การป้องกันการเกิดนิ่ว ในตับและในถุงน้ำดี


สุขภาพดีไม่มีขาย ได้เวลาแล้วที่เราจะหันมาใส่ใจสุขภาพ

การป้องกันการเกิดนิ่ว ในตับและในถุงน้ำดี

         ๑. ล้างพิษทุกปี อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง  หมายความว่า  ในช่วงแรกได้ผ่านการล้างพิษอย่างต่อเนื่องไปแล้ว  คือประมาณ ๑-๓ เดือนต่อครั้ง  จนลำไส้  ท่อน้ำดีและตับ สะอาด (ประมาณ ๓-๔ ครั้ง) โดยสังเกตจากอุจจาระที่ถ่ายออกมา แต่ละครั้งจะมีกลิ่น  สี  ก้อนนิ่ว สะอาดขึ้น  ในการล้างพิษแต่ละครั้ง ร่างกายจะทำความสะอาดได้ลึกขึ้น  และสารพิษจะออกมามากขึ้น  หลังจากนั้นการดูแลร่างกายด้วยการล้างพิษควรทำทุก  ๒ ครั้ง ต่อปีเป็นอย่างน้อย

          หมายเหตุ : ผู้ใดทำบ่อยกว่านั้นก็ไม่มีโทษแต่อย่างใด  เพียงแต่ให้ประมาณความพอดี  ไม่ให้ร่างกายเหนื่อยล้า  หรือหมดแรง

           ๒. การสวนล้างลำไส้ด้วยกาแฟหรือน้ำสมุนไพร  อย่างน้อยอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง  เพื่อเป็นการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่  และกระตุ้นการทำงานของตับ

           ๓. รักษาลำไส้ให้สะอาด  เพราะลำไส้ที่สกปรกจะเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียตัวร้ายที่อาศัยอยู่ในลำไส้  ซึ่งจะสร้างสารพิษ  เมื่อลำไส้ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย  ร่างกายจะดูดซึมสารพิษเหล่านั้นเข้าไปในกระแสเลือด  พิษดังกล่าวจะถูกลำเลียงไปทำลายที่เซลล์ตับ  ทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมสภาพ  มีผลต่อการลดการหลั่งของน้ำดี  เกิดการคั่งของน้ำดีและทำให้เกิดนิ่ว  กระบวนการรักษาลำไส้ให้สะอาดมีหลายวิธี  ดังนี้

                - กินอาหารที่มีเส้นใยสูง  ปกติคนเราต้องการเส้นใยวันละ  ๒๕ กรัม  เพื่อให้การขับถ่ายเป็นไปโดยสะดวก  อาหารที่มีเส้นใยสูง ได้แก่  ข้าวกล้อง  ผักทุกชนิด และผลไม้

                 หมายเหตุ : สมุนไพรที่มีเส้นใยสูง  ได้แก่  ลูกสำรอง  เม็ดแมงลัก  ซีเลียม  เป็นต้น  รับประทานได้ทุกวัน  วันละ  ๒  เวลา  คือ เช้าและเย็น  เป็นการเพิ่มเส้นใยอาหาร เพื่อช่วยในการขับถ่ายได้สะดวก

            ๔. ไม่กินอาหารขยะ  คือ  อาหารที่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการน้อย  ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารอาหารที่ให้พลังงานเป็นส่วนใหญ่  เช่น น้ำตาล  ไขมัน  แป้ง  และมีส่วนประกอบเป็นโปรตีน   วิตามิน  เกลือแร่น้อยมาก  มักจะเป็นอาหารแป้งทอดใส่เกลือ  ทำให้มีรสเค็มๆ มันๆ  กินไม่รู้จักอิ่ม  และอยากกินอยู่เรื่อยๆ  เมื่อกินเกลือเข้าไปมากๆ ก็ทำให้ความดันโลหิตสูง  และกระหายน้ำ

             ๕. ไม่นอนดึก  ควรนอนหัวค่ำ  ตื่นเช้า  เพราะการนอนดึก ส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร  ทำให้ท้องอืด  ท้องเฟ้อ  อาหารไม่ย่อย  ไตทำงานหนัก  ระบบการทำงานของร่างกายแปรปรวน

             ๖. ไม่เครียด  ฝึกสมาธิ  ปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ  ถือเป็นการล้างพิษทางจิตใจ

             ๗. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

             ที่มาของข้อมูล   : อุ่นเอื้อ  สิงห์คำ(ผู้รวบรวม)  คู่มือการอบรม  โครงการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม  8 อ.  กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัย, ม.ป.ป. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์)

             ดูแลสุขภาพ และขอให้มีสุขภาพดีกันทุกท่านนะคะ  

                                                                                                                พฤหัสบดี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 536171เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณความรู้เรื่องสุขภาพค่ะ

สวัสดีค่ะ ยินดีและขอบคุณอาจารย์ค่ะ อ.นุ  ที่แวะเข้ามาทักทาย

ยินดีค่ะ และขอบคุณ คุณ tuknarak ที่แวะเข้ามาทักทายค่ะ

ขอบคุณทุกๆ กำลังใจค่ะ 

อาจารย์ จันทวรรณ , คุณหมอโอ๋-อโณ, คุณ nobita, อาจารย์ ชยพร แอคะรัจน์

คุณ ไพโรจน์ อำไพพัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท