546. วิธีทำ "Theory U" Workshop (Theory U ตอนที่ 5)


ผมเขียนเรื่องTheory U มาหลายตอน มีคนถามว่าแล้วจะนำมาทำจริงๆ น่ะ ทำอย่างไร  ผมแนะนำง่ายๆครับ คือ

1. ลองศึกษาเรื่อง ที่ผมเขียนในตอนที่ 1จะเห็นว่าทำไมเราต้องทำ Theory U

2. สองลองฝึกทำก่อนครับเริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องให้คนที่ฟังคุณ ถึงความสำคัญของ Theory U

3. บอกกระบวนการทำก็คือการใช้ Dialogue หรือสุนทรียสนทนา คือการสนทนาแบบที่เน้นการฟังมากๆ ฟังด้วยอาการ “แขวน” สมมติฐาน ไม่รีบตัดสินไม่รีบตรวจสอบความเชื่อเดิม ไม่พยายาม "เปลี่ยน" ใคร

4. ลองให้จับคู่ แล้วผลัดกันเล่าเรื่องอะไรก็ได้ฝ่ายละครึ่งชั่วโมง กติกามีง่ายๆ คือคนฟัง ฟังอย่างเดียว ห้ามถาม ส่วนคนพูดก็พูดอย่างเดียว

                     

                      Cr: http://www.earthcollective.net/sharing-the-south-with-the-north/

5. ให้คนฟังๆ อย่างมีความสุข ถ้าเครียด ก็บอกเขาก่อนว่าพวกเขาจะเจออาการนี้แน่นอน บอกเขาว่าที่เป้นอย่างนั้น เพราะพวกเขาคุไม่ชินยังมีอาการ “ดัน” มาจากข้างใน นั่นเป็นอาหารปรกติเพราะเราชินกับการที่ต้องเช๊คข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายตรงข้าม ว่าตรงกับความเชื่อเดิมหรือไม่ถ้าตรงเราจะฟัง ถ้าไม่ตรง (ส่วนใหญ่ไม่ตรง) ก็จะเริ่มขัดๆ แล้วข้างในมันก็ดันออกมาดันเพราะชินกับความพยายามเปลี่ยนคนอื่น ที่เราเป็นมาทั้งชีวิต

6. เริ่มใช้แผนภาพ Theory U หรือ U Theory  ตรงนี้ผมแปล และปรับมาจากฝรั่งอีกทีของเดิมเป็นอย่างนี้

                       

                                          Cr: http://cultivatelearning.com/?page_id=11


7. ส่วนของใหม่ ที่ผมปรับปรุงเป็นไทย เป็นอย่างนี้ ผมใช้มาหลายครั้ง ปรับปรุงมาหลายรอบแล้้ว เป็นอย่างนี้ครับ

                      

                                                       © Pinyo Rattanaphan

8. เริ่มอธิบายก่อนครับ ก่อนที่จะเริ่มจับเวลา 30 นาที (เคยลองน้อยกว่านี้ เช่น 15 นาที ไม่ค่อยwork ครับ)

9. บอกเขาว่าจะเจออะไร แรกเลย เมื่อฟังอีกคนพูด ประมาณระยะแรกคุณก็จะพบว่ามันเป็นเรื่องเผินๆ ที่คุณรู้อยู่แล้ว ฟังไปสักพักคุณจะเริ่มลงมาที่ตัว U คือเรื่องราวมันจะใหม่ๆ หลายครั้งคุณจะไม่ได้ยินมาก่อนมันจะลึกลงเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณ “เห็นกับตา”หมายความว่าคุณเริ่มเห็นว่าอะไรเป็นอะไร คุณจะเริ่มเห็นว่าจริงๆ แล้วคนที่คุณเห็นอยู่ตรงหน้า จริงๆ แล้วไม่เหมือนกับที่คุณเคยคิดๆ มา ผมเคยทำ Workshopแบบนี้ เจอกระทั่งลูกกับพ่อ ยังเจออะไรใหม่ๆ สามีกับภรรยาเจอเรื่องราวที่มักทำให้เปลี่ยนความเชื่อ บางคนคบกันมาสิบปีถึงกับเริ่มคิดว่าพึ่งรู้จักเพื่อนตรงหน้า

10. ขั้นต่อมาจะเกิดความ “รู้สึก” เช่นความรู้สึกที่ว่าเป็นลักษณะ อ๊อเข้าใจแล้ว เริ่มเห็นใจ เห็นความเป็นมนุษย์เห็นเบื้องหลังความคิด การกระทำของคนๆนั้น หลายคนที่ไม่ดีกับคุณหรืออาจทำอะไรบางอย่างที่คุณไม่เข้าใจ คุณจะเข้าใจเขาตอนนี้แหละ

11. จากนั้น คุณจะเริ่ม “ปลดปล่อย” ความรู้เดิม ความเชื่อ อคติความเฉยๆ ที่คุณเคยมีต่อคู่สนทนาคุณออกไป มันจะเกิดขึ้นเร็วมากๆ

12. ขั้นต่อไปที่สุด “ความเข้าใจ” ของคุณจะลงลึกไปถึงก้นตัว Uนั่นคือคุณเริ่มหันกลับมามองตัวเอง มาตั้งคำถามกับตัวเองว่า“ตัวเราเองล่ะเป็นอย่างไร” “งานของเราเป็นอย่างไร”  ขั้นตอนนี้เหมือนคุณหยิบกระจกออกมาส่องดูตัวเองก็คือการที่คุณฟังมาเรื่อยๆ คุณจะเห็นตัวเองว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ อะไรบงการเราให้เราทำอย่างนั้นความเชื่ออะไรที่เคยเป็นอุปสรรค คุณจะเห็นเอง ขั้นตอนนี้เหมือนคุณปลดปล่อยความคิดแยๆ อคติ ความไม่รู้ทั้งมวลออกไปใจคุณเปิดโล่งเต็มที่ ขั้นตอนนี้คุณจะตระหนักรู้ถึง "จุดบอด" หรือ Blind Spot ที่อาจารย์อ๊อตโต้พูดไว้ มันบอดจริงๆ เรียกว่าไม่ทำชาตินี้ทั้งชาติอาจไม่รู้ก็ได้ เหมือนเส้นผมบังตา 

13. แล้วคุณก็จะมองเห็นอะไรดีๆ ที่น่าจะทำอะไรร่วมกันได้ตรงนี้แหละที่ศาสตราจารย์อ๊อตโต บอกว่ามันคือ Emerging Future (อีเมิร์จจิ้งฟิวเจอร์) หรือ “อนาคต ที่กำลังเผยตัวออกมา” ประมาณเมื่อคุณล้างข้อมูลในอดีต ก็จะมีอะไรใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ วิสัยทัศน์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเอง มันเหมือนเกิด "พรึ๊บ" ขึ้นมาเองในหัวคุณ

                                            


            Cr: http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=memories-of-tomorrow


14. แล้วคุณจะเริ่มวางแผนสร้างสรรค์ร่วมกันก็ประมาณจะไปทำอะไรให้มันดีๆ ร่วมกันนั่นแหละ บางคนไปเที่ยวด้วยกัน คุยกันมากขึ้นบางคนเป็นการเป็นงานหน่อยก็จะหาทางปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกัน

15. จากนั้นก็จะเริ่ม “สร้างสรรค์ร่วมกัน”ตรงนี้คุณจะเห็นนวัตกรรม หรือการปรับปรุงอะไรบางอย่างอย่างเป็นรูปธรรม

16. คู่สนทนาจะหาทางพัฒนาหนทาง หรือเรื่องดีๆ ร่วมกันไปเรื่อยๆ

17. เมื่ออธิบายจบ ก็ให้เขาเริ่มคุยและฟังกันครึ่งชั่วโมงแล้วก็ให้ไปเข้าห้องน้ำ แล้วกลับมาทำต่อ

จากนั้นเมื่อเสร็จ ก็ถึงคราววิเคราะห์แล้วตรงนี้แหละที่คุณสามารถต่อยอดเป็นการทำ OD Project หรือโครงการพัฒนาองค์กรก็เอากราฟรูปตัว U นี่แหละรูปเดิมมาวิคราะห์ แต่คราวนี้อาจต้องประยุกต์อะไรไปหน่อยคนจำนวนมากอาจงง ฟังแล้วจับจุดไม่ได้ ผมก็เลยประยุกต์ Appreciative Inquiryหรือการตั้งคำถามเชิงบวกไปหน่อย โดยจะถามว่า “ชอบประเด็นที่คู่สนทนาพูดตรงไหนมากที่สุด” นี่แหละครับ เริ่มจุดติดแน่นอน คนส่วนใหญ่จะตอบได้และส่วนใหญ่ถ้าถามไล่ลงไปเรื่อยๆ จะคิดตามได้ถึง “ความรู้หรืออะไรที่เราปลดปล่อยไป”  ...มักจบเท่านั้นครับ คุณอาจต้องช่วยหน่อยยด้วยการตั้งคำถามตาม แนว U

ก็จะได้คำตอบว่า เมื่อเข้าย้อนกลับมาจะเห็นอะไรมองงานของเขาจะเห็นอะไร... นี่ยากแล้ว ที่ยากยิ่งขึ้น คุณอาจต้องช่วยเขาต่อหน่อยก็คือ... การถามว่า แล้วเขาคิดจะทำอะไรร่วมกัน ตรงนี้เรียกว่าวิสัยทัศน์ร่วมต้องช่วยเขาหน่อย จากนั้นถ้าคุณเป็นที่ปรึกษาก็อาจให้เขาต่อไปเลยว่าจะทำอะไรเป็นรูปธรรม ก็ได้โครงการแล้วหล่ะที่เหลือเราก็ตามผล

คุณอาจให้การบ้านเขาลองทำซ้ำ คือทำตามที่ได้เรียนในชั้นเรียนนี่แหละ ทำตามขั้นตอนที่ทำมาในWorkshop แต่ไปใช้กับลูกเมีย นายกับลูกค้า ลองให้เขาประยุกต์เอาเอง ตามสะดวกแต่ทำให้ถึงปลายตัว U อีกด้านคือถึงการสร้างสรรค์ร่วมกันเลย ผมทำมาแล้วสอนครั้งเดียวก็ทำซ้ำได้ และหาลองให้เขาไปทำสักสามเดือนสี่เดือน ลองให้เขาลดรูปปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เอาเป็นว่าพอ “ฟังเป็น” แล้วก็ลดรูปทำแบบไม่ทางการแต่เน้นการที่ไม่ “ตัดสิน” กันเร็วไปนัก เดี๋ยวคุณจะเห็นพัฒนาการแปลกๆ หลายคนอาจพัฒนา Theory U ในภาคปฏิบัติขึ้นมาเอง ในรูปแบบที่อาจต่างกับคุณแต่ก็ได้ผล ผมก็เห็นมาแล้ว บางกลุ่มถึงกับนัดกันไปสัมมนา แล้วไปทำ Theory U และDialogue กัน 

ผมเองก็มีการพัฒนา Theory U ในรูปแบบที่ผสมผสานกับ AppreciativeInquiry บางครั้งก็เอาไปผสมกับแนวคิดสมองสี่ด้าน ที่เป็นการทำ ODในรูปแบบหนึ่งออกมาเป็นภาพข้างล่างนี้ 

                     

จริงแล้วพอเทียบเคียงได้ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวนักแต่ก็ลองผสมผสานขึ้นมา จะเป็นอย่างไร มันดีมันเด่นตรงไหน จะว่าไปมันแทนกันไม่ได้ เพียงแต่เอามาใช้เสริมกันแล้ว มันกลมกล่อมมากขึ้นจริงๆ ผมจะเล่าให้ฟังในตอนต่อๆไปครับ 

วันนี้เพียงเท่านี้ครับ ลองเอาพิจารณาดูนะครับ 


อ้างอิง

หนังสือ Theory U

หมายเลขบันทึก: 536169เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2018 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คำสั่งสอนที่พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูเรามา

พ่อเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนฐานะทางบ้านค่อนข้างลำบาก พ่อต้องคอยทำงานช่วยปู่กับย่าอยู่เสมอ ที่บ้านอื่นๆลูกเขาจะไม่ต้องทำงานอะไรเลย พ่อแม่เขาจะหามาให้หมดทุกอย่าง แต่ของพ่อกว่าจะไปโรงเรียนต้องตื่นมาทำงานก่อน หลังเลิกเรียนก็ต้องทำงานช่วยที่บ้าน แล้วค่อยจะได้พักผ่อน เวลาในวัยเรียนไม่ค่อยได้มีเวลาว่างไปเที่ยวเล่นเหมือนคนอื่นๆ ต้องทำงานด้วยเรียนไปด้วย เวลาอยากได้อะไร ก็ไม่ค่อยได้ตามที่ต้องการ ไม่ได้สบายเหมือนกับเด็กสมัยนี้ ที่มีเวลาว่างมาก พ่อแม่ค่อยดูแลเอาใจใส่ในทุกๆเรื่อง อยากได้อะไรส่วนมากก็จะหามาให้ แต่สิ่งที่พ่อแม่ทำให้ลูกๆ อยากให้ลูกคิดอยู่เสมอว่า พ่อแม่ไม่อยากให้เราลำบาก ก็อยากให้ลูกๆทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ตั้งใจเรียน เพราะวิชาความรู้จะติดตัวเราไปตลอดชีวิต ถ้าเราตั้งใจเรียนในตอนนี้ มีวิชาความรู้ติดตัวต่อไปเราก็จะสบาย พ่อแม่ไม่สามารถอยู่กับเราได้ตลอด เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดในการใช้ชีวิต จะเป็นห่วงเราในเรื่องของการไว้ใจคน คนเราสมัยนี้ไม่เหมือนแต่ก่อน อยากให้เรารู้จักระมัดระวัง อย่าไว้ใจใครง่ายๆ ดูคนต้องดูกันนานๆ เวลาเกิดปัญหาต่างๆในชีวิตอยากให้มาปรึกษาพ่อแม่ได้ทุกเรื่อง ไม่มีใครรักลูกเท่าพ่อแม่หรอก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นลูกก็ยังมีพ่อแม่อยู่ข้างๆเสมอ ในการใช้ชีวิต อยากให้เรารู้จักอดทน รู้จักให้อยู่เสมอ ถ้าเรารู้จักให้ชีวิตของเราก็จะมีความสุข ถ้าอยากเจอสิ่งที่ดี คนที่ดี เราก็ต้องรู้จักคิดดี ทำดี แล้วสิ่งดีๆจะเข้ามาในชีวิตเราเอง ต้องรู้จักเข้าวัด ทำบุญอยู่บ่อยๆให้เป็นนิสัย เราโตแล้วต่อไปก็ต้องทำงาน รับผิดชอบชีวิตตัวเอง อยากให้ลูกเลือกทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ มันจะทำให้เกิดความสุขตามมา สุดท้ายก็อยากให้ขับรถดีๆ ระมัดระวัง มีสติในการใช้ชีวิต อันไหนที่คิดว่าไม่ดีก็อย่าทำ

  • คำสอนของพ่อแม่

พ่อแม่สอนให้เป็นคนดีให้รู้จักรับผิดชอบตัวเอง เพราะตอนนี้พ่อแม่ก็แก่แล้ว จะให้เลี้ยงดูตลอดไปไม่ได้ ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไร เช่น ตอนนี้เรียนหนังสืออยู่ ก็ต้องตั้้งใจเรียน ไม่ออกนอกลู่นอกทาง จบตามเกณฑ์ที่กำหนด จบแล้วก็จะต้องหางานทำ ตะใช้ชีวิตแบบสบายของเงินพ่อแม่ใช้แบบนี้ไม่ได้ เมื่อโตขึ้นก็ต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น อย่าโตแต่ตัว ความคิด ความรับผิดชอบก็ต้องโตตาด้วย พ่อกับไม่เคยบอกใหาลูกเรียนเก่ง ขอแค่เป็นคนดี ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็พอใจแล้ว และได้บอกเกี่ยวกับการวางตัว ให้ทำทำให้เหมาะสม รู้จักกาลเทศะ รู้ว่าอันไหนควรทำ อันไหนไม่ควรทำ โตแล้วก็ต้องคิดให้เป็น และท่านก็ห่วงอยู่เรื่องหนึ่ง คือเรื่องขับรถ เตือนว่าถ้าไม่อยากให้ขับรถเร็ว ถ้าพลาดมาไม่ใช่แค่เราที่เสียใจ พ่อกับแม่ก็เสียใจด้ว

คำสอนของพ่อแม่

ปกติจะคุยกับพ่อวันหนึ่งหลายเรื่องมาก โดยแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 40 นาที

แต่สิ่งพ่อจะสอนเสมอคือการใช้เงิน และการดำเนินชีวิต

เงินแต่ละบาทกว่าพ่อจะหามาได้ต้องแลกกับความเครียดสารพัด เมื่อพ่อเครียด สุขภาพพ่อก็จะแย่ไปด้วย

เวลาจะใช้เงิน ให้นึกถึงแดดที่พ่อต้องเจอในแต่ละวัน นึกถึงความเครียดที่พ่อต้องเจอ

ถ้าอยากได้อะไรในสิ่งที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรซื้อ

เพราะซื้อมาก็เป็นของสิ้นเปลือง ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไร ไม่ได้ก่อความรู้ และไม่ได้สร้างรายได้

ถ้าของจำเป็นจะต้องบอกความจำเป็น บอกเหตุผลที่พ่อฟังแล้วโอเค

การเงินของที่บ้านไม่แน่นอน เดือนนึงอาจไม่มีรายได้เลยก็มี ดังนั้นเวลาจะใช้เงินจึงต้องคิดแล้วคิดอีก

จะต้องวางแผนการใช้เงินทุกอย่างไม่ว่าจะซื้ออะไร แม้กระทั่งอาหารการกิน

ที่บ้านจะปลูกผักแทบทุกชนิด และเลี้ยงปลาไว้ทำอาหาร เพราะพ่อจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต

และสิ่งที่พ่อย้ำเสมอคือการโกหก เราโกหกพ่อแม่ก็จริงที่พ่อแม่ไม่รู้ แต่กรรมจะรอสนองเราเสมอ

การที่เราทำอะไรไว้กับพ่อแม่ เราก็จะได้รับผลจากการกระทำ เราทำดี เราก็จะได้รับผลดี เราทำไม่ดี กรรมชั่วก็จะตกที่ตัวเราเอง

พ่อแม่ยอมเหนื่อยเพื่อลูก แล้วลูกพร้อมที่จะทำให้พ่อแม่ภูมิใจหรือเปล่า


ตั้งแต่เล็กจนโต แม่สรรหาอาหารที่มีประโยชน์ให้ทาน พาไปฉีดวัคซีคให้ครบ ส่งลูกไปเรียนที่ดี ไปพบะคนอื่น ไปดูสถานที่ต่างๆที่แปลกใหม่ ไปทานข้าวนอกบ้าน พาออกไปทำงานกับพ่อเพื่อให้เห็นความเหน็ดเหนื่อยที่พ่อทำ การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าคนจะรู้จักเราและนึกถึงเรา ซื้อใจเค้านั้นยาก พ่อจะเป็นคนพาลุยเดินหน้าอย่างเด็ดเดียว พ่อไม่เคยช่วยลูกแต่จะแนะนำลูกให้ลูกสู้ด้วยตัวเอง เมื่อลูกไม่มีหนทางพ่อจะค่อยเข้ามาช่วย พ่อรักลูกจึงอยากให้ลูกเป็นคนเข้มแข็งเมื่อไม่มีพ่อ แม่ชอบพาไปทำบุญ สวดมนต์ ไหว้พระ ทุกคืน ทำให้ลูกได้เห็นเพื่อลูกจะได้ปฎิบัติตามและจะเล่านิทานเรื่องกฎแห่งกรรมให้ฟังเพื่อที่เราจะได้เป็นคนที่มีเมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นคนโอบอ้อมอารี เมื่อลูกเป็นผู้ใหญ่ ให้ลูกถามตัวเองว่าชอบอะไร "ชีวิตคนเราใช้เงินอย่างเดียวไม่ได้" การแบ่งเวลาก็สำคัญอย่าเอางานกลับมาทำที่บ้าน ถ้าเป็นหัวหน้าก็ทำให้ลูกน้องรักเคารพสิทธิมนุษยชน การวางตัวให้ถูก ถ้าทำงานราชการก็ให้ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ก่อนจะไปบริหารคนอื่นควรดูแลบริหารเรื่องในครอบครัวก่อน

พ่อและแม่ภูมิใจในตัวลูกคนนี้มาก พ่อแม่ไม่ต้องการสิ่งใดนอกจากเห็นลูกเอาตัวรอดในสังคม เป็นคนดี ประสบความสำเร็จในชีวิต มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

คำสอนของคุณอา

เนื่องด้วยพ่อและแม่อยู่ต่างจังหวัดจากงานที่อาจารย์มอบหมายผมจึงไปให้คุณอาอบรมสั่งสอนเพราะว่าสะดวกกว่าคุณอาของผมมีอาชีพเป็นโค๊ชนักฟุตบอลทำงานอยู่บนความคาดหวังของผู้คนเป็นบุคคลสาธารณะคุณอามักจะพูดถึงการวางตัวเป็นหลัก คุณอาบอกว่าไม่ว่าทำอาชีพอะไรการวางตัวมีความสำคัญมาก คนจะรักจะเกียดก็อยู่ที่การวางตัวของเราพื้นฐานของการวางตัวที่ดี นอบน้อมถ่อมตนมีสัมมาคาราวะไปมาลาไหว้ แต่ที่ลึกไปกว่านั้นคือไม่ว่าจะเจอสถาณการณ์อะไรจะกดดันแค่ไหนต้องมีสติ คิดก่อนที่จะพูดเสมอคำนึงถึงผลกระทบเมื่อเราพูดออกไป เรื่องบางเรื่องบางอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องแต่ถ้ายังไม่ถึงเวลาที่เราควรพูดก็ไม่ควรพูด การพูดหรือแสดงกิริยาอะไรออกไปมันมีจังหวะของมัน ทำให้ถูกจังหวะ

-ทำงานร่วมกับคนอื่นทุกคนมีเป้าหมายมีความตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุด เมื่อเกิดปัญหาหรือผลไม่เป็นอย่างที่หวังเราไม่ควรอิน(inner)กับมันจนเสียคำว่าทีม การทำงานเป็นทีมทุกคนรู้และมีหน้าที่ของใครของมันเราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดก็พอถ้าใครคนใดในทีมทำไม่ได้ตามเป้าหมายไม่ควรไปนินทาว่ร้าย พูดลับหลังเพราะจะทำให้เสียความเชื่อมั่นในทีมต้องพูดจากันต่อหน้าทุกคนด้วยเหตุและผล ถ้าทได้เราจะสามารถทำงานร่วมกับใครก็ได้



คำสั่งสอนของแม่

สอนเรื่องความกตัญญูรู้คนต่อผู้มีพระคุณ

ไม่ว่าท่านจะคนนั้นจะอายุมากเท่าไรก็ตาม

เราต้องทำหน้าที่ตอบแทนบุญคุณที่ท่านเหล่านั้นเคยมาให้กับเราทั้งนี้ก็เพื่อความเจริญของเราด้วย ถ้ารู้จักผู้มีพระคุณแล้ว

ทำสิ่งใดก็จะมีความเจริญสมดั่งหวัง

สอนเรื่องการประหยัดอดออม รู้จักอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่อยากได้ รู้จักใช้เงินให้เป็น

ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะ

เงินทองนั้นมีค่ากว่าจะได้มา สอนให้รู้จัก

การใช้ของอย่างคุ้มค่าและรู้จักทนุถนอม

ของใช้ต่างๆเพราะว่าจะสามารถใช้มันไปได้อีกนานๆ ของบางอย่างก็ต้องรู้จักซ่อมแซมเพื่อนนำกลับมาใช้ใหม่

สอนเรื่องการเรียน ถึงแม้ว่าท่านจะมีการศึกษาที่น้อยนิดแต่ก็ให้ความสำคัญทางการศึกษามิใช่น้อย สามารถส่งลูกเรียนได้ถึงขั้นระดับปริญญาโท และก็บอกลูกเสมอว่าให้ตั้งใจเรียนแสวงหาความรู้

ใส่ตัวทั้งนี้ก็เพื่ออนาคตของตัวเราเอง

และครอบครัวในภายภาคหน้าอีกด้วย

สอนเรื่องการคบคน สอนให้รู้จักเลือกเพื่อน

มี่จะคบต้องดูว่าเพื่อนคนใดน่าคบหาสมาคมด้วยและคนใดไม่น่าคบหาด้วย

ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถอยู่ในสังคมนี้ได้

อย่างปราศจากภัยจากสังคมและสามารถ

เอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่างๆได้อย่างปลอดภัย

ธีระพล ทองกลึง รหัส 565740439-0 EX 20

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท