ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 39


นาม พยัญชนะการานต์

พยัญชนะการานต์ รฺ, นฺ และ สฺ

  1. อิรฺ, อุรฺ
  2. อินฺ
  3. อสฺ, อิสฺ, อุสฺ


1. พยัญชนะ รฺ การานต์ มีไม่กี่คำที่ลงท้ายด้วย รฺ ในที่นี้ขอเสนอคำที่ลงท้ายด้วย อิรฺ และ อุรฺ

การแจกนามเหล่านี้มีหลักง่ายๆ ว่า ถ้าวิภักติเป็นพยัญชนะ ให้ยืดเสียงสระก่อน  ส่วนกรรตุการก เอกพจน์นั้น ยืดเสียงสระแล้ว สฺ ที่เป็นวิภักติก็หายไปด้วย ส่วนอื่นๆ ก็แค่นำการานต์ (รฺ) ไปสนธิกับตัววิภักติเท่านั้นเอง

ตัวอย่างการแจกนาม รฺ การานต์ คำว่า คิรฺ (สตรี) เสียง และ ปุรฺ (สตรี) เมือง  ดังนี้

..

..

  คิรฺ (गिर्)

..

...

..

 ปุรฺ (पुर्)

..

..

เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

...

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

คีรฺ

  คิเรา

  คิรสฺ

...

 ปูรฺ

  ปุเรา

  ปุรสฺ

อาลปนะ

คีรฺ

  คิเรา

  คิรสฺ

...

 ปูรฺ

  ปุเรา

  ปุรสฺ

กรรม

คิรมฺ

  คิเรา

  คิรสฺ

...

 ปุรมฺ

  ปุเรา

  ปุรสฺ

กรรณ

คิรา

  คีรฺภฺยามฺ

  คีรฺภิสฺ

...

 ปุรา

  ปูรฺภฺยาม

  ปูรฺภิสฺ

สัมประทาน

คิเร

  คีรฺภฺยามฺ

  คีรฺภฺยสฺ

...

 ปุเร

  ปูรฺภฺยาม

  ปูรุภฺยสฺ

อปาทาน

คิรสฺ

  คีรฺภฺยามฺ

  คีรฺภฺยสฺ

...

 ปุรสฺ

  ปูรฺภฺยาม

  ปูรุภฺยสฺ

สัมพันธ

คิรสฺ

  คีโรสฺ

  คีรามฺ

...

 ปุรสฺ

  ปุโรสฺ

  ปุรามฺ

อธิกรณ

คิริ

  คีโรสฺ

  คีรฺษุ

...

 ปุริ

  ปุโรสฺ

  ปูรฺษุ

กลุ่มนี้ไม่มีอะไรยาก แต่โปรดสังเกตว่า มี คิรสฺ, ปุรสฺ ในหลายการก เมื่อต้องแปลให้ระวังให้ดี อาจแปลออกมาผิดความหมายได้ง่ายๆ

ส่วน คีรฺ และ ปูรฺ นั้น เมื่อนำไปใช้ อาจสนธิกับพยัญชนะเสียงไม่ก้อง รฺ ก็จะกลายเป็น สฺ ตามระเบียบนะครับ

2. นามที่ลงท้ายด้วย นฺ ในรูปที่ลงท้าย อินฺ ซึ่งมักเป็นคำที่ลงปัจจัยตัทธิต (เพื่อบอกว่า ผู้มี..) เช่น โภค+อินฺ = โภคินฺ, ภาคฺ + อินฺ = ภาคินฺ, ปกฺษ + อินฺ = ปกฺษินฺ ฯลฯ คำเหล่านี้มีมาก. นอกจากนี้ยังมีคำที่ลงท้ายด้วยปัจจัย วินฺ และ มินฺ ในความหมายเดียวกัน (พบได้น้อย). พบเฉพาะนามเพศชาย และเพศกลาง. ส่วนเพศหญิงไม่ปรากฏคำลงท้ายอินฺ เพราะจะลงท้าย อินี แทน (คือ อินฺ + อี นั่นเอง) เช่น ธนินฺ (ปุ.) ธนินี (ส.)

การแจกรูป มีกติกานิดหน่อย  คือ

  • ก. ลบ นฺ หน้าวิภักติที่เป็นพยัญชนะ
  • ข. การกที่ 1 เอกพจน์ เพศชาย ให้ยืดเสียงสระท้ายเพื่อชดเชยเสียง นฺ ที่ลบไป
  • ค. อาลปนะ ไม่ยืดเสียง ไม่ลบ นฺ .  ลงวิภักติ สฺ แล้วลบ สฺ ทิ้ง

ตัวอย่าง ธนินฺ เพศชาย และเพศกลาง  แปลว่า ผู้ร่ำรวย (เมื่อใช้เป็นนาม) หรือ ร่ำรวย (เมื่อใช้เป็นคุณศัพท์ หรือคำขยายนาม)

..

..

  ธนินฺ (ปุ.)

  ..

..

  ธนินฺ (นปุ.)

  ..

..

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

   เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

 ธนี

  ธนิเนา

  ธนินสฺ

   ธนิ

  ธนินี

  ธนีนิ

อาลปนะ

 ธนินฺ

  ธนิเนา

  ธนินสฺ

   ธนิ

  ธนินี

  ธนีนิ

กรรม

 ธนินมฺ

  ธนิเนา

  ธนินสฺ

   ธนิ

  ธนินี

  ธนีนิ

กรรณ

 ธนินา

  ธนิภฺยามฺ

  ธนิภิสฺ

   --

  -- เหมือนกัน--

  --

สัมประทาน

 ธนิเน

  ธนิภฺยามฺ

  ธนิภฺยสฺ

   --

  -- เหมือนกัน--

  --

อปาทาน

 ธนินสฺ

  ธนิภฺยามฺ

  ธนิภฺยสฺ

   --

  -- เหมือนกัน--

  --

สัมพันธ

 ธนินสฺ

  ธนิโนสฺ

  ธนินามฺ

   --

  -- เหมือนกัน--

  --

อธิกรณ

 ธนินิ

  ธนิโนสฺ

  ธนิษุ

   --

  -- เหมือนกัน--

  --

* อย่าลืมว่า เฉพาะ 2 การกแรก และอาลปนะ ของเพศกลางเท่านั้นที่วิภักติ (-มฺ -อี -อิ) ต่างจากเพศชาย ที่เหลือเหมือนกันหมด

3. นาม ลงท้ายด้วย อสฺ อิสฺ และ อุสฺ คำเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเพศกลาง  การแจกมีหลักดังนี้

ก. ถ้าเป็นเพศชาย หรือหญิง (ซึ่งพบมีน้อยมาก และแจกเหมือนกัน) การกที่ 1 เอกพจน์ ให้ยืดเสียงสระท้าย จาก อะเป็นอา

ข. เพศกลาง กรรตุการก กรรมการก พหุ ให้ยืดเสียงสระท้าย แล้วแทรกอนุสวาระ 

ตัวอย่าง การแจกนาม มนสฺ (นปุ.) ใจ,  หวิสฺ นปุ.) เครื่องสังเวย, ธนุสฺ  (นปุ.) คันธนู

..

 ..

 มนสฺ

 ..

..

 หวิสฺ

 ..

 ..

 ธนุสฺ

 ..

..

 เอกพจน์

 ทวิพจน์

 พหูพจน์

 เอกพจน์

 ทวิพจน์

 พหูพจน์

 เอกพจน์

 ทวิพจน์

 พหูพจน์

กรรตฤ

 มนสฺ

 มนสี

 มนำสิ

 หวิสฺ

 หวิษี

 หวีºษิ

 ธนุสฺ

 ธนุษี

 ธนูºษิ

อาลปนะ

 มนสฺ

 มนสี

 มนำสิ

 หวิสฺ

 หวิษี

 หวีºษิ

 ธนุสฺ

 ธนุษี

 ธนูºษิ

กรรม

 มนสฺ

 มนสี

 มนำสิ

 หวิสฺ

 หวิษี

 หวีºษิ

 ธนุสฺ

 ธนุษี

 ธนูºษิ

กรรณ

 มนสา

 มโนภฺยามฺ

 มโนภิสฺ

 หวิษา

 หวิรฺภฺยาม

 หวิรฺภิสฺ

 ธนุสา

 ธนุรฺภฺยามฺ

 ธนุรฺภิสฺ

สัมประทาน

 มนเส

 มโนภฺยามฺ

 มโนภฺยสฺ

 หวิเษ

 หวิรฺภฺยาม

 หวิรฺภฺยสฺ

 ธนุเส

 ธนุรฺภฺยามฺ

 ธนุรฺภฺยสฺ

อปาทาน

 มนสสฺ

 มโนภฺยามฺ

 มโนภฺยสฺ

 หวิษสฺ

 หวิรฺภฺยาม

 หวิรฺภฺยสฺ

 ธนุสสฺ

 ธนุรฺภฺยามฺ

 ธนุรฺภฺยสฺ

สัมพันธ

 มนสสฺ

 มนโสสฺ

 มนสามฺ

 หวิษสฺ

 หวิโษสฺ

 หวิษามฺ

 ธนุสสฺ

 ธนุโษสฺ

ธนุสฺามฺ

อธิกรณ

 มนสิ

 มนโสสฺ

 มนะสุ,

มนสฺสุ

 หวิษิ

 หวิโษสฺ

 หวิะษุ,

หวิษฺษุ

 ธนุสิ

 ธนุโษสฺ

 ธนุะษุ,

ธนุษฺษุ,

ง. คำนามเพศชาย องฺคิรสฺ (ชื่อฤษี) แจกดังนี้(นามเพศหญิงก็แจกแบบนี้)

..

..

  มนสฺ

..

..

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

 องฺคิราสฺ

  องฺคิรเสา

  องฺคิรสสฺ

อาลปนะ

 องฺคิรสฺ

  องฺคิรเสา

  องฺคิรสสฺ

กรรม

 องฺคิรสมฺ

  องฺคิรเสา

  องฺคิรสสฺ

กรรณ

 องฺคิรสา

  องฺคิโรภฺยามฺ

  องฺคิโรภิสฺ

สัมประทาน

 องฺคิรเส

  องฺคิโรภฺยามฺ

  องฺคิโรภฺยสฺ

อปาทาน

 องฺคิรสสฺ

  องฺคิโรภฺยามฺ

  องฺคิโรภฺยสฺ

สัมพันธ

 องฺคิรสสฺ

  องฺคิรโสสฺ

  องฺคิรสามฺ

อธิกรณ

 องฺคิรสิ

  องฺคิรโสสฺ

  องฺคิรสฺสุ,

องฺคิระสุ

จ. คุณศัพท์ที่ลงท้ายแบบนี้ ได้แก่ สุมนสฺ (ผู้มีใจดี) ทีรฺฆายุสฺ (ผู้มีอายุยืน) แจกตามเพศในแบบที่ให้ไว้


ศัพท์


ธาตุ

√สญฺชฺ (ชติ, มักใช้ สชฺเต เป็นกรรมวาจก แทนที่ สชฺเต) ยึดติด แขวน (เมื่อใช้เกี่ยวกับความคิด จะใช้กับการกที่ 7)

นาม

  • อปฺสรสฺ ส. นางอัปสร
  • อุรฺวศี ส. ชื่อนางอัปสรตนหนึ่ง
  • กฺษิติป ปุ. พระราชา
  • คิรฺ ส. เสียง, เพลง
  • จกฺษุสฺ นปุ. ตา
  • จนฺทฺรมสฺ ปุ. ดวงจันทร์
  • จาร ปุ. สายลับ
  • ชฺยา ส. สายธนู
  • ชฺโยติสฺ นปุ. เแสง, ดาว
  • ตฑาค ปุ. สระ บ่อน้ำ
  • ทฺวารฺ ส. ประตู
  • ธนุสฺ นปุ. คันธนู
  • นาลี ส. คู ท่อ คลอง
  • ปยสฺ นปุ. นม น้ำ

  • ปุรฺ ส. เมือง
  • ปุรูรวสฺ ปุ. ชื่อบุคคล
  • ปฺราณินฺ ปุ. สัตว์โลก (ปฺราณ + อินฺ)**
  • ภรตขณฺฑ ปุ. อินเดีย
  • มนสฺ นปุ. ใจ
  • มนฺตฺรินฺ ปุ. มนตรี (มนฺตฺร+ อินฺ)**
  • ยชุสฺ นปุ. คัมภีร์ยุชรเวท, บทสวดในพิธีสังเวย
  • ยศสฺ นปุ. ยศ ชื่อเสียง
  • วณิชฺ ปุ. พ่อค้า
  • วยสฺ นปุ. อายุ วัย
  • สุมนสฺ ส. ดอกไม้
  • สูรฺย ปุ. พระอาทิตย์
  • สฺถาน นปุ. สถานที่ ตำแหน่ง มั่นคง
  • สฺวามินฺ ปุ. เจ้า เจ้าของ (สฺวา+มินฺ)**
  • หวิสฺ นปุ. เครื่องสังเวย

คุณศัพท์

  • อากฺฤษฺฏ, ส. -อา* (กริยาย่อยของ √กฺฤษฺ + อา) โน้ม, ก่ง
  • ตปสฺวินฺ มีทุกข์, กำลังทำตบะ (ปุ. ดาบส) (ตปสฺ+วินฺ)
  • เตชสฺวินฺ กล้าหาญ (เตชสฺ+วิน)**
  • ปฺรถม, ส. -อา ที่หนึ่ง, ปฐม
  • มฺฤต, ส. -อา (กริยาย่อยของ √มฺฤ, √มฺฤ+ต) ตายแล้ว, ตกแล้ว
  • สฺถิต, ส. -อา (กริยาย่อยของ √สฺถา, √สฺถา+อิ+ต) ยืนอยู่, ยืนแล้ว

*หมายความว่า ปุ. และ นปุ ใช้แบบคำแรก, ส่วน สตรี. ให้เติมสระอาท้ายคำ (= ปุ.นปุ. อากฺฤษฺฏ, ส. อากฺฤษฺฏา) ต่อไปจะใช้แบบนี้ตลอด
** โปรดสังเกต อินฺ, วินฺ, มินฺ เป็นปัจจัย

ศัพท์ไม่แจกรูป

  • ไว  จริงๆ, แน่แท้


แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย


2. แปลไทยเป็นสันสกฤต
  1. จงเร่งเสียงในการสวดสรรเสริญ(ใช้ स्तोत्र นปุ. สัมประทานการก)แห่งพระหริ
  2. ในเมืองทั้งหลายของอินเดีย พ่อค้าผู้ร่ำรวยและนักรบผู้กล้าหาญ อาศัยอยู่
  3. บทสวดสรรเสริญของปุรูรวสฺ ถูกขับร้องแล้วโดยกาลิทาส
  4. พระราชารับสั่ง(√ชฺญา+อา, บอกเหตุ.) แล้วว่า จงให้เรียกมนตรีของเรา
  5. จิตใจทั้งหลายของนักพรตทั้งหลาย (ตปสฺวินฺ) จะต้องไม่ยึดติด (√สญฺชฺ) กับความร่ำรวย (ใช้ ศฺรี อธิกรณการก เอก.)
  6. ในตอนกลางคืน ดวงจันทร์ให้แสงแก่สัตว์โลกทั้งปวง
  7. บุคคลพึงสังเวยแด่เทพทั้งหลาย (ไม่ต้องใส่รูปประธาน)
  8. อัปสรทั้งหลายนำไปแล้ว ซึ่งนักรบทั้งหลาย ผู้ตายแล้วในสนามรบ สู่สวรรค์ (พยายามแยกวรรคให้ดี)
  9. ด้วยอายุ มิใช่ด้วยความรู้ ในบรรดาพี่น้องชายทั้งหลาย พระศิวะเป็นผู้เจริญที่สุด (ชฺเยษฺฐ)
  10. เทพทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยเครื่องสังเวยทั้งหลาย
  11. พ่อค้าปรารถนาสมบัติ นักรบปรารถนาชื่อเสียง นักบวชปรารถนาความหลุดพ้น

หมายเลขบันทึก: 536792เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (65)

ง่ายครับ ;)

ถ้าตามตั้งแต่บทแรก มีปัญหาสงสัยก็ถามได้ไม่อั้น ง่ายที่ซู้ดดดแล้วครับ ...

Thanks again for this lesson.

ภาษาที่มีพิธีการมาก การแยกแยะละเอียด ช่วยให้ คนใช้ภาษานั้น ต้องครองสติให้ดี จึงจะใช้ภาษา ให้ชัดเจน ตรงความหมายได้ คนที่เรียนรู้ใช้ภาษาเช่นนี้ ย่อมเป็นคนมีสติสูงตามระดับการแยกแยะ

;-)

ต้องอ่านอยู่เรื่อยๆ ครับ ไม่งั้นลืมหมด ;)

คำว่า अंशुमालिन् ก็เข้ากฎข้อสองใช่ไหมค่ะ ?

จดเสร็จหมดแล้วค่ะ อิอิ ช่วงนี้บ้านหนูฝนตกทุกวัน แถวบ้านอาจารย์ตกไหมค่ะ

อาจารย์หมูลองอ่านนี่ดูค่ะ เขามีเปิดอบรมภาษาทมิฬประจำปี ๒๕๕๖ นี้ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดูรายละเอียดแล้วน่าสนใจมากๆ แต่เขารับเพียงแค่ 20 คนเท่านั้น

หนูก็สนนิดหน่อย แต่คิดว่ายังดีกว่า เราไม่ได้หลงใหลภาษาทมิฬอะไรขนาดนั้น เดี๋ยวจะเข้าไปกันที่เขาเปล่าๆ

ให้คนที่เขาชอบจริงๆได้เรียนดีกว่า อิอิ 

http://www.archae.su.ac.th/news/032556.pdf

ข้อ 1. วิภักตินามของการกที่ 7 คือ -ษุ ใช่ไหมค่ะ มิใช่ -สุ


ข้อ 1. ''ส่วน คีรฺ และ ปูรฺ นั้น เมื่อนำไปใช้ อาจสนธิกับพยัญชนะเสียงไม่ต้อง รฺ ก็จะกลายเป็น สฺ ตามระเบียบนะครับ ''


- อันนี้ไม่เข้าใจค่ะ ขอตัวอย่างด้วย และรู้สึกอาจารย์จะพิมพ์ผิดไปนะค่ะ ต้องเสียงไม่ต้อง 

  ธนินฺ (นปุ.)  ขอวิภักตินามด่วนค่ะ หนูไม่เข้าใจเลย การก 1/2/8   3 พจน์




ฝนตกเยอะครับ ค่อยหายร้อนหน่อย


"เสียงไม่ก้อง" เขียนผิดครับ ;)

ธนินฺ >  วิภักติคือ เอก. ทวิ. พหุ. คือ มฺ, อี, อิ (อันนี้จะเขียนเพิ่มเติมในคำอธิบาย)

1. ธนินฺ+มฺ = ธนินฺมฺ > ลบ มฺ ตัวนอก > ธนินฺ, ลบ นฺ หน้าวิภักติพยัญชนะ > ธนิ

2. ธนินฺ+อี = ธนินี

3. ธนินฺ+อิ = ธนินิ 

การก 7 พหุ คือ -สุ แต่เมื่อสนธิแล้ว อาจเป็น สุ หรือ ษุ แล้วแต่กรณี

คีรฺ (ประธาน เอก.) เมื่อตามด้วย ก ก็จะเป็น คีสฺ > คีะ เป็นต้น

อํศุมาลินฺ เข้าข่ายนี้ครับ (อํศุ+มาล+อินฺ> อํศุมาลฺ+อินฺ > อํศุมาลินฺ) ประธาน เอก. คือ อํศุมาลี

อาจารย์ค่ะ ถ้าว่ากันตามทฤษฎีจากบ้านเดิมของอารยันแถวเอเซียใต้ ที่อพยพไปทางกรีก

คือหนูอยากทราบว่า ภาษากรีกที่มาเป็นตระกูลเดียวกันกับกลุ่มอินโดอารยันแล้วนั้นคือช่วงไหนค่ะ

หลังจากพวกอีเจียนมาบุกกรีกแล้วช่วงนั้นหรือเปล่าค่ะ เพราะแถบกรีกดั้งเดิมสมัยวัฒนธรรมไซคลาดิสอะไรนั่น

น่าจะใช้ภาษาถิ่นกัน นี่ก็หมายรวมด้วยหรือเปล่าว่าแท้ที่จริงแล้วภาษากรีก (เฮลเลนิค- อารยัน) นั้น

ก็ต้องผสมปนเปกับภาษาเดิมท้องถิ่นของกรีกแต่เดิมด้วย 

ขอบคุณค่ะ..


- ถ้าเช่นนั้นสำหรับคำว่า คิรฺ และ ปุรฺ (การกที่ 7 - พหู ) ก็เป็นตามนี้ใช่ไหมค่ะ

  คีรฺ + สุ = คีรฺษุ (เปลี่ยน สฺ เป็น ษฺ เพราะ ข้างหน้ามีพยัญชนะ รฺ อยู่ )


-  (เตชสฺ+วิน) = ผู้มีเดช ?

-  (ตปสฺ+วินฺ) = ผู้มีตบะ ? 

ถูกไหมค่ะ อยากเรียนปัจจัยตัทธิตเร็วๆจัง ว่าแต่พวกปัจจัยกฤตที่อาจารย์เคยเขียนเปรยๆไว้นิดหน่อยนี่

ไม่มีต่อแล้วเหรอค่ะ เห็นว่าไม่ค่อยได้ใช้เลย

 

(สฺวามินฺ ปุ. เจ้า เจ้าของ) คำนี้เคยเจอในนิทานเวตาล มีตัวละครหนึ่งชื่อ ''หริสวามิน'' มันจะแปลว่าอะไรอะคะ ?


หนูอยากทราบว่าพวกที่เรียนเรียนสันสกฤตในระดับสูง ( advanced sanskrit ) แล้วเขาเรียนอะไรกันบ้าง อาจารย์พอจะทราบไหมค่ะหรือไปเน้นเรื่องที่มาที่ไปของเสียงตามหลักภาษาศาสตร์มากขึ้น


ขอบคุณค่ะ  ..

- ทำไม มนสฺ {นปุ} อธิกรณ - พหูพจน์ วิภักตินามไม่เปลี่ยน สฺ เป็น ษฺ ละค่ะ  แล้ว มนะสุ กับ มนสฺสุ อันนี้มีสองแบบเหรอค่ะ ?

หวิสฺ ก. 3 - ทวิพจน์ = หวิรฺคฺภฺยามฺ   

คฺ มาจากไหนค่ะ ?

หวิสฺ + โอสฺ  = หวิโษสฺ ษ มาจากไหนค่ะ งง จัง ?

havis + os, สฺ ตามหลังสระอื่น (อิ) ที่ไม่ใช่อะอา จะกลายเป็น ษ

manas+su ไม่เปลี่ยนเป็น ษ เพราะ หน้า ส ไม่ใช่สระอื่น (แต่เป็น สฺ สีเขียว) ใช้ มนะสุ หรือ มนสฺสุ ก็ได้

หวิรฺคฺ เขียนผิดครับ แก้แล้ว

หริสฺวามินฺ = ควรแปลว่า ผู้มีพระหริเป็นเจ้า หรือ ผู้มีเจ้าคือพระหริ

ปัจจัยกฤตก็เรียนหลังการานต์นี่แหละครับ มีน้อย แต่ใช้เยอะ


สันสกฤตระดับสูงจะเน้นความหลากหลายที่แตกต่างไปจากไวยากรณ์หลักๆ

พวกข้อยกเว้น หรือกรณีที่พบน้อย การเปลี่ยนแปลงทางไวยากรณ์ในแต่ละสมัย

รวมทั้งลักษณะไวยากรณ์เฉพาะสมัย เช่น ไวยากรณ์พระเวท

ไวยากรณ์คัมภีร์พุทธศาสนา


จากเอเชียใต้ไปกรีกคงจะไม่ถูกต้อง

จากเอเชียกลางแล้วขยายออกไปสองทางจะใกล้เคียงกว่า

การแบ่งกันคงเก่ากว่านั้น หรือใกล้เคียงนั้นครับ

หวิสฺ พิมพ์ผิดไปหลายตัว แก้ไขแล้ว, ดูใหม่นะครับ (เปลี่ยนจาก ส เป็น ษ) 

  • ปฺรถม, ส. -อา ที่หนึ่ง, ปฐม
  • มฺฤต, ส. -อา (กริยาย่อยของ √มฺฤ, √มฺฤ+ต) ตายแล้ว, ตกแล้ว
  • สฺถิต, ส. -อา (กริยาย่อยของ √สฺถา, √สฺถา+อิ+ต) ยืนอยู่, ยืนแล้ว

- คุณศัพท์ 3 คำนี้ก็ใช้ได้ทั้งสามเพศหมดเลยใช่ไหมค่ะ ?

แอบสงสัยว่าทำไมจะต้องมี อา มาอยู่ข้างหน้าทั้งเพศชายและเพศกลางด้วย

มฺฤต เพศชายกับกลางคือ อามฺฤต หรือ มฺฤต เฉยๆค่ะ

ส่วนเพศหญิงคือ อามฺฤตา ใช่ไหมค่ะ


สฺถิต เพศกลางและชายคือ สฺถิต หรือ อาสฺถิต เพศหญิงก็คงเป็น อาสฺถิตาหรือเปล่าค่ะ




 '' เตชสฺวินฺ กล้าหาญ (เตชสฺ+วิน) ''

- อันนี้เพศชายหรือเปล่าค่ะ ในตัวอย่างไม่ได้ระบุเพศ ?


'' มักใช้ สชฺเต เป็นกรรมวาจก แทนที่ สชฺเต ''

หมายความว่า สชฺยเต เขาไม่นิยมกันเหรอค่ะ กรณีนี้ต้องจำเอาแน่ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ยากจัง

- โศลก = กนฺเธน คาวะ ปศฺยนฺติ เวไทะ ปศฺยนฺติ ไว ทิทฺชาะ ฯ

             จาไระ ปศฺยนฺติ กฺษิติปา .. กฺษุมฺรฺยามิตเร ชนาะ 

1.) อา กรฺณมากฺฤ..น ธนุษา..ศรานฺม...กฺษตฺริยาะ

2.) สูรฺย .. จนฺทฺรมา .. ชคโต ชโยติโษ

3.) ธนี วณิคฺทฺทาริ สฺถิเตมฺยสฺตปสฺวิมฺโย วสุ ทาปเยตฺ

4.) ย .. ษุ ย ..ษิ ปฐนฺติ เต' ธวรฺยว อุจฺยนฺเต

5.) วิ สฺยา มุวะ สมฺราฎฺ ปุรูรฺวา อุรฺวศีมปฺสรสํ ปรฺยณย ...

อาจารย์ตรวจอันที่ปริวรรตก่อนนะค่ะ ไม่รู้จะถูกหรือเปล่า ที่เว้นไว้คือไม่รู้ตัวอะไรค่ะ 



6.) กามสฺย ธนุษิ ชฺยายาะ สฺถาเน' ลยะ ศราณามฺ สฺถาเน สุมนสสฺติ ...

7.) ปฺรณินามฺ มนาสิ ชีวิเต สชนฺติ

8.) ปุริ วาริ ตฑาคานฺนาลฺยา ปารฺถิโว ' นายยตฺ

9.) .... สฺวามิเน กทาปิ น ...

10.) ...  เธนฺวาะ ปโย พาลานฺปิตราวปายยตามฺ


คุณศัพท์ไม่ระบุเพศ ใช้เพศไหนก็ได้

คำที่เติม อา ท้ายคือ นามเพศหญิง (ดูหมายเหตุ *หมายความว่า ปุ. และ นปุ ใช้แบบคำแรก, ส่วน สตรี. ให้เติมสระอาท้ายคำ (= ปุ.นปุ. อากฺฤษฺฏ, ส. อากฺฤษฺฏา) ต่อไปจะใช้แบบนี้ตลอด)

มันจะยาวถ้าเขียนทั้งสามเพศ เขามักจะเขียนย่อๆ ถ้าแจกแจงก็แบบนี้

  • ปฺรถม ปุ.  ปฺรถม นปุ. ปฺรถา ส.
  • มฺฤต ปุ. มฺฤต นปุ. มฺฤตา ส.
  • สฺถิต ปุ สฺถิต นปุ สฺถิตา ส.

ไม่ได้เติม อา ข้างหน้า, แต่เติมข้างหลัง


สญฺชฺ หมวด 1 ครับ, ใช้แบบไหนก็ไ้ด้ แต่ถ้ากรรมวาจก นิยมใช้ สชฺเต


คนฺเธน คาวะ ปศฺยนฺติ เวไทะ ปศฺยนฺติ ไว ทฺวิชาะ ฯ

จาไระ ปศฺยนฺติ กฺษิติปาศฺจกฺษุรฺภฺยามิตเร ชนาะ ฯ


1) อา กรฺณมากฺฤษฺเฐน ธนุษา ทฺวิฏฺสุ ศรานฺมุญฺชนฺติ กฺษตฺริยาะ ฯ

2.) สูรฺยศฺจ จนฺทฺรมาศฺจ ชคโต ชโยติษี ฯ

3.) ธนี วณิคฺทฺวาริ สฺถิเตภฺยสฺตปสฺวิภฺโย วสุ ทาปเยตฺ ฯ

4.) ยกฺเษษุ ย ฤตฺวิโช ยชูºษิ ปฐนฺติ เต' ธวรฺยว อุจฺยนฺเต ฯ

5.) วิศฺวสฺยา ภุวะ สมฺราฏฺ(ฏ มีจุด) ปุรูรฺวา อุรฺวศีมปฺสรสํ ปรฺยณยตฺตสฺยำ จ ปุตฺโร'ชายต


  • ปฺรถม ปุ.  ปฺรถม นปุ. ปฺรถา ส.
  • มฺฤต ปุ. มฺฤต นปุ. มฺฤตา ส.

 ปฺรถม เพศหญิง ต้องตัด ม ออกด้วยเหรอค่ะ ทำไม มฺฤต ไม่ตัดแต่เติมสระอาที่ข้างหลังเลย

จริงๆต้องเป็น ปฺรถมา หรือเปล่าค่ะ

อาจารย์ช่วยตรวจที่หนูปริวรรตข้อ 6 - 10 ให้ด้วยนะค่ะ เพราะบางข้อก็ยังติดบางตัวอยู่

ขอบคุณค่ะ 


หนูตามไปอ่านที่อาจารย์ตอบเรื่องกบ เขียดไว้ค่ะ อธิบายสะเห็นภาพเลย หนูขำมากๆ ละเอียดสุดๆ

บางท้องที่ก็เรียกเขียดตะปาด แต่ขำอาจารย์มากจริงๆนะค่ะ อ่านไปหัวเราะไป ฮ้าๆๆ


พอดีไม่ค่อยคุ้นกับเขียดเลยเขียนได้ไม่ละเอียด   เพิ่งนึกได้ มีเพื่อนเรียกเขียดตะปาดเหมือนกัน

ปฺรถมา นั่นแหละ, พิมพ์ตก ;)


6.) กามสฺย ธนุษิ ชฺยายาะ สฺถาเน' ลยะ ศราณำ สฺถาเน สุมนสสฺติษฺฐนฺติ ฯ 

7.) ปฺรณินำ มนำสิ ชีวิเต สชนฺติ ฯ

8.) ปุริ วาริ ตฑาคานฺนาลฺยา ปารฺถิโว ' นายยตฺ ฯ

9.) มนฺตฺริณะ สฺวามิเน กทาปิ น ทฺรุหฺเยยุะ ฯ

10.) เอตสฺยา เธนฺวาะ ปโย พาลานฺปิตราวปายยตามฺ ฯ


อ่านเรื่องกับเขียดของอาจารย์เสร็จแล้วต้องฟังเพลงนี้เลยค่ะ จะขำมาก ฮ้าๆ เข้ากันดี

http://www.youtube.com/watch?v=uccnnLFHHGM

โจทย์ข้อหนึ่ง คำว่า อา กรฺณมฺ นี่คืออะไรค่ะ หนูไปเจอมาแต่ आकर्णम्  

up to the ear or from the ear เป็นนิบาต
ไม่รู้ว่าใช้ได้หรือเปล่า

แล้วก็อาจารย์เคยบอกไว้ว่าตัวเทวนาครีนั้นก็มีลักษณะการเขียนที่บอกเสียงเน้น หนูเลยอยากเห็นว่ามันหน้าตายังไงค่ะ

กับอีกอย่างคือ เครื่องหมายโค้งๆเมื่ออยู่หน้า ย - ล - ว ด้วย

อาจารย์ว่างๆ ช่วยหามาให้ดูหน่อยค่ะ อิอิ

ขอบคุณค่ะ .. 

อ๋อ รู้แล้วค่ะข้อหนึ่งจะแปลยังไง แต่ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือเปล่า ?

1.) เหล่ากษัตริย์ (กฺษตฺริยาสฺ)  ปล่อย(มุญฺชนฺติ) ศรทั้งหลาย( ศรานฺ) สู่ศัตรูเหล่านั้น ( ทฺวิฎฺสุ) ด้วย {การ}ก่งคันธนู (อากฺฤษฺเฐน ธนุษา) มาจรดที่หู (อากรฺณมฺ )


กบกับเขียดน่ารักดี นึกได้ว่าเขียดร้องแอ้บๆ ;)

อา+กรฺณ (อา แปลว่า ถึง สู่) กรฺณ คือหู, ทำเป็นศัพท์ไม่แจก คือ กรฺณมฺ

แปลถูกแล้วครับ

เครื่องหมายเน้นเสียงเฉพาะในพระเวทครับ แต่ละเวท ใช้ไม่เหมือนกันนะ

  


วันนี้ ฉันได้ยินได้ฟัง เรื่องอัน นำมาสู่ความปิติยินดีของฉัน
ว่าองค์พระหริได้ทรงมาเยือน
ฉันพบว่าแท้ที่จริงแล้ว พระองค์มิได้เสด็จมาดอก
ฉันเพ่งมองไปยังท้องถนนด้วยความโหยหาอาวรณ์
ดวงตาทั้งคู่ของฉันจะไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งของฉัน
และปลดปล่อยกระแสท่วมท้นของหยาดน้ำตา

ฉันจะสามารถทำสิ่งใดอีกเล่า
ฉันได้พบกับความสูญเสียแท้จริง มีรากล่าว
'' ข้าแต่พระคิริธร นายเหนือหัวของฉัน ข้าพระองค์เฝ้ารอคอยการเสด็จมาของพระองค์ด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ ''

วสันตฤดูช่างแผ่กว้างออกไป
และชายส่าหรีของฉันก็เปียกปอน
พระองค์ก็มาจากไปสู่ดินแดนอันไกลโพ้น
และหัวใจของฉันก็พบว่า มันเหลือที่จะทนรับได้
ฉันยังคงส่งจดหมายถึงพระผู้เป็นสุดที่รักของฉัน
ถามว่า เมื่อไหร่ที่พระองค์จะเสด็จกลับมา
พระเป็นเจ้าของมีรา คือพระคิริธร ผู้ทรงศักดิ์
ข้าฯแต่พระกฤษณะ พระเชษฐาแห่งพระพลราม
โปรดอนุญาตให้ข้าน้อยได้เห็นพระองค์เถิด

..............................................


พอดีหนูจำได้ว่าเคยอ่านงานของอาจารย์คมกฤช ที่ภาคปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากรท่านแปลไว้ค่ะ 

เห็นว่าไพเราะดี เลยเอามาฝากอาจารย์ เป็นเรื่องของมีรา พาอี หนูเห็นแต่ที่เป็นภาษาไทย  เลยไม่ทราบว่าต้นฉบับนั้นคือภาษาฮินดีหรือสันสกฤตกันแน่ อาจารย์พบทราบไหมค่ะ

แต่น่าจะเป็นฮินดีนะค่ะอาจารย์ แล้วก็ คิริธร พระนามของพระกฤษณะ นี่แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งภูเขาเหรอค่ะ

อีกพระนาม อจฺยุต นี่ก็พบบ่อยๆค่ะ


หนังสือจากอิตาลีเป็นภาษาละติน สมัยปลายโกธิค ต่อเรอเนสซองส์ ราวๆ ค.ศ.1450-1500 ที่เห็นแล้วอยากเอามาแบ่งปันให้ชม เพราะมันสุโค่ยจิงๆ ในยุคที่หนังสือยังต้องเขียนด้วยมือทั้งเล่ม และโดยเฉพาะหนังสืออันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ยิ่งวิจิตรบรรจงเข้าไปใหญ่ ลายมือสวยๆเป็นแบบ gothic rotunda อันเป็นแบบอักษรที่นิยมกันในอิตาลีสมัยยุคกลาง ภาพประกอบหน้านี้เป็นรูปเซนต์แอนดรูว และแม่พระกับพระบุตร กับลวดลายประดับเขียนสีและปิดทองงามอร่าม

 โดยเฉพาะลูกเล่นที่ชอบมากคือทำให้พื้นสีขาวกลายเป็นแผ่นกระดาษขาดๆ วางอยู่บนลวดลายสีทองข้างหลัง ตามขอบตามรูขาดๆเขาให้แสงเงาได้สมจริง และถ้าสังเกตดีๆฝั่งขวาของกระดาษขาว คือเจ้าแมลงวันที่มันเกาะอยู่ใกล้ๆกับขอบกระดาษซึ่งขาดเป็นรูปคล้ายหน้าคน โดยมีลายทองข้างหลังเป็นลูกนัยตา...คิดว่าคนเขียนต้องอารมณ์ดีพอสมควรเลยนะ อาจารย์ลองไปดูภาพชัดๆได้ที่ http://www.columbia.edu/cgi-bin/dlo?obj=ds.Harvard-MA.MH-H.1679&size=large

 


1.) อากรฺณมากฺฤษฺเฐน ธนุษา ทฺวิฎฺสุ ศรานฺมุญฺชนฺติ กฺษตฺริยาะ ฯ = เหล่ากษัตริย์ (กฺษตฺริยาสฺ)  ปล่อย(มุญฺชนฺติ) ศรทั้งหลาย( ศรานฺ) สู่ศัตรูเหล่านั้น ( ทฺวิฎฺสุ) ด้วย {การ}ก่งคันธนู (อากฺฤษฺเฐน ธนุษา) มาจรดที่ใบหู (อากรฺณมฺ )


2.)  สูรฺยศฺจ จนฺทฺรมาศฺจ ชคโต ชฺโยติษี ฯ =ดาวทั้งสองดวง (ชฺโยติษี){คือ}พระอาทิตย์ (สูรฺยศฺ) แล (จ) พระจันทร์ (จนฺทฺรมาสฺ )เป็นของโลก (ชคตสฺ)


3.)  ธนี วณิคฺทฺวาริ สฺถิเตภฺยสฺตปสฺวิภฺโย วสุ ทาปเยตฺ ฯ= พ่อค้า (วณิคฺ) ผู้ร่ำรวย (ธนี) ยืน (สฺถิเตภฺยสฺ) เป็นทุกข์ (ตปสฺวินฺภฺยสฺ) อยู่ที่ตรงประตู (ทฺวาริ){ขณะ} พึงจ่ายทรัพย์(ทาปเยตฺ)


4.)  ยกฺเษษุ ย ฤตฺวิโช ยชูษิ ปฐนฺติ เตธวรฺยว อุจฺยนฺเต ฯ =ข้อนี้ติด ยกฺเษษุ กับ ’ธวรฺยว


5.)  วิศฺวสฺยา มุวะ สมฺราฎฺ ปุรฺรฺวา อุรฺวศีมปฺสรสํ ปรฺยณยตฺตสฺยำ จ ปุตฺโร ‘ ชายเต ฯ =แผ่นดินทั้งปวง (วิศฺวสฺยา ภุวสฺ) พระมหาราชา (สมฺราฎฺ) กับ ปุรูรวัส (ปุรูรฺวา) แต่งงาน กับนางอุรวศี (อุรฺวศีมฺ) และนางอัปสร( อปฺสรสํ) และได้ให้กำเนิด (อชายเต) บุตรชายแล้ว (ปุตรสฺ) ในพระนางนั้น (ตสฺยาม)


6.)   กามสฺย ธนุษิ ชฺยายาะ สฺถาเน ‘ลยะ ศราณามฺ สฺถาเน สุมนสฺสฺติษฺฐนฺติ ฯ = ข้อนี้ดูแล้วไม่ยากเลย แต่แปลออกมาแล้วไม่รู้เรื่องอะค่ะ


7.) ปฺราณินามฺ มนำสิ ชีวิเต สชนฺติ ฯ=หัวใจทั้งหลาย (มนำสิ) ของสัตว์โลก (ปฺราณินามฺ) แขวน (สชนฺติ) ในชีวิต (ชีวิเต)


8.)   ปุริ วาริ ตฑาคานฺนาลฺยา ปารฺถิโว ‘นายยตฺ ฯ = พระเจ้าแผ่นดิน (ปารฺถิวสฺ)ทรงให้บ่อน้ำทั้งหลาย( ตฑาคานฺ) นำน้ำ(วาริ) ไปในเมือง (ปุริ) โดยท่อแล้ว (นาลฺยา)


9.)  มนฺตริณะ สฺวามิเน กทาปิ น  ทฺรุหฺเยยุะ ฯ =เหล่าคณะมนตรี (มนฺตริณสฺ) ไม่พึงทำร้าย (น ทฺรุหฺเยยุสฺ) แด่เจ้าของ (สฺวามิเน) เสมอ (กทาปิ)ข้อนี้ไม่เข้าใจความหมายค่ะ


10.)  เอตสฺยา เธนฺวาะ ปโย พาลานฺปิตราวปายยตามฺฯ= นม (ปยสฺ) ถูกบิดา,โดยบิดา(ปิตฺรา){ถูก}สั่งให้ เด็กทั้งหลายดื่ม( พาลานฺ ปายยตามฺ) ของแม่โค (เธนวาสฺ) ตัวนั้น (เอตสฺยา) พ่อสั่งให้เด็กทั้งหลายดื่มนมของแม่โคตัวนั้น






3.)  ธนี วณิคฺทฺวาริ สฺถิเตภฺยสฺตปสฺวิภฺโย วสุ ทาปเยตฺ ฯ= พ่อค้า (วณิคฺ) ผู้ร่ำรวย (ธนี) ยืน (สฺถิเตภฺยสฺ) เป็นทุกข์ (ตปสฺวินฺภฺยสฺ) อยู่ที่ตรงประตู (ทฺวาริ){ขณะ} พึงจ่ายทรัพย์(ทาปเยตฺ)

ตปสฺวินฺ ในที่นี้ควรแปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะ หรือ ดาบส


4.)  ยกฺเษษุ ย ฤตฺวิโช ยชูษิ ปฐนฺติ เต’ธวรฺยว อุจฺยนฺเต ฯ =ข้อนี้ติด ยกฺเษษุ กับ ’ธวรฺยว

ข้อนี้ปริวรรตผิด ;). ยชฺเญษุ ยกฺเษษุ ยสฺ ฤตฺวิชสฺ ยชูษิ ปฐนฺติ, เต อธวรฺยวสฺ อุจฺยนฺเต

ในการสังเวยทั้งหลาย พราหมณ์คนใดสวดบทสวดแห่งยชุรเวท, พราหมณ์คนนั้นถูกเรียกว่า อธวรฺยุ

5.)  วิศฺวสฺยา มุวะ ภุวะ สมฺราฎฺ ปุรฺรฺวา อุรฺวศีมปฺสรสํ ปรฺยณยตฺตสฺยำ จ ปุตฺโร ‘ ชายเต ฯ =แผ่นดินทั้งปวง (วิศฺวสฺยา ภุวสฺ) พระมหาราชา (สมฺราฎฺ) กับ ปุรูรวัส (ปุรูรฺวา) แต่งงาน กับนางอุรวศี (อุรฺวศีมฺ) และนางอัปสร( อปฺสรสํ) และได้ให้กำเนิด (อชายเต) บุตรชายแล้ว (ปุตรสฺ) ในพระนางนั้น (ตสฺยาม)

ปุรูรวัส มหาราชาแห่งแผ่นดินทั้งปวง แต่งงานแล้ว (ปริ+อ+√นี+ต) กับ นางอัปสร(ชื่อ)อุรวศี, และบุตรชายเกิดแล้วในนางนั้น.

สังเกต.ปุรูรวส และ อุรวศี ต่างก็มีึคำขยาย ไม่ได้เป็นคนละคน

(หมายความว่า ปุรูรวัส กับมหาราชา คนหนึ่ง, อุรวศี กับอัปสรัส ก็คนหนึ่ง)

6.)  กามสฺย ธนุษิ ชฺยายาะ สฺถาเน ‘ลยะ ศราณามฺ สฺถาเน สุมนสฺสฺติษฺฐนฺติ ฯ = ข้อนี้ดูแล้วไม่ยากเลย แต่แปลออกมาแล้วไม่รู้เรื่องอะค่ะ

อ้าว..

แบ่งวรรคก่อน กามสฺย ธนุษิ ชฺยายาะ สฺถาเน ‘ลยะ / ศราณามฺ สฺถาเน สุมนสสฺ ติษฺฐนฺติ ฯ

อลยสฺ = อลิ พหุ. สฺถาน แปลว่าที่ สถานที่

ผึ้งทั้งหลาย (อยู่)ในที่ แห่งสาย บนคันธนู ของกามเทพ

ดอกไม้ อยู่ ในที่ แห่งศรทั้งหลาย

วรรคหน้า ใช้กริยา ติษฺฐนฺติ เหมือนวรรคหลัง, ดังนั้นเมื่ออ่านประโยค พยายามหาประธาน แล้วหากริยาให้เจอ ถ้ามีคำเป็นประธานสองตัว ก็ยึดให้มั่น แล้วก็ไล่หากริยาเอา ประโยคแบบนี้พบมากในภาษาสันสกฤต

ตัวอย่างโจทย์ยังสอนขนบวรรณคดีสันสกฤต ที่ว่า คันธนูของกามเทพคือผึ้ง และลูกศรคือดอกไม้

ในที่ของ = แทนที่ ดังนั้น กามเทพจึงมีผึ้งแทนที่คันธนู และมีดอกไม้แทนที่ลูกศร

ศรกามเทพ มีดอกอะไรบ้าง รู้ไหม?


8.) ปุริ วาริ ตฑาคานฺนาลฺยา ปารฺถิโว ‘นายยตฺ ฯ = พระเจ้าแผ่นดิน (ปารฺถิวสฺ)ทรงให้บ่อน้ำทั้งหลาย( ตฑาคานฺ) นำน้ำ(วาริ) ไปในเมือง (ปุริ) โดยท่อแล้ว (นาลฺยา)

พระราชาให้คนนำน้ำมาแล้วในเมืองจากทะเลสาบ(การก5) โดยท่อ

ตฑาคานฺนาลฺยา ตรงนี้เป็นสนธิ ทำให้งง, ตฑาคาตฺ + นาลฺยา, ตฺ สนธิกับ น เป็น นฺน- (อยู่ในบทก่อนๆ นะ)


9.) มนฺตริณะ สฺวามิเน กทาปิ น  ทฺรุหฺเยยุะ ฯ =เหล่าคณะมนตรี (มนฺตริณสฺ) ไม่พึงทำร้าย (น ทฺรุหฺเยยุสฺ) แด่ใน(การก7)เจ้าของ (สฺวามิเน) เสมอ (กทาปิ)ข้อนี้ไม่เข้าใจความหมายค่ะ

มนตรีทั้งหลายไม่พึงทำร้ายเจ้านาย ไม่ว่าในกาลใดๆ. กทา+อปิ แปลว่า บางครั้ง หรือ เนืองๆ (จำไว้คำนี้พบบ่อย)

เดี๋ยวจะให้โจทย์แปลไทยเป็นสันสกฤตครับ

ปีนี้ บทเรียนจะอืดอาดหน่อย เพราะงานเยอะครับ แต่ก็น่าจะเหมาะกับเนื้อหา ที่ยากขึ้น ต้องใช้เวลาทบทวนมากขึ้น



เมรา พาอี น่าจะเป็นภาษาฮินดีครับ

น่าจะเป็นเรื่องนี้ http://en.wikipedia.org/wiki/Meera

ขอบคุณมากครับสำหรับคำกลอน และสำหรับภาพหนังสือละติน

เคยดูสารคดี เขาสืบค้นหนังสือโบราณของฝรั่งน่าสนุกดี

หนังสือไทยหาไม่ค่อยได้แล้วเสียดายจริงๆ

กามเทพมีอ้อยเป็นคันศร และถือธงเป็นรูปมังกรหรือเปล่าไม่รู้ ไม่แน่ใจ  มีตัวผึ้งร้อยเป็นสายธนู

ศรของกามเทพก็มี ดอกบัวขาว ดอกบัวเงิน ดอกอโศก ดอกมะม่วง และดอกมะลิ 

แต่ไม่ทราบความหมายของดอกไม้เหล่านี้ค่ะ อาจารย์พอจะทราบไหมค่ะ

เอ... ว่าแต่อาจารย์เคยโดนศรของพระอนงค์เล่นงานบ้างหรือเปล่าค่ะเนี่ย ฮิๆๆๆ


ขอถามนิดนึงค่ะอาจารย์ข้องใจมานานแล้วหลายบท เช่นว่าโจทย์ข้อหนึ่ง 

'' จงเร่งเสียงในการสวดสรรเสริญ(ใช้ स्तोत्र นปุ. สัมประทานการก)แห่งพระหริ ''

พระหริ คำนี้จริงๆน่าจะเป็นกรรมตรงไหมค่ะ ทำไมในโจทย์เป็นการกที่หกเฉยเลย

และก็คำว่า ในการสวดสรรเสริญ ไม่น่าจะเป็น อธิกรณเหรอค่ะ

แล้วก็ยังมีอีกหลายข้อในบทก่อนๆที่ผ่านมา เห็นว่าศัพท์บางคำแจกรูปแล้วดูไม่เหมาะสมกับการกนั้นๆเลยค่ะ

กลัวว่าแปลออกมาเป็นไทยแล้วจะไม่รู้เรื่อง 

หรือว่าพอเรียนมาเข้าที่แล้วได้สักพัก เรื่องการก ก็ไม่ต้องเคร่งมาก เพราะมันดิ้นได้ตามธรรมชาติของภาษาสันสกฤต ที่ผ่านมาเห็นเยอะมากๆเลยค่ะ

หนูกลัวว่าพอเวลาหนูจะแต่งประโยคไทยเป้นสันสกฤตแล้วนั้น มันจะแลดูไม่ธรรมชาติเหมือนเจ้าของภาษาเขา เพราะเราก็ยึดหลักตามตำแปลของการกนั้นๆแบบเคร่งเลยอะค่ะ

หวังว่าว่าอาจารย์คงจะเข้าใจที่หนูอธิบายนะค่ะ พูดไปพูดมาแล้ว งงค่ะ ตีสามครึ่งแล้วง่วงๆ

ขอบคุณค่ะ 

ก็น่างงครับ อันที่จริง มีหนังสือวิเคราะห์การกเอาไว้เหมือนกัน การกหนึ่ง ถ้าเทียบกับภาษาไทยแล้ว บางทีก็แตกต่างกัน อย่างกรรม ปกติใช้การกสอง แต่บางทีก็เป็นอย่างอื่นได้ โดยเฉพาะการก 6, 7 นี่ใช้เป็นกรรมก็มากครับ

โจทย์นี้ อาจแปลว่า จงเร่งเสียง เพื่อการสวด แห่งพระหริ ก็ได้ความแบบเดียวกันครับ

แต่พอแปลให้เข้าใจ เราก็ปรับภาษาให้เป็นไทยหน่อย

ศรกามเทพ น่าสนุกดี อิๆ

อาจารย์พอจะบอกชื่อหนังสือที่วิเคราะห์การกได้ไหมค่ะ หนูจะหามาอ่านคือสงสัยมากค่ะ

แล้วอย่างนี้พวกกรีก ละติน เยอรมันอะไรจะเป็นเหมือนกันแบบนี้บ้างหรือเปล่า

หรือหนูยังไม่สมควรอ่านตอนนี้เพราะเดียวจะงงเอาได้ หรือไว้ว่างๆก็รบกวนอาจารย์ช่วยเขียนเล่าสู่กันฟังก็ดีค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

อันนี้หนูแปลมาจากเว็บอีกทีนะค่ะ..

เนื่องจากในภาษากรีก(คอยเน่)มีเพียงแค่ 5 การกเท่านั้น คำบุพบทในภาษากรีกจึงมีใช้หลากหลายมาก และคำบุพบทแต่ละตัวจะต้องผันให้ถูกการกด้วย เพราะถ้าผันต่างการกกันคำบุพบทคำหนึ่งก็จะมีความหมายเปลี่ยนตามไปด้วย

ana + Accusative = up
kata + Genitive = down
anti + Genitive = over, against
opiso + Genitive = behind, after
pro + Genitive = in front of, before
meta + Genitive = with // meta + Accusative = after
syn + Dative = with, together
yper + Accusative = above // yper + Genitive = in behalf of
ypo + Accusative = under // ypo + Genitive = by means of
epi + Genitive = upon // epi + Dative = at // epi + Accusative = on
peri + Accusative = around // peri + Genitive = about
dia + Genitive = through // dia + Accusative = on account of
para + Genitive = from // para + Dative = beside // para + Accusative = along side of
en + Dative = in
pros + Accusative = towards
apo + Genitive = away from
is + Accusative = into
ek, ex + Genitive = out of 

หลักการจำว่าใช้การกไหนอย่างง่ายๆเหมือนภาษาอินโดยูโรเปียนอื่นๆเลย ส่วนใหญ่คือถ้าเป็นตำแหน่งสถิต จะใช้การก Locative ถ้าเป็นการเคลื่อนที่เข้าสู่ จะใช้การก Accusative ถ้าเป็นการเคลื่อนที่ออกจาก จะใช้การก Ablative ถ้าเป็นการใช้งาน วิธีการ หรือพร้อมกันด้วยกันจะใช้การก Instrumental

ซึ่งในภาษากรีก (และภาษาอินโดยูโรเปียนที่มีการกน้อยอื่นๆ) การกเหล่านี้ก็ได้กร่อนสลายไป Locative และ Instrumental ไปรวมอยู่กับการก Dative ส่วนการก Ablative จะไปรวมอยู่กับการก Genitive

เอาข้อหนึ่งมาให้ดูก่อนนะค่ะ คือไม่ค่อยแน่ใจ หนูเลยขอตอบมาสักสองข้อ พอดีว่าทำสนธิออกมาแล้วได้ ร ติดกันสองตัว จริงๆก็เลี่ยงได้แต่หนูไม่เลี่ยงค่ะ อิอิ

' จงเร่งเสียงในการสวดสรรเสริญ(ใช้ स्तोत्र นปุ. สัมประทานการก)แห่งพระหริ ''

1.) สฺโตตฺราย หเรฺวาจมุตฺสฺฤชตุ หรือ  2.) สฺโตตฺราย หไรฺวาจมุตฺสฺฤชตุ

อันไหนถูกค่ะ หรือไม่มีข้อไหนถูกเลย ฮ้าๆ


स्वाहा นี่จริงๆแปลว่าอะไรค่ะอาจารย์ เป็นคำอะไร แปลว่าได้โปรดประทานพรให้ฉันเหรอค่ะ

  1. จงเร่งเสียงในการสวดสรรเสริญ(ใช้स्तोत्रนปุ. สัมประทานการก)แห่งพระหริ

1.) สฺโตตฺราย หเรฺวาจมุตฺสฺฤชตุ หรือ  2.) สฺโตตฺราย หไรฺวาจมุตฺสฺฤชตุ

อันไหนถูกค่ะ หรือไม่มีข้อไหนถูกเลย ฮ้าๆ


2.) ในเมืองทั้งหลายของอินเดีย พ่อค้าผู้ร่ำรวยและนักรบผู้กล้าหาญ อาศัยอยู่

= ปูรฺษุ ภรตขณฺทสฺย ธนี วณิกฺเตชสฺวี กฺษตฺริยศฺจ วสถะ


3.) บทสวดสรรเสริญของปุรูรวสฺ ถูกขับร้องแล้วโดยกาลิทาส

= ปุรูรวโส สฺโตตฺระ กาลิทาเสน คียเต


4.)พระราชารับสั่ง(√ชฺญา+อา, บอกเหตุ.) แล้วว่า จงให้เรียกมนตรีของเรา

 = มม มนฺตฺรินํ หฺวายยตฺวิติ กฺษิติโป อาชฺญาปยตฺ


5.) จิตใจทั้งหลายของนักพรตทั้งหลาย (ตปสฺวินฺ) จะต้องไม่ยึดติด (√สญฺชฺ) กับความร่ำรวย (ใช้ ศฺรี อธิกรณการก เอก.)

= ตปสฺวินำมฺ มนำสิ ศฺรฺยามนฺ สชนฺตุ


6.) ในตอนกลางคืน ดวงจันทร์ให้แสงแก่สัตว์โลกทั้งปวง

= ราเตฺรา จนฺทฺรมา โชฺยติะ สรฺเวภฺยะ ปฺราณิภฺโย ยจฺฉติ


7.) บุคคลพึงสังเวยแด่เทพทั้งหลาย (- -=-(( ไม่ต้องใส่รูปประธาน)

= เทเวภฺโย ยาชเยตฺ


8.) อัปสรทั้งหลายนำไปแล้ว ซึ่งนักรบทั้งหลาย ผู้ตายแล้วในสนามรบ สู่สวรรค์ (พยายามแยกวรรคให้ดี

= ข้อนี้เรียงไม่ถูกเลยค่ะ ผู้ตายแล้ว ก็ใช้คำว่าอะไรดี

9.)ด้วยอายุ มิใช่ด้วยความรู้ ในบรรดาพี่น้องชายทั้งหลาย พระศิวะเป็นผู้เจริญที่สุด (ชฺเยษฺฐ)

= ภฺราตฺฤาณำ ศิโว ชฺเยษฺโฐ วยสา น ศาสฺเตฺรณ


10.)เทพทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยเครื่องสังเวยทั้งหลาย


= เทวา หวิรฺภิรฺวรฺเตยุะ

11.) พ่อค้าปรารถนาสมบัติ นักรบปรารถนาชื่อเสียง นักบวชปรารถนาความหลุดพ้น
   = วณิกฺวสุ กฺษตฺริโย ยโค ฤตฺวิกฺมุติํ ลุภฺยนฺติ


หนังสือวิเคราะห์การก เห็นสองเล่มที่น่าสนใจคือ Sanskrit Syntax ของ Speyer, J. S.

(http://archive.org/details/sanskritsyntax00speigoog

อีกเล่มของใครจำชื่อไม่ได้ นามสกุลศาสตรี วิเคราะห์จากตำราของปาณินิ

ไว้จะค้นชื่อเรื่องอีกที


ว่าถึงไวยากรณ์กรีก แต่สำนวนออกไปทางโหราศาสตร์แฮะ ;)

สฺวาหา แปลว่าเครื่องสังเวยครับ (สตรี) แต่ที่ได้ยินในพิธีนั้น เป็นคล้ายคำอุทาน ขอให้เจริญ ขอให้โชคดี ประมาณนั้น

แบบฝึกหัดไว้มาตรวจตอนเย็นนะครับ


เอ โศลกแปลไปหรือยัง

อาจารย์ค่ะหนูเพิ่งนึกออกว่าพระแม่ลลิตาตรีปุระสุนทรีย์ของอินเดียใต้เขานี่ พระนางเธอก็มีคันธนูเป็นต้นอ้อยแล้วก็มีศรทั้งหลายเป็นดอกไม้เช่นกันค่ะ .. อิอิ



คนฺเธน คาวะ ปศฺยนฺติ เวไทะ ปศฺยนฺติ ไว ทฺวิชาะ

จาไระ ปศฺยนฺติ กฺษิติปาศฺจกฺษุรฺภฺยามิตเร ชนาะ

ได้แต่ท่อนแรกค่ะ โคทั้งหลายมองเห็น (สัมผัส) ได้ด้วยก็ด้วยกลิ่น  เหล่าพราหมณ์ เห็น ได้ด้วยความรู้ทั้งหลาย


ลองแยกสนธิท่อนสองดูออกมาได้ ดั่งนี้ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า

จาไรสฺ ปศฺยนฺติ กฺษิติปาสฺ จกฺษุรฺภฺยามฺ อิตเร ชนาสฺ

แยกวรรคให้ด้วย

จาไรสฺ ปศฺยนฺติ กฺษิติปาสฺ / จกฺษุรฺภฺยามฺ อิตเร ชนาสฺ

ลองแปลอีกที

  1. จงเร่งเสียงในการสวดสรรเสริญ(ใช้स्तोत्रนปุ. สัมประทานการก)แห่งพระหริ

1.) สฺโตตฺราย หเรฺวาจมุตฺสฺฤชตุ หรือ  2.) สฺโตตฺราย หไรฺวาจมุตฺสฺฤชตุ

อันไหนถูกค่ะ หรือไม่มีข้อไหนถูกเลย ฮ้าๆ


ไม่มีข้อไหนถูก ;)

สฺโตตฺราย หเรสฺ คิรมฺ (ใช้ วาจมฺ ก็ได้ แต่บทนี้เรามีคำ คิรฺ) อุตฺสฺฤชตุ

> สฺโตตฺราย หเรรฺคิรมุตฺสฺฤชตุ


2.) ในเมืองทั้งหลายของอินเดีย พ่อค้าผู้ร่ำรวยและนักรบผู้กล้าหาญ อาศัยอยู่

= ปูรฺษุ ภรตขณฺทสฺย ธนี วณิกฺเตชสฺวี กฺษตฺริยศฺจ วสถะ (ควรใช้พหูพจน์)


3.) บทสวดสรรเสริญของปุรูรวสฺ ถูกขับร้องแล้วโดยกาลิทาส

= ปุรูรวโส ปุรูรวสฺ (สนธิผิด) สฺโตตฺระ กาลิทาเสน คียเต อคียต (อดีต)

> ปุรูรวะ สฺโตตฺระ กาลิทาเสนาคียต


4.)พระราชารับสั่ง(√ชฺญา+อา, บอกเหตุ.) แล้วว่า จงให้เรียกมนตรีของเรา

 = มม มนฺตฺรินํ หฺวายยตฺวิติ หฺวายย(บุรุษที่ 2) อิติ กฺษิติโป กฺษิติปสฺ (สนธิผิด, อสฺ ตามด้วยสระอื่น(ที่ไม่ใช่สระอะ) ให้ลบ สฺ) อาชฺญาปยตฺ

> มม มนฺตฺรินํ หฺวายเยติ กฺษิติป อาชฺญาปยตฺ


5.) จิตใจทั้งหลายของนักพรตทั้งหลาย (ตปสฺวินฺ) จะต้องไม่ยึดติด (√สญฺชฺ) กับความร่ำรวย (ใช้ ศฺรี อธิกรณการก เอก.)

= ตปสฺวินำมฺ มนำสิ ศฺรฺยามนฺ ศฺริยิ สชนฺตุ

> ตปสฺวินำ มนำสิ ศฺริยิ น สชนฺตุ.

ตามข้อหนึ่งนี้ สฺโตตฺราย หเรรฺคิรมุตฺสฺฤชตุ ในกรณีที่ ร ซ้อนกันสองตัวไปต้องตัดตัวใดตัวนึงออกไปแล้วยืดเสียงเหรอค่ะ หนูชักงงล่ะ

จาไรสฺ ปศฺยนฺติ กฺษิติปาสฺ / จกฺษุรฺภฺยามฺ อิตเร ชนาสฺ

กษัตริย์ทั้งหลายเห็นได้ด้วยสายลับ ชนทั้งหลายอื่นๆก็เห็นได้ด้วยตาทั้งคู่นั้น

หเรสฺ คิรมฺ hares giram > หเรรฺคิรมฺ harergiram

ตรงนี้ รฺ ไม่ได้ซ้อนกัน (สังเกตตัวโรมัน จะดูง่าย) เพราะมีสระเอ คั่นอยู่ แต่เวลาเขียนตัวไทยดูเหมือนจะติดกันเท่านั้นเอง

ถ้าซ้อนจะเป็นแบบนี้ หเรสฺ รูปํ> หเรรฺ รูปํ > หเร รูปํ (ตัว เร ไม่เกี่ยว)

hares rūpaṃ> harer rūpaṃ > hare rūpaṃ

กรณีนี้ไม่ต้องยืดเสียง เพราะสระเอไม่มีเสียงสั้นยาว

โศลกที่แปลมาถูกแล้ว ตอนเย็นจะมาเฉลยที่เหลือ และขึ้นบทใหม่ ;)

อ๋อ เรื่อง รฺ ซ้อนกันสองตัวเข้าใจแล้วค่ะ พอมาเป็นตัวโรมันก็ดูง่ายเลยหนูจะจดและจำไว้นะค่ะ ต่อไปเวลาเห็นเป็นตัวไทยสองตัวจะต้อง เอามาเขียนเป็นโรมันก่อนเพื่อตรวจดูว่ามันมีสระติดอยู่ไหม

ขอบคุณค่ะ


8.) อัปสรทั้งหลายนำไปแล้ว ซึ่งนักรบทั้งหลาย ผู้ตายแล้วในสนามรบ สู่สวรรค์ (พยายามแยกวรรคให้ดี

อปฺสรสสฺ รเณ มฺฤตานฺ กฺษตฺริยานฺ สฺวรฺคมฺ อนยนฺ

อปฺสรโส รเณ มฺฤตานฺ กฺษตฺริยานฺ สฺวรฺคมนยนฺ


10.)เทพทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยเครื่องสังเวยทั้งหลาย

= เทวา หวิรฺภิรฺวรฺเตยุะ 

เขียนเทวนาครีแล้วยุ่งมาก देवा  हविर्भिर्वर्तेयुः


11.) พ่อค้าปรารถนาสมบัติ นักรบปรารถนาชื่อเสียง นักบวชปรารถนาความหลุดพ้น

   = วณิกฺวสุ กฺษตฺริโย ยโค ยศสฺ ฤตฺ(คำไหนเอ่ย น่าจะใช้ มุนิ, หรือ ตปสฺวินฺ) วิกฺมุติํ ลุภฺยนฺติ

> วณิกฺวสุ กฺษตฺริโย ยโศส ตปสฺวี วิกฺมุติํ ลุภฺยนฺติ(ควรใช้ อิจฺฉนฺติ, ลุภฺ ความหมายออกไปทางโลภมาก) 

รอพบกับบทที่ 40 นะครับ

บทนี้ทำได้ดี พยายามหน่อยเรื่องสนธิ และลำดับคำในประโยค ซึ่งไม่ได้สอนโดยเฉพาะแต่จะคอยบอกแทรกๆ ไว้

ขอบพระคุณค่ะ หนูคิดไว้ว่าถ้าจบจากสันสกฤตแล้วจะไปบาลีต่อแน่ๆ คิดว่าคงจะไม่ต่างกันมากนะค่ะ

ได้ฟังความเห็นจากหลายๆท่านก็กล่าวว่าจากสันสกฤตมาบาลีแล้วนั้นเป็นเรื่องง่ายเลย

เรื่องของเรื่องหนูอยากจะศึกษาพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งและมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ค่ะ

ไว้ถ้าหาหนังสือมาอ่านเองแล้ว ตรงไหนไม่เข้าใจจะขออนุญาตมาถามครูนะค่ะ ^-^

มีเรื่องมาปรึกษาค่ะ อยากถามอาจารย์ว่า

- พจนานุกรมภาษาไทยใช้เล่มไหนดี

- และก็พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ที่จะบอกด้วยว่าคำไหนเป็นคำละติน อาจารย์พอจะทราบไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

หมายถึง พจนานุกรมสันสกฤต-ไทยเหรอครับ

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับ Oxford ก็บอกที่มาคำครับ

ถ้าไม่เจอก็ไปที่นี่ครับ อีติ๋มออนไลน์ ;)  http://www.etymonline.com/

หนูหมายถึงพจนานุกรมฉบับภาษาไทย - ไทย ค่ะ อาจารย์มีเล่มไหนจะแนะนำไหมเอ่ย ?

ไทย-ไทย ที่สมบูรณ์ก็มีฉบับราชบัณฑิตยสถานนี่แหละครับ (มีซีดีด้วย)

ของมติชนก็น่าสนใจ แต่มีหลายคำที่นิยามตรงกับของราชบัณฑิตฯ

ส่วนของอาจารย์เปลื้อง ณ นคร น่าจะหาซื้อไม่ได้แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท