “โอ๊ยของผมสอบหมดแล้ว... “

ผมก็ลงข้อความด้านนี้ไปที่ด้านซ้ายก่อน คราวนี้ด้านขวาผมเขียนอะไร... ผมต้องนั่งนึกก่อนว่า ตอนนั้นผมรู้สึกอะไร... จำได้ว่าในใจผมพูดว่า “... เออ เสร็จแล้วเหรอ คุณไม่ได้ดูอะไรเลย ไม่ได้สอนอะไรเลย ไม่รับผิดชอบอะไร มันก็จบเร็วกันสินะ”

หน้าต่างของ LHC จะออกมาเป็นอย่างนี้ครับ 

 

ผมได้ข้อมูลแล้ว... จากนั้นผมก็เอาที่ผมเขียนมานั่งดู...ดูสิว่าอะไรคือความฝังใจของผม...ที่มันโผล่ออกมา.. เจอเลยครับว่า.. ผมมีอคติต่อเพื่อนผมมากๆ รูปแบบความคิดผมคือไอ้นี่ไม่รับผิดชอบ เอาเร็วไว้ก่อน... ผมจำได้ทุกครั้งที่เจอหน้า ผมจะรำคาญและอยากเดินไปไกลๆ ทุกครั้ง...แต่ผมก็เจอเขาทำอะไรแบบนี้ทุกครั้ง..

กลับมาวิเคราะห์.. เออแฮะนี่คือรูปแบบความคิด ที่ผลักผมไปเกลียดไปเดินหนีเขานี่นา...

ขั้นต่อไปเราต้องมาพิจารณาดูว่า.. เราจะหาทางทำอะไรที่สร้างสรรค์  ในเวลาที่เจอคู่กรณีในครั้งต่อไปไหม...

ผมมาค้นพบตัวเองว่า.. จริงๆ เขาก็พยายามเปลี่ยนอยู่นะ.. แม้จะเป็นหนเดียวในสิบปีที่รู้จักกันมา... ทำยังไง ตอนนั้นเจอปัญหานักศึกษา สรุปความคิดรวบยอดไม่เป็น.. ทำวิทยานิพนธ์กระจาย แต่สรุปความคิดไม่ได้...อาจารย์คนนี้เองที่ช่วยลูกศิษย์ผมสรปุความคิดตนเองจนสอบผ่าน จริงๆ เหมือนถ้าเรามาเจอปัญหาร่วมกัน เราก็ร่วมกันแก้ได้นี่นา

อีกครั้งหนึ่ง... มีวันหนึ่งไปเจอหนังสือบริหารธุรกิจสายญี่ปุ่นที่สอนการเขียนแผนธุรกิจให้จบในหน้าเดียว ผมตื่นเต้นมาก รีบหาหนังสือนี้มาโชว์เพื่อนผม  เพื่อนผมชอบมาก เขาเองคิดว่ามันก็เป็นประโยชน์กับลูกศิษย์เขาด้วย เพื่อนผมเองเลยถามว่า “ภิญโญ มีหนังสืออะไรแนะนำอีกไหม” ผมเลยได้โอกาสแนะนำหนังสือใหม่ และเพื่อนผมก็คิดสร้างมุมหนังสือที่เน้นทฤษฎีบริหารที่ทันสมัยในห้องสมุด  หรือมุมแนะนำหนังสือที่ผมแนะนำเพื่อนผมนั่นเอง ... โดยเพื่อนผมเป็นคนดำเนินเรื่องให้หมด... ตอนนี้มี 10 เล่มครับ

เอาหล่ะ ผมเจออะไรที่สร้างสรรค์แล้ว... ต้องหาปัญหาที่เผชิญร่วมกันก่อน จึงจะแสวงหาความร่วมมือกันง่ายขึ้น  ครั้งต่อไปผมจะทำอย่างนั้นครับ...

บทวิเคราะห์นี่ ผมพึ่งทำตอนนี้แล้วก็เจอ Mental Model ของผมเอง ที่มันผลักดันให้ผมเดินหนีเพื่อนผมมาหลายครั้งในรอบสิบปี พอทำแล้วก็เจอหนทางใหม่ ที่จะทำให้ผมมีโอกาสยืนคุยกันเพื่อนได้นานขึ้น แล้วก็สร้างสรรค์อะไรดีๆได้มากยิ่งขึ้น 

....

ลองมาดูภาพศิลป์สวยๆกันหน่อย เป็นของคณะนักเต้น...คุณมองเห็นอะไร

                                     

 

                                 

ผมเห็นความกลมกลืน ความสง่างาม จังหวะที่ต่าง แต่สอดประสานอย่างลงตัว ที่สำคัญรูปร่าง บุคลลิก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็ต่างกัน... แต่หากมีวิธีการ ใครก็สามารถหลอมรวมความต่างมางานงานศิลปะชั้นยอดได้ แม้เพียงชั่วครู่ 

 

LHC เป็นทางเลือกหนึ่งของนักพัฒนาองค์กรในการสร้างสมดุลย์ สร้างความกลมกลืน บนฐานของความแตกต่าง.

 

ในมุมมองของผม LHC เป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยากครับ กระดาษแผ่นเดียวก็ทำได้... ลองหาโอกาสฝึกอบรมคนในองค์กร ด้วย LHC ง่ายๆนี้สิครับ.. บางทีจะเห็นอะไรสร้างสรรค์ขึ้นอีกมาก.. และตรงนี้แหละที่ผมว่า ถ้าทำ Theory U ยังไม่ ได้ผลชัดเจน LHC ก็เป็นทางเลือกหนึ่งครับ เพราะทำคนเจอจุดบอด (Blind Spot) ได้เหมือนกับการทำ Theory U เลย

ไม่แปลกหรอกครับ นี่เป็นตัวอย่างว่าสิบปี ที่มนุษย์คนหนึ่งทักกันอยู่ทุกวัน แต่เคยทำอะไรสร้างสรรค์ร่วมกันเพียงครั้งเดียว... จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรมีคนสิบคน ทำอะไรดีๆ ร่วมกันสักเดือนละเรื่อง เพราะสามารถเคลียร์ Mental Model ที่ผลักดันให้คนเดินห่างจากกัน อยู่อย่างตัวใครตัวมัน เรียกว่าดีทั้งคู่ แต่ไม่ทำให้องค์กรดีขึ้นมา หรือทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นมาแต่อย่างใด คุณว่าองค์กรจะก้าวหน้าไปขนาดไหน...

คนเราอยู่ที่เดียวกัน ประเทศเดียวกัน แม้จะเต้นด้วยสไตล์ต่างกัน ในเวลาต่างกัน ถ้าลองปรับลองจูนกัน เริ่มที่ตัวคุณก่อน คุณจะพบความสวยงามของสิ่งที่คนที่คิดต่างกัน ไปคนละทาง แต่เมื่อมาร่วมทางกัน เต้นด้วยกัน ด้วยความเข้าใจ กลัยสร้างสรรค์อะไรร่วมกันได้ออกมาอย่างงดงาม ... 

คุณว่าจริงไหม

วันนี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

 

อ้างอิง

http://sloanreview.mit.edu/article/the-leaders-new-work-building-learning-organizations/

Credit

ภาพแรก http://favim.com/image/75962/

ภาพที่สอง http://savvycollector.com/products/511-iso-dance-company-by-lois-greenfield

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 536800เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2021 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

นางสาวกวินารัตน์ เชื้อวณิชย์ 555740017-5 sec.11

นายธีระวัฒน์ นิมมาศุภวงศ์รัฐ 555740044-2 Young14 Sec11

ทิราภรณ์ น้อยผาง 555740041-8 sec.11 Y.14

ทิราภรณ์ น้อยผาง 555740041-8 sec.11 Y.14

จิตตานันทิ์ หลักทรัพย์ 555740023-0 Sec.11 Y#14

นางสาวพรจิตรา สุกขันต์ 555740055-7 Y#14 Sec11

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท